X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน รู้ไหมว่า แค่ล้างแล้วใช้ยาวๆไม่พอนะ

บทความ 5 นาที
ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน รู้ไหมว่า แค่ล้างแล้วใช้ยาวๆไม่พอนะ

ขวดนมลูกควรเปลี่ยนตอนไหน ของใช้แต่ละอย่างนั้น ก็ล้วนแล้วแต่มีอายุการใช้งานเสมอ ขวดนมและจุกนมลูกก็เช่นกัน เรามาดูกันว่า ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน

 

อายุการใช้งานของขวดนมและจุกนม

  • ขวดนม

อายุการใช้งานของขวดนม จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการดูแลรักษา แต่โดยปกติทั่วไปแล้ว ขวดนมหลังจากที่มีการผลิตออกมาแล้วยังไม่มีการใช้งาน จะมีอายุเสื่อมสภาพอยู่ที่ประมาณ 3-4 ปี

แต่สำหรับขวดนมที่นำมาให้ลูกใช้กินนมแล้ว ถ้าเป็นขวดนมสีขาวใสทั่วไป ก็อาจจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 5-6 เดือน หรือถ้าเป็นขวดนมสีชา หรือสีน้ำผึ้ง ก็อาจจะใช้ได้นานขึ้นมาหน่อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดของขวดนม และสภาพการใช้งานด้วยนะ

ยิ่งถ้าใช้อยู่ขวดแล้วโดนความร้อนจากการทำความสะอาดบ่อย ๆ ก็อาจทำให้ตัวเลขข้าง ๆ ขวดทยอยจางลงไป หรือขวดนมมีการชำรุดเปลี่ยนแปลง เช่น บิดเบี้ยว มีรอยร้าว มีสีขุ่นลง ไม่ใสเหมือนเดิม หรือมีรอยขีดข่วนเป็นจำนวนมาก ถ้าคุณแม่เห็นอย่างนั้น นั่นก็ถึงเวลาเปลี่ยนแล้วแหละ

  • ขวดนมสีขาวใส หรือ ขาวขุ่น ทนความร้อนได้ประมาณ 100 องศา มีอายุการใช้งาน 5-6 เดือน แต่ถ้ามีรอยขีดข่วนควรเปลี่ยนก่อน 6 เดือน
  • ขวดนมสีชา หรือสีน้ำผึ้ง ทนต่อความร้อนได้ประมาณ 180 องศา ซึ่งจะทนกว่าขวดนมสีขาวใส มีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี แต่ถ้ามีรอยขีดข่วนที่มากจนเกินไป หรือชำรุด ก็ควรเปลี่ยนก่อน 2 ปี

 

  • จุกนม

จุกนมนั้น ควรที่จะเปลี่ยนตามช่วงวัยของเด็กเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 2-3 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทสภาพตามการใช้งาน คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการเก็บรักษาทำความสะอาด แต่ถ้าหากจุกนมเริ่มบวมขึ้น เนื้อยางเริ่มนิ่ม หรือจุกนมมีการเปลี่ยนสีไปจากสีเดิม เช่นสีซีดจางลง ก็แสดงว่าจุกนมเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว เปลี่ยนใหม่ให้ลูกน้อยได้เลย

  • จุกนมยาง ทนความร้อนได้ 100 องศา มีอายุการใช้งานประมาณ 2-3 เดือน และควรเปลี่ยนทุก ๆ 2-3 เดือน
  • จุกนมซิลิโคน จะมีความยืดหยุ่นดีกว่าจุกนมยางมาก และมีความทนทานกว่า ทนความร้อนได้ประมาณ 120 องศา โดยควรเปลี่ยนทุก ๆ 3-4 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เครื่องนึ่งขวดนม พาคุณแม่ชอปปิงเครื่องนึ่งขวดไอเทมที่คุณแม่ต้องมี

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

สัญญาณเตือนจุกนมเสื่อม

จุกนมนั้น จะมีอายุการใช้งานที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิด และการใช้งานของเรา เหมือนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นตรวจดูสภาพของจุกนมอยู่สม่ำเสมอ ถ้าจุกนมมีอาการแบบนี้ ก็อาจจะถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนได้แล้ว

 

1. น้ำนมไหลออกมาเป็นสาย หรือไหลออกมาไม่สม่ำเสมอ

ปกติแล้ว น้ำนมจะไหลออกมาเป็นหยด ถ้าเมื่อไหร่ที่ไหลออกมาเป็นสายล่ะก็ แสดงว่าจุกนมนั้นได้เสื่อมสภาพ เพราะรูจุกนมนั้นใหญ่เกินไป

2. จุกยางเสื่อม บางลง เสียรูปทรง

เมื่อใช้ไปนาน ๆ หรือผ่านการต้มฆ่าเชื้อโรคบ่อย ๆ ยางจะบางลงและเสียรูปทรงไปได้ ซึ่งวิธีทดสอบคุณภาพจุกยางง่าย ๆ ทำได้โดยการดึงจุกนม ออกมาให้ตรง ๆ แล้วก็ปล่อย ถ้าจุกนมหดกลับสู่สภาพเดิม ก็แสดงว่ายังใช้ได้ แต่ถ้าไม่กลับไปอยู่ในรูปเดิม ก็ควรเปลี่ยนใหม่ได้แล้ว

3. สีซีด จุกนมบวม

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตสีของจุกนมดูก็ได้นะ เมื่อไรที่สีจางลง จุกนมบวม เนื้อยางนิ่ม เวลาที่ลูกดูด จุกนมจะแบนจนน้ำนมไม่ไหล นั่นก็แสดงว่าจุกนมเสื่อมสภาพลงแล้ว

4. จุกนมมียางแตกหรือขาด

ถ้าพบว่าจุกนมมียางแตกหรือขาด ต้องเลิกใช้โดยทันที เพราะอาจจะมีเศษยางหลุดปนเข้าไปในปากของลูกน้อยได้ หากลูกดูดนมแล้วมีเศษยางเข้าไปติดหลอดลม ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ ป้องกันไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

 

 

ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน

 

เลือกจุกนมให้ถูก เพื่อสุขภาพลูกรัก เลือกจากอะไร

เด็กแรกเกิดมักยังมีความเคยชินกับการดื่มนมจากเต้า ดังนั้น ควรพิถีพิถันในการเลือกจุกนมที่เหมาะสมกับทารกให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้เด็กดื่มนมหรือน้ำได้ดี ไม่มีปัญหา เด็กงอแงไม่ยอมดื่มจากขวด หรือสำลักนมขณะดื่ม และไม่เกิดอาการแพ้หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาด้วย

ปัจจุบันในท้องตลาดมีจุกนมวางขายหลากหลายแบบ ซึ่งสามารถพิจารณาเลือกใช้จุกนมได้จากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

 

วัสดุที่ใช้ทำจุกนม

  • ซิลิโคน จุกนมที่ทำจากซิลิโคนจะมีเนื้อแน่น และคงรูปเดิมได้นาน
  • ยาง จุกนมยางจะนิ่ม และยืดหยุ่นมากกว่าซิลิโคน แต่อายุการใช้งานสั้นกว่า และเด็กบางคนอาจแพ้ยางจากการใช้จุกนมชนิดนี้ได้

 

รูปร่างของจุกนม

  • จุกนมปลายกลม เป็นจุกนมทั่วไปที่มีปลายจุกกลมมนรูปทรงคล้ายระฆัง
  • จุกนมปลายแบนเรียบ เป็นจุกนมที่มีฐานความกว้าง โดยมีปลายจุกแบนราบให้ความรู้สึกคล้ายดูดนมจากเต้าแม่ เป็นชนิดที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนให้เด็กดื่มนมผงหรือนมที่ปั๊มไว้แทนการดื่มนมจากเต้า
  • จุกนมปลายแหลมแบน เป็นชนิดที่ถูกออกแบบมาให้รองรับเพดานปาก เหงือก และลิ้นของเด็ก โดยปลายที่แบนออกจะวางตัวพอดีกับลิ้นขณะเด็กดูดนม

 

ขนาดและการใช้งาน

จุกนมมีหลายขนาดตามการใช้งาน โดยทั่วไปจะมีการระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์จุกนมว่าจุกแต่ละขนาดเหมาะกับเด็กอายุเฉลี่ยในวัยไหนที่สุด

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

โดยคำแนะนำสำหรับการเลือกใช้ขนาดจุกนมให้เหมาะสมกับลูกน้อย มีดังนี้

  • เด็กแรกเกิดที่อายุน้อยควรดื่มจากจุกนมขนาดเล็กที่สุดซึ่งนมหรือน้ำจะไหลออกมาจากจุกได้ช้าที่สุด
  • เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น ควรเลือกใช้จุกนมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย และจุกที่ทำให้นมไหลเร็วขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
  • ในบางกรณีที่ เด็กอาจดื่มนมจากจุกนมไม่สะดวกแม้เลือกใช้จุกนมตามวัยที่แนะนำ ซึ่งพ่อแม่ควรเปลี่ยนขนาดจุกนมใหม่ให้พอดีกับเด็ก จนกว่าเด็กจะสามารถใช้จุกนั้นดื่มนมได้อย่างมีประสิทธิภาพพอ
  • สังเกตอาการขณะที่เด็กดื่มจากจุกนม หากเด็กสำลักหรือคายนมออกมาแสดงว่าจุกนั้นทำให้นมไหลออกมาเร็วเกินไป และควรเปลี่ยนไปใช้จุกนมใหม่เช่นกัน

 

ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน

 

วิธีการทำความสะอาดจุกนม

เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดกับลูกน้อยของเรา ควรใส่ใจทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้กับลูกน้อยรวมทั้งจุกนม โดยมีวิธีล้างและเก็บรักษาจุกนม ดังนี้

  • หลังจากที่ซื้อจุกนมมาใหม่ ๆ ให้ฆ่าเชื้อจุกนมโดยนำไปต้มทิ้งไว้ในหม้อประมาณ 4-5 นาที จากนั้นล้างจุกนมด้วยสบู่ และน้ำอุ่นแล้วผึ่งทิ้งไว้ให้แห้ง
  • หลังการใช้งานให้ล้างจุกนมด้วยสบู่ และน้ำอุ่นทันที โดยใช้แปรงล้างจุกนมเพื่อให้สามารถทำความสะอาดในบริเวณที่เข้าถึงได้ยาก และต้องระมัดระวังไม่ใช้แปรงนี้ทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น
  • หลังล้างจุกนมแล้ว ให้ผึ่งจุกนมจนแห้งสนิทเสียก่อน ที่จะนำไปใช้งานอีกครั้ง
  • หากเป็นจุกนมชนิดที่สามารถล้างในเครื่องล้างจานได้ ให้วางจุกนมไว้ที่ชั้นบนสุดในเครื่องล้างจานจะดีกว่า
  • ห้ามใช้จุกนมที่มีสภาพบุบสลายหรือปลายจุกมีรอยแตก โดยทิ้งจุกนมนั้นทันทีหากพบว่าเป็นดังกล่าว
  • เมื่อต้องนำจุกนมไปใช้งาน ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนหยิบจับจุกนม และขวดนม

 

คำแนะนำอื่น ๆ เกี่ยวกับการเลือกใช้จุกนม

นอกจากจุกนมโดยทั่วไปแล้ว ยังมีจุกนมแบบใช้แล้วทิ้งที่ถูกห่ออยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ฆ่าเชื้อแล้ว โดยสามารถโยนจุกนมทิ้งไปหลังใช้งานแล้วได้ทันทีเลย และไม่ต้องนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานแบบเร่งด่วนหรือเมื่อครอบครัวต้องเดินทางไปในที่ไกล ๆ

นอกจากนี้ หากพ่อแม่ผู้ปกครองมีข้อสงสัยหรือพบปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับการเลือกใช้และการทำความสะอาดจุกนม รวมถึงการป้อนนมผ่านจุกนม ควรไปปรึกษากุมารแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลลูกน้อยต่อไป

 

ฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนใช้

คุณควรทำความสะอาดฆ่าเชื้อกับอุปกรณ์ให้นมลูกทั้งหมดก่อนนำมาใช้ทุกครั้งตลอด 6 เดือนแรก เพราะในช่วงนี้ร่างกายของลูกยังไม่มีภูมิต้านทานที่เพียงพอคุณต้องให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ และใส่ใจในเรื่องนี้เป็นสิ่งแรกเพื่อสุขภาพของลูกน้อย

จุกนมเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับทารกแรกเกิดเป็นอย่างมาก พ่อแม่ควรเลือกใช้จุกนมที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกรักได้ดื่มนมหรือน้ำจากขวดนมได้อย่างสะดวก รวมถึงควรศึกษาวิธีการทำความสะอาด และเก็บรักษาจุกนมให้อยู่ในสภาพดีพร้อมให้ใช้งาน เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของลูกน้อยเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จุกหลอก ใช้แล้วอันตรายหรือไม่ ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้

10 อันดับ ขวดนมสำหรับเด็ก ขวดนมแบบไหนเหมาะกับลูกน้อย ขวดนมแบบไหนถึงจะดี

การเลือกขวดนม และจุกนมที่คุณแม่ควรรู้ !! ขวดนมเด็กแรกเกิด เลือกยังไง ?
ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน รู้ไหมว่า แค่ล้างแล้วใช้ยาวๆไม่พอนะ
แชร์ :
  • วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม

    วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม

  • อาหารไทยภาคกลาง รสกลมกล่อม ที่ทั้งคนไทย และต่างชาติ ห้ามพลาด

    อาหารไทยภาคกลาง รสกลมกล่อม ที่ทั้งคนไทย และต่างชาติ ห้ามพลาด

  • วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม

    วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม

  • อาหารไทยภาคกลาง รสกลมกล่อม ที่ทั้งคนไทย และต่างชาติ ห้ามพลาด

    อาหารไทยภาคกลาง รสกลมกล่อม ที่ทั้งคนไทย และต่างชาติ ห้ามพลาด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ