X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด

บทความ 3 นาที
คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิดคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่าเพราะเหตุใดในเด็กแรกเกิดที่อายุครบ 48-72 ชั่วโมง จะต้องได้รับเจาะเลือดจากส้นเท้าหรือหลังมือเพื่อส่งตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด คุณหมอส่งตรวจเพื่ออะไร ภาวะนี้เป็นอย่างไร เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าค่ะ

คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด

คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ไปทำไม? และภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดคืออะไร? ...ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดคือ ภาวะที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนชื่อ “ไทรอยด์” ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งฮอร์โมนนี้มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการเผาผลาญสารอาหารต่างๆและสร้างพลังงานจึงมีส่วนในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง จึงมีความสำคัญกับเด็กมากค่ะ

 

ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดเกิดจากอะไร?

ภาวะนี้มีสาเหตุหลัก 2 อย่างขึ้นไป สาเหตุแรกคือการที่เด็กไม่มีต่อมไทรอยด์หรือต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนเองได้ตั้งแต่กำเนิดจากความผิดปกติของยีนที่ใช้สร้างต่อมไทรอยด์ ส่วนอีกสาเหตุที่พบบ่อยคือการขาดสารไอโอดีนในขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆที่พบไม่บ่อย คือ คุณแม่เป็นโรคหรือคุณแม่ทานยาบางชนิดที่มีผลต้านไทรอยด์ฮอร์โมน จึงมีผลต่อลูกนั่นเอง

 

อาการของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดเป็นอย่างไร?

เด็กที่มีภาวะนี้มักจะแสดงอาการเด่นชัดขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป อาการจะยังไม่ชัดเจนตั้งแต่แรกเกิดเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากไทรอยด์ฮอร์โมนของแม่ที่ผ่านมายังทารกอยู่ในช่วงแรก แต่ก็อาจจะมีอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น คุณหมอตรวจร่างกายพบว่ากระหม่อมมีขนาดใหญ่กว่าปกติโดยเฉพาะกระหม่อมหลัง นอนหลับมากผิดปกติ ดูดนมไม่ดี สำลักนมบ่อย ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้จำเพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องได้รับการประเมินจากคุณหมอ ร่วมกับพิจารณาผลเลือดที่ตรวจคัดกรองตอนแรกเกิด

เมื่ออายุมากกว่า 1 เดือนอาการจะเริ่มปรากฏมากขึ้น เช่น ลิ้นโตคับปาก สะดือจุ่น ท้องป่อง ผิวลาย ผิวแห้งและเย็น ตัวเหลืองนาน ท้องผูก ดูดนมไม่ดี น้ำหนักขึ้นน้อย นอนหลับมาก อาการจะชัดเจนมากที่สุดเมื่ออายุมากกว่า 6 เดือน โดยเด็กจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ร่างกายแคระแกร็น น้ำหนักน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลิ้นโต ท้องผูก สะดือจุ่น

ผิวและผมแห้ง ขนคิ้วบาง ฟันขึ้นช้า และมีภาวะปัญญาอ่อน ที่เรียกกันว่า "โรคเอ๋อ" เนื่องจากในช่วงอายุ 3 ขวบปีแรกเป็นช่วงที่มีสมองมีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วหากทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในช่วงนี้จึงส่งผลให้เกิดความพิการทางสมองเป็นอย่างมากนั่นเองค่ะ

 

คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดได้อย่างไร?

เมื่อทารกแรกเกิดได้รับการตรวจคัดกรองในเบื้องต้น โดยการวัดระดับฮอร์โมน TSH แล้วพบว่ามีความผิดปกติ โดยค่า TSH มากกว่าหรือเท่ากับ 25 มิลลิยูนิต่อลิตร คุณหมอจะต้องรีบติดตามทารกคนนั้นมาเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมน TSH และระดับไทรอยด์ฮอร์โมน T4 หรือ Free T4 ร่วมด้วย หากพบว่ามีความผิดปกติจริง คุณหมอจะรีบให้การรักษาทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติอย่างรุนแรงของสมอง

 

การรักษาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดทำได้อย่างไร?

หากทราบว่าทารกมีภาวะนี้คุณหมอจะให้การรักษาโดยให้ไทรอยด์ฮอร์โมนทดแทน รับประทานต่อเนื่องภายในอายุ 2-4 สัปดาห์แรกของชีวิต และนัดมาดูอาการเพื่อปรับยา เจาะเลือดวัดระดับไทรอยด์ฮอร์โมนและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ระยะเวลาในการรักษาจะนานเท่าใดขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดนั้น

หากสงสัยว่าลูกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดคุณพ่อคุณแม่ควรรีบนำลูกมารับการรักษาอย่างรวดเร็วและติดตามอาการต่อเนื่องกับคุณหมออย่างเคร่งครัด เพราะหากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที เด็กที่มีภาวะนี้ก็ยังสามารถเจริญเติบโต มีพัฒนาการและสติปัญญาปกติได้นะคะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไทรอยด์กับการตั้งครรภ์ เรื่องที่แม่ท้องควรรู้

เช็คอาการโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (โรคเอ๋อ) ในทารก

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด
แชร์ :
  • ทำความรู้จักกับ ฮอร์โมนแต่ละชนิด ตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์

    ทำความรู้จักกับ ฮอร์โมนแต่ละชนิด ตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์

  • จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้อยของเรากำลังมีความสุข!

    จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้อยของเรากำลังมีความสุข!

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • ทำความรู้จักกับ ฮอร์โมนแต่ละชนิด ตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์

    ทำความรู้จักกับ ฮอร์โมนแต่ละชนิด ตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์

  • จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้อยของเรากำลังมีความสุข!

    จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้อยของเรากำลังมีความสุข!

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ