X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คัดเต้านม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 44 สามารถบรรเทาอาการเต้านมแข็งได้อย่างไร ?

บทความ 5 นาที
คัดเต้านม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 44 สามารถบรรเทาอาการเต้านมแข็งได้อย่างไร ?คัดเต้านม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 44 สามารถบรรเทาอาการเต้านมแข็งได้อย่างไร ?

อาการ คัดเต้านม อาการที่คุณแม่หลังคลอดต้องเจอ เนื่องจากน้ำนมระบายไม่ทัน วันนี้เรามีวิธีบรรเทาอาการ คัดเต้านม มาฝากคุณแม่ค่ะ

 

เต้านมคัดเต้านมแข็ง

มักเป็นทั้งเต้าและเป็นทั้ง 2 ข้าง เกิดจากการสร้างน้ำนมแม่ได้มาก แต่ไม่สามารถระบายน้ำนมออกหรือระบายออกไม่ทัน จึงเกิดอาการคัด บวม แข็ง เต้านมจะร้อน ผิวแดงเป็นมัน เจ็บ ลานนมตึงแข็ง ทำให้หัวนมสั้นลงจนลูกดูดไม่ได้ น้ำนมไหลไม่ดี บางครั้งอาจจะมีไข้ได้ แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

 

สาเหตุของการคัดตึงเต้านม

  • การคั่งของเลือดและน้ำเหลืองที่มาเลี้ยงบริเวณเซลล์ผลิตน้ำนม อาการคัดตึงเต้านมในระยะแรกนี้มักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ในระยะวันที่ 2 หลังคลอด ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรแลคติน ภายหลังรกคลอด ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการผลิตน้ำนมที่ต่อมน้ำนม
  • การเพิ่มของปริมาณน้ำนม ซึ่งอาการคัดตึงเต้านมระยะนี้ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายหลังรกคลอด ทำให้ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์ผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นภายในต่อมน้ำนม
  • การคั่งของเลือด น้ำเหลืองและน้ำนม ที่บริเวณเซลล์ผลิตน้ำนม ทำให้เกิดการอุดตัน น้ำนมในถุง น้ำนมไม่สามารถระบายออกมาได้ เป็นสาเหตุทำให้อาการคัดตึงเต้านมกระจายไปทั่วทั้งเต้านม ปรากฏอาการในวันที่ 3-7 หลังคลอดสาเหตุที่มีการคั่งค้างของน้ำนมในถุงน้ำนมเกิดจากในระยะนี้มีการสร้างน้ำนมอย่างเต็มที่เมื่อ มารดาเริ่มให้ทารกดูดนมช้า ส่งผลให้ปฏิกิริยาเล็ตดาวน์เกิดขึ้นช้า น้ำนมจึงคั่งค้างอยู่ในถุงน้ำนมนาน ทำให้ถุงน้ำนมขยายใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ ความเครียดหรือความเจ็บปวดของมารดา เช่นในระยะหลังคลอด ปวดมดลูกเจ็บแผลฝี เย็บ หรือในมารดาครรภ์แรกซึ่งไม่เคยให้นมบุตรมาก่อนต้องอาศัยเวลาที่มากพอจึงจะทำให้เกิดการทำงานของปฏิกิริยาสะท้อนเล็ตดาวน์ ทำให้ปฏิกิริยาเล็ตดาวน์ทำงานไม่เต็มที่ จึงทำให้เกิดอาการคัดตึงเต้านมได้

อาการคัดตึงเต้านมเกิดจาก การคั่งของเลือดและน้ำเหลืองจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายหลังรกคลอด แต่ถ้าไม่ได้รับการกระตุ้นจากการดูดของทารก จะทำให้เกิดอาการคัดตึงเต้านมที่รุนแรงขึ้น คือปริมาณน้ำนมที่ถูกขับออกน้อยกว่าปริมาณน้ำนมที่ถูกสร้างขึ้นทั้งนี้เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ การที่มารดาเริ่มให้บุตรดูดนมช้า การดูดที่ไม่สม่ำเสมอของทารกจนทำให้มีการคั่งค้างของน้ำนมในถุงน้ำนานเกินไปในแต่ละมื้อ ทำให้มีอาการคัดตึงเต้านมเกิดขึ้นได้

 

แก้ปัญหาเต้านมคัดได้อย่างไร ? 

คัดเต้านม

คัดเต้านม

  • บีบน้ำนมออกจากเต้าในขณะที่กำลังคัดเต้านมให้คุณแม่พยายามบีบน้ำนมออกจากเต้าให้ได้มากที่สุด โดยให้บีบจนลานหัวนมนุ่มลง ซึ่งก็จะทำให้อาการปวดคัดค่อยๆ ทุเลา และยังช่วยให้ลูกดูดนมได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ที่สำคัญควรบีบนมออกจากเต้าบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการคัดขึ้นมาอีกนั่นเอง
  • ให้ลูกดูดนมบ่อยๆควรให้ลูกดูดนมบ่อยๆ โดยดูดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก 2 ชั่วโมง เพื่อระบายน้ำนมออกมาจากเต้านมและเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตน้ำนมเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะในตอนกลางคืน ก็ควรปลุกลูกขึ้นมาดูดนมเช่นกัน แต่สำหรับใครที่ลูกไม่ยอมดูดนม แนะนำให้ปั๊มนมใส่ภาชนะเก็บไว้ในตู้เย็น ซึ่งนอกจากจะลดอาการคัดเต้านมได้แล้ว ก็ยังสามารถเก็บน้ำนมไว้ให้ลูกดื่มต่อไปได้อีกด้วย
  • ประคบเย็นเป็นการประคบด้วยน้ำแข็งหรือผ้าที่ชุบน้ำเย็นบิดหมาดๆ โดยให้ประคบหลังจากที่ให้ลูกดูดมเสร็จแล้ว ซึ่งก็จะช่วยให้อาการปวดทุเลาลงได้ดีทีเดียว หรือหากปวดคัดเต้านมในตอนที่ลูกไม่ยอมดูดนม ก็ให้บีบน้ำนมออกในระดับหนึ่งก่อน แล้วจึงประคบเย็นเพื่อให้อาการบรรเทาลงนั่นเอง แต่ทั้งนี้ให้ระวังอย่าประคบโดนหัวนมเพราะอาจทำให้หัวนมแตกและเจ็บได้
  • ประคบด้วยผ้าขนหนูอุ่นๆเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้อาการเต้านมคัด โดยให้ทำก่อนจะให้ลูกดูดนม โดยให้นำผ้าขนหนูอุ่นๆ ผืนใหญ่มาประคบให้รอบเต้านมทั้งสองข้าง ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จะทำให้อาการปวดทุเลาลง และลานนมนุ่มขึ้น ช่วยให้ลูกสามารถดูดนมได้ง่ายกว่าเดิม
  • ปรึกษาแพทย์กรณีที่มีอาการเต้านมคัดบ่อยๆ ถึงแม้จะบีบน้ำนมออกไปบ้างแล้วก็ยังคงคัดตึงและมีอาการปวดมาก แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์โดยตรง ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำที่ดีและเหมาะสมที่สุด โดยควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย

 

การบีบน้ำนมออกจากเต้า

  • ล้างมือให้สะอาด
  • เตรียมขวดนมที่สะอาดผ่านการนึ่งทำความสะอาดมาแล้ว
  • มารดานั่งในท่าที่เหมาะสมและสบาย  ไม่ก้มหลัง  เพราะจะปวดหลัง
  • ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมประมาณ 3 – 5 นาที  ก่อนบีบ
  • วางหัวแม่มือไว้ที่ลานหัวนม  และนิ้วมืออีก 4 นิ้ว  วางใต้เต้านม
  • กดนิ้วเข้าหากระดูกทรวงอก  แล้วบีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่เข้าหากัน  โดยเคลื่อนนิ้วหัวแม่มือมาทางด้านหน้าเล็กน้อย  แต่ไม่เลยขอบลานหัวนม
  • บีบเป้นจังหวะและย้ายตำแหน่งที่วางนิ้วมือรอบๆหัวนมเพื่อบีบน้ำนมออกให้หมดทุกแห่ง  และใช้ขวดที่สะอาดรองรับน้ำนมที่บีบออก
  • เปลี่ยนการบีบที่อีกเต้าทุก 5 นาที  หรือเมื่อน้ำนมไหลช้า
  • เมื่อบีบเต้านมเสร็จ  ให้หยดน้ำนมลงบนหัวนม 2 – 3 หยด  แล้วปล่อยให้แห้งเพื่อป้องกันหัวนมแตก

 

ท่านวดเต้านมบรรเทาอาการ 

นวดคลึงเต้า: เป็นการวอร์มหรืออุ่นเต้านมให้น้ำนมไหลเวียนได้ดีมากขึ้น คุณแม่สามารถใช้บริเวณข้อนิ้วมือหรือบริเวณฝ่ามือนวดคลึงบริเวณเต้านม นวดเป็นแบบก้นหอย นวดวนทั้งทิศบนล่างและทิศซ้ายขวา นวดคลึงจนกว่าเต้านมคุณแม่จะเริ่มนิ่ม ในช่วงแรกจะรู้สึกว่าเต้าค่อนข้างคัด หรือแข็งหน่อย ให้คุณแม่คลึงไปเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 นาทีจะรู้สึกว่าเต้าเริ่มนิ่มลง

นวดหัวนม-ลานนม: หัวนม และลานนมเป็นส่วนที่ค่อนข้างสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนของปลายท่อน้ำนม เหมือนเป็นการเปิดปลายท่อซึ่งจะทำให้น้ำนมไหลได้ค่อนข้างง่าย ให้คุณแม่ใช้ 2 หรือ 3 นิ้ว ประคองไว้ข้างล่างบริเวณหัวนมหลังจากนั้นให้ใช้นิ้วโป้งกดลงจากด้านบนบริเวณหัวนม เสร็จแล้วให้คุณแม่คลึงวน เช่นเดียวกับการวอร์มเต้า คือมีทิศบน-ล่าง และทิศซ้าย-ขวา คลึงจนกว่าหัวนมจะนิ่ม เมื่อหัวนมเริ่มนิ่มให้คุณแม่เลื่อนมาที่ลานนม และคลึงเหมือนเดิม จนกว่าลานนมจะนิ่มด้วย คุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำนมไหลได้ง่ายขึ้น

นวดบีบไล่นม: เทคนิคสำหรับบีบไล่เคลียร์คือให้คุณแม่ใช้มือ ทำมือเป็นรูปตัวซีด้วยนิ้วโป้ง นิ้วกลาง นิ้วชี้ ให้ 3 นิ้วนี้ประคองที่เต้านม โดยใช้นิ้วกลางยกเต้าขึ้น แล้วใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้อยู่บริเวณที่ขอบลานนม นิ้วชี้อยู่ด้านล่าง นิ้วโป้งอยู่ด้านบน แล้วกดไปที่ขอบลานนมจากนั้นถ่างนิ้วออก ให้รู้สึกว่าหัวนมตึง แล้วให้คุณแม่ค่อยๆ บีบไล่เต้านมด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ การทำลักษณะนี้จะเป็นการเคลียร์เต้า คุณแม่สามารถประคบร้อนก่อนที่จะเริ่มนวดเพื่อให้น้ำนมไหลเวียนดีขึ้น หากคุณแม่ไม่มีที่ประคบร้อน หรือถุงน้ำร้อน คุณแม่สามารถประยุกต์โดยนำขวดนม ใส่น้ำร้อนประมาณครึ่งขวด จากนั้นใช้ผ้าอ้อมพันที่ก้นขวดแล้วนำก้นขวดนั้นมาคลึงที่เต้านม ในลักษณะวนคลึงที่เต้านม จะช่วยทำให้การไหลเวียนน้ำนมดีขึ้น

 

ที่มา :

  • chulalongkornhospital.go.th
  • https://mali.me/breast-massage-for-breastfeeding-lactation-mom-to-increase-milk-supply/

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

5 วิธี ขจัดความเครียดสำหรับแม่ท้อง

นวดเปิดท่อ เทคนิคนวดเปิดท่อด้วยตนเองทีละขั้นตอน อย่างละเอียด

หัวนมแตก ทำไงดี ต้องหยุดให้นมลูกไหม?

บทความจากพันธมิตร
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คัดเต้านม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 44 สามารถบรรเทาอาการเต้านมแข็งได้อย่างไร ?
แชร์ :
  • อาการคัดเต้านมของคนท้อง เกิดจากอะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 12

    อาการคัดเต้านมของคนท้อง เกิดจากอะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 12

  • เจ็บเต้านม เจ็บหน้าอกหลังคลอด สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการที่ถูกต้อง

    เจ็บเต้านม เจ็บหน้าอกหลังคลอด สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการที่ถูกต้อง

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • อาการคัดเต้านมของคนท้อง เกิดจากอะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 12

    อาการคัดเต้านมของคนท้อง เกิดจากอะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 12

  • เจ็บเต้านม เจ็บหน้าอกหลังคลอด สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการที่ถูกต้อง

    เจ็บเต้านม เจ็บหน้าอกหลังคลอด สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการที่ถูกต้อง

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ