X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน อาการแบบนี้แปลว่าน้ำนมแห้ง ใกล้หมดหรือเปล่า

บทความ 3 นาที
จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน อาการแบบนี้แปลว่าน้ำนมแห้ง ใกล้หมดหรือเปล่า

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน น้ำนมที่เคยปั๊มได้ มีปริมาณลดลง หน้าอกนิ่ม เหลว ไม่คัดตึงเหมือนช่วงแรก น้ำนมแห้งหรือเปล่า หรือเป็นสัญญาณบอกว่าน้ำนมใกล้หมดกันนะ

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน เป็นคำถามที่คุณแม่มักจะถามกันเข้ามาอยู่บ่อย ๆ ด้วยความที่อาจจะกลัวว่าจะมีน้ำนมไม่พอให้ลูกกิน จึงเกิดความวิตกกังวลเป็นเรื่องปกติ  แต่คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะครับ เพราะเรื่องของนมแม่นั้น ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ

เรามาเริ่มจากการทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนมเบื้องต้นกันก่อน ซึ่งน้ำนมของคุณแม่นั้น จะมีการผลิตอยู่ตลอด ด้วยความเร็วที่ขึ้นอยู่กับว่าเต้านมของคุณแม่นั้นว่างหรือเต็ม โดยน้ำนมแม่จะถูกผลิตสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเวลาที่ลูกดูดแต่ละครั้ง เมื่อน้ำนมเริ่มเต็ม การผลิตน้ำนมก็จะช้าลง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด เป็นช่วงที่สำคัญมาก น้ำนมแม่จะผลิตอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะด้วยการดูดของลูก การบีบด้วยมือ หรือการปั๊มด้วยเครื่อง ถ้าคุณแม่สามารถนำน้ำนมออกจากร่างกายได้มาก ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อการผลิตน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกัน หากให้นมผสมในช่วงสัปดาห์แรกนี้ ก็จะเท่ากับว่าเป็นการแทรกแซงกลไกของธรรมชาติ ซึ่งก็จะทำให้การผลิตน้ำนมของแม่ลดลงได้

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน

ดังนั้น วิธีที่จะเร่งให้น้ำนมมาเร็ว และมีน้ำนมเพียงพอ และถ้าต้องการที่จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน สิ่งที่คุณแม่ต้องทำก็คือ พยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายให้เร็วขึ้นและบ่อยขึ้น ด้วยการให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีบ่อย ๆ และ/หรือ เพิ่มการบีบหรือปั๊มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด และพยายามทำให้น้ำนมเกลี้ยงเต้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการดูดหรือปั๊มแต่ละครั้งนั่นเอง

ทำอย่างไรให้น้ำนมเกลี้ยงเต้า

  • ให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี
  • นวดเต้า หรือบีบเต้าช่วย
  • ให้ลูกดูดน้ำนมจากทั้ง 2 เต้า
  • บีบหรือปั๊มนมออกหลังจากที่ลูกดูดเสร็จแล้วรู้สึกว่าลูกยังดูดไม่หมด (การบีบหรือปั๊มจะช่วยได้มากขึ้น ถ้าทำเพิ่มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด)

หน้าอกไม่คัดตึง หน้าอกนิ่ม เหลว รู้สึกเหมือนไม่มีนม แปลว่าน้ำนมแห้งหรือเปล่า?

คุณแม่มือใหม่หลายท่าน มักจะมีความรู้สึกวิตกกังวล โดยเฉพาะในช่วง 6-12 สัปดาห์แรกหลังคลอด เมื่อสังเกตเห็นว่าน้ำนมที่เคยปั๊มได้นั้น มีปริมาณลดลง อีกทั้งยังรู้สึกว่าหน้าอกนิ่ม เหลว ไม่คัดตึงเหมือนช่วงแรก จนสงสัยว่าน้ำนมแห้งหรือเปล่า หรือบางคนก็เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นสัญญาณบอกว่าน้ำนมกำลังจะแห้ง ทำให้เลิกให้นมแม่ แล้วให้นมผสมแทน

แต่จริง ๆ แล้ว ในช่วงแรกหลังคลอดนั้น ร่างกายของคุณแม่ยังไม่สามารถปรับตัวให้รับรู้กับปริมาณความต้องการน้ำนมของลูกได้ คุณแม่ส่วนใหญ่จึงมักจะมีน้ำนมมากเกินกว่าความต้องการของลูก

จนเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 3 เดือนแรกหลังคลอด ฮอร์โมนโปรแลคตินที่มีปริมาณสูงในระยะแรกคลอดจะค่อย ๆ ลดต่ำลง จนเข้าสู่ระดับปกติ ซึ่งก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกว่าหน้าอกไม่คัดตึงเหมือนช่วงแรก น้ำนมเริ่มไหลน้อยลง ปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ก็อาจจะลดลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีนม หรือน้ำนมแห้งแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่บอกว่า ร่างกายสามารถรับรู้ได้แล้วว่า ปริมาณน้ำนมแค่ไหนจึงจะพอดีกับความต้องการของลูกนั่นเอง

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน

นมแม่จะหมดตอนไหน

ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายคุณแม่ผลิตได้ในช่วงแรกนั้น มักจะมากเกินกว่าความต้องการของลูกน้อย ทำให้มีการคัดตึง และไหลซึมออกมามาก แต่เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ปริมาณการผลิตน้ำนมจะพอดีกับความต้องการของลูก ไม่ผลิตเกิน ไม่ใช่ผลิตน้อยลงจนไม่พออย่างที่คุณแม่เป็นกังวล

ขอเพียงให้ลูกดูด และ/หรือ บีบหรือปั๊มออกอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ให้นมผสมเพิ่ม ร่างกายคุณแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของลูกในแต่ละวัยอย่างไม่มีปัญหา ไม่ต้องกลัวว่าจะหมดนะครับ

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน อาการแบบนี้แปลว่าน้ำนมแห้ง ใกล้หมดหรือเปล่า

หมดห่วงเรื่องน้ำนมหมด น้ำนมแห้งไปแล้ว แต่ยังมีวิธีการ เทคนิคดี ๆ ในการเพิ่มน้ำนม จากคุณแม่ผู้มีประสบการณ์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาน้ำนมแม่ที่ คลับคุณแม่น้ำนมน้อย กลุ่ม Facebook ที่เราอยากแนะนำให้คุณแม่เข้าร่วม


ที่มา breastfeedingthai

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไวท์ดอท เรื่องที่ทำแม่ให้นมต้องนอนร้องไห้ เช็คหัวนมด่วน มีจุดขาวไหม

หลังจากให้นมแม่แล้ว ควรให้ทารกกินน้ำตามไหม?

รวมเทคนิคช่วยแม่มือใหม่ ท่าให้นมลูก การบีบน้ำนม ทำได้ตามนี้นมแม่มาแน่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน อาการแบบนี้แปลว่าน้ำนมแห้ง ใกล้หมดหรือเปล่า
แชร์ :
  • จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ คุณแม่เช็คได้นะ

    จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ คุณแม่เช็คได้นะ

  • จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ

    จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ คุณแม่เช็คได้นะ

    จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ คุณแม่เช็คได้นะ

  • จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ

    จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ