X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ท้องต้องระวังติดเชื้อไวรัสซิกา ลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด

บทความ 3 นาที
แม่ท้องต้องระวังติดเชื้อไวรัสซิกา ลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด

การติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างตั้งครรภ์อาจเกี่ยวข้องกับความพิการแต่กำเนิดที่เรียกว่า โรคข้อต่อยึดติด ซึ่งจะทำให้ข้อต่อต่างๆ ในร่างกายยึดติด และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็กลง

คนท้องต้องระวังติดเชื้อไวรัสซิกา ลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด

ไวรัสซิกา เป็นไวรัสที่แพร่เชื้อผ่านการถูกยุงกัด คนที่ติดไวรัสตัวนี้จะมีอาการไข้ ผื่นขึ้น ปวดตามข้อ ตาแดง ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล เพราะอาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง และสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน

แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การติดเชื้อนี้ถือว่ารุนแรงอย่างมาก

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับไวรัสซิกาเป็นภัยฉุกเฉินระดับโลก หลังจากมีการศึกษาว่าการติดเชื้อในแม่ท้องส่งผลให้ทารกในครรภ์มีภาวะศีรษะเล็กผิดปกติ

ต่อมาได้มีการศึกษาที่พบการเชื่อมโยงระหว่าง การติดเชื้อซิกาไวรัสในคนท้อง กับโรคข้อยึดติดในทารกแรกเกิด

โรคข้อต่อยึดติด (Arthrogryposis)  อาจเกิดจากการสูญเสียเซลล์ประสาทในไขสันหลังของทารกในครรภ์เนื่องจากแม่ติดเชื้อไวรัสซิกา

โรคข้อยึดติด หรือที่รู้จักกันในชื่อโรค AMC (Arthrogryposis Multiplex Congenital) เป็นภาวะที่ทารกคลอดออกมาโดยมีข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า หัวไหล่ นิ้วมือ นิ้วเท้า และข้อสะโพกงอค้าง หรือเหยียดค้าง แข็ง ไม่สามารถดัดให้กลับมาเป็นปกติได้ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวมือและเท้าได้

ทีมนักวิจัยพบเด็กในบราซิล 7 คนพิการด้วยโรคข้อต่อยึดติด

เด็กทุกคนได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อแต่กำเนิด ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากเชื้อไวรัสวิกาในช่วงที่มีการระบาดของโรคนี้ในประเทศบราซิล แต่เด็กเหล่านี้ไม่ได้มีภาวะศีรษะเล็กผิดปกติ

เด็กๆ ได้รับการถ่ายภาพสมอง และถ่ายภาพความละเอียดสูงบริเวณข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบๆ พบการสะสมของหินปูน ซึ่งอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าไวรัสซิกาได้ทำลายเซลล์ประสาท ซึ่งนำไปสู่การเกิดแผลในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับการสะสมแคลเซียม

ในขณะที่การถ่ายภาพข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบๆ กลับไม่พบหลักฐานเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของข้อต่อ

จากการค้นพบนี้อาจกล่าวได้ว่า โรคข้อต่อยึดติดในเด็กน่าจะเป็นความผิดปกติของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตั้งแต่อยู่ภายในท้องแม่ มากกว่าที่จะเกิดจากความผิดปกติขอตัวข้อต่อเอง

แม้นักวิจัยยังไม่สามารถสรุปได้ว่า การติดเชื้อไวรัสซิกาขณะตั้งครรภ์เป็นสาเหตุของโรคข้อต่อยึดติด แต่พวกเขาเชื่อว่าการค้นพบครั้งนี้อาจมีบทบาทสำคัญทางการแพทย์

Advertisement

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับไวรัสซิกา

  • นอกจากการถูกยุงกัดแล้ว ไวรัสซิกายังสามารถติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาด้วย
  • ปัจจุบันไวรัสซิกายังไม่มีวัคซีนป้องกัน

หากมีข่าวเกี่ยวกับไวรัสซิกาในประเทศใดก็ตาม ขอให้คุณแม่ท้องหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่แพร่ระบาด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซึ่งจะส่งผลให้ลูกในท้องพิการได้นะคะ

ที่มา www.medicalnewstoday.com/articles/312229.php

theAsianparent Community

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่ท้องต้องระวังติดเชื้อไวรัสซิกา ลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว