X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าปล่อยให้ใครก็ได้หอมหรือจูบลูก อันตรายนะถึงตายเชียวนะ

บทความ 3 นาที
จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าปล่อยให้ใครก็ได้หอมหรือจูบลูก อันตรายนะถึงตายเชียวนะ

เด็กๆ น่ารัก ใครๆ ก็อยากจับ อยากอุ้ม อยากหอม รู้มั๊ยแค่นี้ก็มีอันตรายกับเด็กแล้ว

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าปล่อยให้ใครก็ได้หอมหรือจูบลูก 

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าปล่อยให้ใครก็ได้หอมหรือจูบลูก !!!

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าปล่อยให้ใครก็ได้หอมหรือจูบลูก

 

โรคจูบ (kissing disease)คืออะไร 

ชื่อโรคทุกคนคงสนใจ ที่จริงก็คือ infectious mononucleosis (IM) ซึ่งเกิดจากไวรัส Ebstein Barr หรือย่อว่า EB ไวรัส ติดต่อได้ทางสัมผัสและทางน้ำลาย จากการศึกษาของศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลีนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ส่วนใหญ่การติดเชื้อ EB ในประเทศไทย จะเกิดขึ้นใน 2 ขวบปีแรกโดยไม่มีอาการของโรค หลังจากนั้นจะมีเชื้อซ่อนเร้นอยู่ในร่างกายแบบไม่แสดงอาการ (latent infection) แต่สำหรับในเด็กโตที่ยังไม่เคยติดเชื้อ หรือไม่มีภูมิ เมื่อได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงขึ้น แม้ไม่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อในวัยรุ่นที่เกิดจากการจูบ โดยสัมผัสจากน้ำลาย

อาการของโรค

อาการที่ประกอบด้วย ไข้สูง เจ็บคอ จากคอหอย หรือทอน ซิล มีการอักเสบ และมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ส่วนอาการอื่นๆที่อาจจะพบร่วมด้วยคือ อาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลำได้ ตับโต ม้ามโต มีจุดเลือดออกที่เพดานปาก ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน มีน้ำมูก เป็นต้น ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะหายภายในเวลา 2 สัปดาห์ ยกเว้นอาการอ่อนเพลียที่ยังอาจหลงเหลืออยู่ได้นานหลายเดือน สามารถปนเปื้อนออกมาได้ในน้านม

การรักษาโรค
ไม่มีการรักษาจำเพาะ ซึ่งการให้ยาต้านไวรัส เช่น Acyclovir พบว่า ไม่ ได้ทำให้อาการดีขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นการรักษาหลัก คือการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ส่วนการให้ยาสเตียรอยด์ พบว่าอาจช่วยทำให้ระยะเวลาป่วยสั้นลงได้ แต่แพทย์จะแนะนำให้ใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่รุนแรงเท่านั้น เช่น ไข้สูงมาก หรือเจ็บคอมากจนดื่มน้ำไม่ได้

โรคเริม 

โรคเริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เฮอร์ปีส์ซิมเพลกซ์ (Herpes simplex virus หรือ HSV) มี 2 ชนิด คือ ชนิด HSV-1 และ HSV-2 โดย HSV-1 มักก่อให้เกิดการติดเชื้อในช่องปากและริมฝีปาก HSV-2 มักก่อให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ ระบบประสาท และ โรคเริมชนิดแพร่กระจายทั่วร่างกายในทารกแรกเกิด แต่ทั้งนี้ HSV ทั้งสองชนิดอาจเป็นสาเหตุติดเชื้อกับเนื้อเยื่อส่วนไหนก็ได้เมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำลง เช่น ที่เยื่อหุ้มสมอง สมอง ตา เป็นต้น โรคเริมในเด็กแรกเกิดอาจติดจากคุณแม่ได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ แต่มีรายงานการเกิดน้อยมาก ทารกจะมีอาการผื่นหรือแผลเริม ตาอักเสบ และขนาดหัวเล็กกว่าปกติ ส่วนมากโรคเริมในเด็กแรกเกิดมักเกิดจากการติดเชื้อในช่วงระหว่างการคลอดทางช่องคลอด ถ้าขณะคลอดมารดาติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศ

อาการของโรคเริมมีอะไรบ้าง?

อาการของโรคเริมมีได้หลายแบบ ทั้งโรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคเริมแบบแพร่กระจายทั่วตัว และโรคเริมในระบบประสาท เป็นต้น เมื่อเป็นโรคเริมครั้งแรกจะมีอาการรุนแรง แตกต่างจากอาการที่เป็นซ้ำครั้งต่อๆ มา ที่มักเป็นเพียงรอยอักเสบหรือถลอกเล็กน้อย และหายเร็วกว่า โดยเมื่อเป็นครั้งแรกแล้วเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในปมประสาท และเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เชื้อจะออกมาตามเส้นประสาทและเกิดโรคซ้ำที่ผิวหนังหรือเยื่อบุผิว
สำหรับบทความนี้จะเน้นที่โรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก และโรคเริมแบบแพร่กระจายทั่วตัว ซึ่งพบในเด็กนะคะ

โรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปากในเด็กมีอาการอย่างไร?

โรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปากในเด็กมักจะเป็นครั้งแรกจึงมีอาการมากคือ มีรอยบวมแดงบริเวณที่มีการติดเชื้อ ได้แก่ ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก เกิดเป็นตุ่มน้ำใสเป็นกลุ่มๆ อย่างรวดเร็ว แตกเป็นแผล ปวด อาจมีต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้รอยโรคอักเสบและโตขึ้น บางคนอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว นำมาก่อน

 

การรักษาโรคเริมในเด็กทำได้อย่างไร?

คุณหมอรักษาโรคเริมในเด็กได้ด้วยการให้ยาต้านไวรัสเริม ซึ่งมียาหลายตัว และหลายรูปแบบ โดยคุณหมอจะพิจารณาให้ตามข้อบ่งชี้ในการรักษาและความรุนแรงของอาการที่เป็นค่ะ การป้องกันโรคเริมในเด็กทำได้อย่างไร มีวัคซีนหรือไม่?ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเริม ดังนั้นการป้องกันโรคเริมจึงทำได้โดย การไม่ให้เด็กสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรค และคุณแม่ที่ตั้งครรภ์หากเคยเป็นโรคเริมมาก่อน หรือมีอาการของโรคอยู่ ควรแจ้งให้คุณหมอที่ดูแลทราบด้วยนะคะ

ที่มา sites.psu.edu/thaihealth

บทความเกี่ยวข้อง

ลูกโดนหอม เห่ออุ้ม จนติดเชื้อ RSV เชื้อร้ายที่เบบี๋ต้องระวังและแม่ห้ามมองข้าม 

ติดเชื้อในกระแสเลือด เรื่องที่แม่ไม่ควรมองข้าม 

ล้างมือก่อนจับลูก คำเตือนจากพ่อผู้เกือบสูญเสียลูกสาว

 

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ชลลดา วาดนิ่ม

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าปล่อยให้ใครก็ได้หอมหรือจูบลูก อันตรายนะถึงตายเชียวนะ
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว