X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความสำคัญของการตรวจครรภ์ช่วงสามเดือนแรก

บทความ 3 นาที
ความสำคัญของการตรวจครรภ์ช่วงสามเดือนแรก

ช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ที่เรียกกันว่า ท้องอ่อน ๆ เป็นช่วงที่แม่ท้องต้องระมัดระวังตัวมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นก้าวแรกของการเจริญเติบโตของทารกน้อยที่จะพัฒนาต่อไปอีกจนถึงเดือนที่ 9 การฝากครรภ์ การตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ติดตามอ่าน ความสำคัญของการตรวจครรภ์ช่วงสามเดือนแรก กันนะคะ

คุณหมอบอก : สามเดือนแรกสำคัญมากนะ

ไตรมาสแรกหรือระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ถือเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ   เพราะคุณแม่จะสามารถคลอดทารกที่แข็งแรงหรือเสี่ยงแท้งบุตรก็อยู่ในช่วงสามเดือนนี้นะคะ เมื่อผ่านช่วงสามเดือนนี้ไปได้โอกาสแท้งก็จะลดลง เรียกว่าเริ่มเข้าสู่ระยะปลอดภัยดังนั้น  การฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ กับคุณหมอ คุณแม่จะได้รับการตรวจสุขภาพและคำแนะนำในการดูแลตนเอง  เช่น  ควรงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก หรือการเดินทางไกล  รวมไปถึงการดูแลด้านอาหารและโภชนาการ เป็นต้น

ความสำคัญของการตรวจครรภ์ช่วงสามเดือนแรก

1. ระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาร่างกายแลอวัยวะต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงสมองด้วย

ไตรมาสแรก นี้ ทารกต้องการทั้งพลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์ แต่ในช่วงนี้คุณแม่จะยังมีอาการแพ้ท้องและกินอาหารได้น้อย ควรแก้ปัญหาด้วยการกินอาหารทีละน้อย แต่กินบ่อยครั้ง เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามีอาการ แพ้ท้อง มาก คุณหมออาจจะสั่งยาแก้แพ้ให้

2. ไตรมาสแรก นี้ ทารกต้องการทั้งพลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์ แต่ในช่วงนี้คุณแม่จะยังมีอาการแพ้ท้องและกินอาหารได้น้อย ควรแก้ปัญหาด้วยการกินอาหารทีละน้อย แต่กินบ่อยครั้ง เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามีอาการ แพ้ท้อง มาก คุณหมออาจจะสั่งยาแก้แพ้ให้

3.  เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 7-8 เป็นช่วงที่คุณแม่อาจสังเกตว่ามีอาการ ตกขาว มาก จึงควรดูแลอนามัยช่องคลอดให้ดี สังเกตว่ามีตกขาวมากผิดปกติแค่ไหน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อด้วย ก็ไม่ควรปล่อยไว้นาน เพราะอาจลุกลามไปถึงโพรงมดลูก ทำให้มีอาการอักเสบ ส่งผลกระทบต่อตัวอ่อนที่ฝังตัวในผนังมดลูก และมีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนช่วง 3 เดือนแรกด้วย

Advertisement

ตั้งครรภ์, ฝากครรภ์, ตรวจครรภ์สามเดือนแรก, ตรวจครรภ์ไตรมาสแรก

4. การตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกนี้จะเป็นการตรวจแบบอัลตราซาวนด์ แม้ว่าจะยังมองไม่เห็นเป็นลักษณะรูปร่างของทารก แต่ก็สามารถบอกได้ถึงการเจริญเติบโต ขนาดถุงน้ำคร่ำ  การเต้นของหัวใจ และตำแหน่งการเกาะของรกที่ผนังมดลูกได้  เพื่อที่คุณหมอจะประเมินอาการและคาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์  เพื่อวางแนวทางในการป้องกันหรือดูแลครรภ์ของคุณแม่อย่างดีที่สุด

เรื่องน่ารู้  ในช่วง 3 เดือนแรกเซลล์สมองเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่ช่วงแรกคือตอน 8 สัปดาห์ ส่วนเส้นใยประสาทมีการเชื่อมโยงได้แล้ว และสามารถเช็กได้ว่าโครงสร้างหลักของลูก เช่น กะโหลก แขน ขา กระดูกสันหลัง มีความพิการหรือไม่

ตั้งครรภ์, ฝากครรภ์, ตรวจครรภ์สามเดือนแรก, ตรวจครรภ์ไตรมาสแรก

5. ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น พบมากที่สุดในช่วงสามเดือนแรกคือ การแท้ง เนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ต้องระวังและป้องกันได้เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมน การติดเชื้อ โรคเรื้อรังของคุณแม่ ภาวะขาดอาหารของแม่ ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและสารพิษ เช่น  บุหรี่  แอลกอฮอล์  และสารเสพติด รวมไปถึงอุบัติเหตุและการกระทบกระเทือนอื่นๆ

6. สิ่งที่แม่ท้องทุกคนควรทราบและสังเกตอยู่เสมอ คือ การมีเลือดออกทางช่องคลอดถือเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งของการแท้งบุตร สิ่งสำคัญเมื่อมีเลือดออกแม้เพียงเล็กน้อย สิ่งแรกที่ควรทำคือ นั่งพักและนอนพักและควรปรึกษาคุณหมอโดยด่วน

ข้อควรรู้   สิ่งที่คุณแม่ควรสังเกต คือ ปริมาณและสีของเลือดที่ออกมาว่า  เป็นสีแดงสดหรือน้ำตาลคล้ำ ปริมาณมากหรือน้อย หรือมีอาการปวดท้องร่วมกับเลือดออกด้วยหรือไม่ เพราะอาการปวดท้องอาจเกิดจากการบีบรัดตัวของมดลูกนั่นเอง เพื่อจะได้แจ้งอาการแก่คุณหมอเป็นข้อมูลในการตรวจรักษาต่อไป

เมื่อคุณแม่ทราบเช่นนี้แล้ว  อย่าละเลยและให้ความสำคัญกับการไปตรวจครรภ์แต่เนิ่น ๆ นะคะ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกน้อยนั่นเอง

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://baby.kapook.com

https://www.being-mom.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สารเคมีในชีวิตประจำวันที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง

เช็กลิสต์อาการอะไรบ้างที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

TAP-ios-for-article-footer-with button

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ความสำคัญของการตรวจครรภ์ช่วงสามเดือนแรก
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว