X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จากหมอสู่แม่ กับภาวะคลอดก่อนกำหนดของลูก

บทความ 3 นาที
จากหมอสู่แม่ กับภาวะคลอดก่อนกำหนดของลูก

เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงของคุณหมอท่านหนึ่ง ที่ต้องประสบกับภาวะลูกคลอดก่อนกำหนด ทำให้วิถีชีวิตตัวเองต้องเปลี่ยนจากอาชีพหมอชั่วคราวเพื่อเข้าสู่อาชีพแม่อย่างเต็มตัว...

แพทย์หญิงดาริน จตุรภัทรพร อดีตอาจารย์ประจำโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้บอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง กับการทำหน้าที่แม่อย่างเต็มตัว ภายหลังจากที่ลูกสาวของตัวเองต้องคลอดก่อนกำหนด

คลอดก่อนกำหนด

ย้อนไปในปี 2012 ตอนนั้นเป็นอาจารย์แพทย์สาขาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาตร์ผู้สูงอายุ ของรพ.รามาธิบดี …ได้ไปประชุมที่แคนาดาซึ่งเป็นช่วงที่กำลังท้องประมาณ 5.5 เดือน ขากลับแวะไปเยี่ยมสามีซึ่งทำงานอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย ..วันต่อมาปวดท้องมากๆ แอดมิทอยู่ 6 วันก็คลอดเลย จากภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด …ตอนนั้นไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นกับลูกบ้าง ด้วยความที่เป็นหมอซึ่งรู้ภาวะแทรกซ้อนเยอะ ในใจก็มีแต่ความกังวล และรู้สึกผิดมาก คิดโทษตัวเองอยู่ซ้ำๆว่าเพราะเรา ลูกถึงเป็นแบบนี้

ด้วยอายุครรภ์เพียง 24 สัปดาห์ กับอีก 2 วัน ทำให้ ลินลา ลูกสาว ได้ถือกำเนิดออกมาโดยมีน้ำหนักเพียง 555 กรัม  ขนาดตัวของลินลานั้นเท่า ๆ กับตุ๊กตาบาร์บี้ ลินลาจึงเข้าข่ายเป็นเด็ก Micro preemie (Micro Peemie หมายถึงเด็กคลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์น้อยกว่า 26 สัปดาห์ หรือ มีน้ำหนักน้อยกว่า 800 กรัม)

คลอดก่อนกำหนด

หลังคลอดไม่นาน พยาบาลก็เข็นไปเยี่ยมลูก ซึ่งมันจะผ่านกระดิ่งอันนึง เค้าให้เราสั่น มันจะมีเสียงเพลงดังไปทั่ว รพ. แล้วพยาบาลก็พูดขึ้นมาว่า “Congratulations!” ตอนนั้นเหมือนสติถูกดึงกลับมาว่า “ใช่แล้ว นี่เป็นเรื่องน่ายินดีนะ มีชีวิตใหม่ถือกำเนิดขึ้นมา นี่ลูกออกมาเจอเราแล้วนะ” ความคิดที่ลบอยู่ก็ค่อยๆกลับมาเป็นบวก…

วันที่ 3 ที่ลินลาเกิดมา ก็ถามพยาบาลเล่นๆว่า เมื่อไหร่จะได้กอดลูกเนี่ย เค้าเลยตอบว่ากอดเลยไหมตอนนี้ แล้วก็เอาลูกออกจากตู้มาให้อยู่บนหน้าอกเรา มือเล็กๆเค้าไต่บนหน้าอกเรา มันตื้นตันใจมาก อยากบอกว่าคิดถึงลูกมาก เพราะที่ผ่านมาเกือบ 6 เดือน เราได้อยู่ใกล้กันตลอด แต่ 3 วันที่ผ่านมาทำได้แค่เพียงยืนมองลูกอยู่ห่างๆจากนอกตู้ จะจับลูกก็กล้าๆกลัวๆ เพราะตัวเล็กมาก และกลัวเอาเชื้อโรคไปให้ลูก แต่พอวันนี้ได้ใช้เวลาด้วยกัน 1 ชั่วโมงครึ่ง จึงดีใจเป็นที่สุด เป็นความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูก รู้แค่มันพิเศษมากๆ เหมือนมาเติมแรงที่กำลังจะหมด ให้สู้ต่อได้

คลิกเพื่ออ่านประสบการณ์เรื่องเล่าของคุณหมอได้ที่หน้าถัดไป

คลอดก่อนกำหนด

พอลาคลอดครบ 1 ปีก็ต้องลาออก(ชั่วคราว)จากอาชีพหมอ…แรกๆก็จิตตก เพราะที่ผ่านมาเป็นหญิงทำงานมาตลอด ต้องมาเจอสภาพอย่างนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสําคัญที่ทําให้ “ลดอัตตา” ลงได้มาก เมื่อ ก่อนยึดติดลาภ ยศ สรรเสริญ (แบบไม่ทันรู้ตัว) รู้สึกว่างานที่ทำมีคนนับหน้าถือตาเยอะ ตอนนี้เป็นแบบ no status แต่ก็รู้สึกว่า “ได้ทำงานที่มีคุณค่า” มากเช่นกัน คุณค่าอยู่ที่เนื้องานที่ทำ ไม่เห็นผลเร็ว วัดไม่ได้ชัดเจนเหมือนเมื่อก่อน ทำไปไม่รู้ดีหรือเปล่า “แต่รู้สึกโชคดี”ที่มีโอกาสได้ทำ เพราะถ้าไม่ใช่เหตุการณ์นี้ คงไม่มีวันได้เลี้ยงลูกด้วยตัวเอง

การเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ทำให้มีความสงบในใจมากขึ้นไม่รู้สึกว่าต้องการวัตถุอะไรมาก แล้วก็ได้ฝึก “ตั้งใจที่เหตุ พอใจที่ผล” เพราะมีหลายอย่างมากที่เราควบคุมไม่ได้เลย เราทำได้แค่ทำดีที่สุดแล้วยอมรับผลเท่านั้นเอง ยิ่งพิเศษตรงที่ลูกคลอดก่อนกำหนด ทำให้เรามีความสุขกับ “สิ่งเล็กๆน้อยๆที่ธรรมดา ได้มากขึ้นและง่ายขึ้น” เช่น ลูกกินนมได้ 1 ซีซี ลูกหายใจได้เองโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน ลูกใส่เสื้อผ้าปกติ,ลูกนอนเปล ธรรมดาที่ไม่ใช่ตู้อบ ฯลฯ ทุกสิ่งคือเรื่องน่ายินดี เป็นการอนุญาตให้ตัวเองมีความสุข โดยการพลิกความทุกข์ให้เป็นโอกาส

คลอดก่อนกำหนด

ผ่านมาแล้ว 3 ปี มีทั้งเรื่องเศร้าและยิ้มเปื้อนน้ำตา ล้วนแต่เป็นบททดสอบของชีวิต..สิ่งสำคัญที่ทำให้ผ่านทุกๆเรื่องมาได้ คือ “กำลังใจ” และความช่วยเหลือจากสามีและครอบครัว … เคยรำพึงกับสามีว่า “ทำไมเรื่องแบบนี้ต้องมาเกิดกับเราด้วยนะ” เค้าก็บอกว่า อย่างน้อยเราก็ยังมีกันและกันนะ แล้วลูกก็ยังสู้ไม่เคยถอยเลยสักวัน ถ้าเราสู้สุดกำลัง เราจะภูมิใจที่ได้ทำทุกอย่างเต็มที่แล้ว วันนึงข้างหน้ามองย้อนกลับมาดู เรื่องนี้ก็จะเป็นแค่”จุดเล็กๆจุดหนึ่งในชีวิตที่มันก็จะผ่านไป” ขอให้อยู่กับปัจจุบัน และยินดีกับทุกๆอย่างที่เกิดขึ้น สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ

นี่แหละ ความเสียสละและความรักที่ยิ่งใหญ่ของคนเป็นแม่ … ไม่ว่าจะต้องผ่านเรื่องราวร้าย ๆ อีกสักกี่เรื่อง หน้าที่ของความเป็นแม่ ก็ไม่เคยสิ้นสุด

ที่มา: https://wearethailander.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

ดูแลอย่างไร เมื่อลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด

เด็กคลอดก่อนกำหนด เป็นอย่างไรบ้าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • จากหมอสู่แม่ กับภาวะคลอดก่อนกำหนดของลูก
แชร์ :
  • ตารางน้ำหนักตามเกณฑ์สำหรับ เด็กคลอดก่อนกำหนด

    ตารางน้ำหนักตามเกณฑ์สำหรับ เด็กคลอดก่อนกำหนด

  • คลอดก่อนกําหนด เกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

    คลอดก่อนกําหนด เกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • ตารางน้ำหนักตามเกณฑ์สำหรับ เด็กคลอดก่อนกำหนด

    ตารางน้ำหนักตามเกณฑ์สำหรับ เด็กคลอดก่อนกำหนด

  • คลอดก่อนกําหนด เกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

    คลอดก่อนกําหนด เกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ