X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) รักษาภาวะมีบุตรยาก

บทความ 3 นาที
การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) รักษาภาวะมีบุตรยาก

การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) หรือการเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะบลาสโตซิสต์แล้วค่อยย้ายตัวอ่อนกลับสู่มดลูก เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่เติมเต็มให้การทำเด็กหลอดแก้วสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง เราไปดูกันดีกว่า

การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) รักษามีบุตรยาก

การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) รักษาผู้มีบุตรยาก

การทำอิ๊กซี่และอิมซี่ช่วยให้เกิดการปฏิสนธิได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่สำหรับตอนที่ 7 หรือตอนสุดท้ายของซีรี่ส์มีบุตรยากนี้ขอนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องการทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) หรือการเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะบลาสโตซิสต์แล้วค่อยย้ายตัวอ่อนกลับสู่มดลูก ซึ่งจะช่วยให้อัตราการตั้งครรภ์สูงยิ่งขึ้นไปอีก

การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์

การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์คือการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่ได้รับการผสมแล้วไปอีกห้าวันเพื่อให้ได้ตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์มา แล้วจึงค่อยย้ายตัวอ่อนเข้าไปสู่โพรงมดลูกให้ฝังตัวเป็นทารกต่อไป

หลักการทำจะคล้าย ๆ กับการทำเด็กหลอดแก้วทั่ว ๆ ไป คือ มีการกระตุ้นไข่ ใช้อัลตราซาวนด์ตรวจเพื่อกำหนดวันเจาะไข่ผ่านช่องคลอด หลังจากเจาะไข่แล้วก็นำมาผสมกับตัวอสุจิที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ในที่นี้ตัวอสุจิอาจได้รับการคัดเลือกผ่านการทำอิ๊กซี่ก็ได้ เมื่อเกิดการปฏิสนธิก็จะเลี้ยงตัวอ่อนไปอีกห้าวันในห้องปฏิบัติการจนได้ตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ จากนั้นแพทย์จะใส่ตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกผ่านการสอดท่อเข้าช่องคลอด เมื่อผ่านไปแล้วราว 14 วันก็สามารถตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนตรวจผลการตั้งครรภ์ได้

ข้อดี

โดยปกติเมื่อทำเด็กหลอดแก้ว หลังจากเก็บไข่ออกมาแล้วจะมีการแยกก่อนว่าไข่ใบไหนโตเต็มที่พร้อมสำหรับการผสมกับอสุจิ จากนั้นจึงนำไปผสมให้ได้มาเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ได้จะพัฒนาไปจนถึงระยะที่มี 8 เซลล์ แต่ไม่ใช่ตัวอ่อนทั้งหมดจะสามารถเจริญเติบต่อพ้นช่วงนี้ไปได้

ดังนั้น การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์เป็นการเพาะเลี้ยงและตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวอ่อนสามารถเจริญพ้นระยะ 8 เซลล์ กลายเป็นบลาสโตซิสต์ ซึ่งจะช่วยให้ได้ตัวอ่อนที่มีความพร้อมมากกว่าสามารถฝังตัวในโพรงมดลูกและเจริญต่อไปเป็นทารกเมื่อได้รับการย้ายกลับไปที่มดลูก การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์จึงช่วยให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้น อีกทั้งแพทย์สามารถตรวจความผิดปกติของตัวอ่อนและเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีสำหรับการเจริญในโพรงมดลูกได้อีกด้วย

ค่าใช้จ่าย

ข้อดีที่เพิ่มมาก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์จะเพิ่มขึ้นมาจากการทำเด็กหลอดแก้วปกติประมาณ 10,000-12,000 บาทแล้วแต่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่านี้แตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมานี้คือค่าใช้ห้องปฏิบัติการสำหรับการเลี้ยงตัวอ่อนให้นานขึ้น แต่หากทำอิ๊กซี่ควบคู่ไปด้วยก็จ่ายเพิ่มอีกราว 10,000-12,000 บาทสำหรับค่าทำอิ๊กซี่ บางโรงพยาบาลก็จะคิดค่าบริการเหล่านี้ไปกับการทำเด็กหลอดแก้วไปเลย สำหรับค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วและอิ๊กซี่ขอให้ย้อนกลับไปดูในตอนที่เคยนำเสนอไปแล้ว

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าคุณทั้งสองต้องใช้วิธีใดบ้างก็ขอให้โชคดีและได้มีเจ้าตัวน้อยที่มีสุขภาพแข็งแรงมาเชยชมกันให้สมใจนะครับ

กลับสู่หน้าหลักเข้าใจหลักการรักษาภาวะมีบุตรยาก

ทางเลือกเมื่อมีลูกไม่ได้

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สันติภาพ อัศวโสตถิ์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) รักษาภาวะมีบุตรยาก
แชร์ :
  • การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

    การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

  • เข้าใจหลักการรักษาภาวะมีบุตรยาก ปัญหาของคู่รักหลายๆคู่

    เข้าใจหลักการรักษาภาวะมีบุตรยาก ปัญหาของคู่รักหลายๆคู่

  • แม่ตกใจ! ลูกเกิดมาพร้อม โรคผิวหนังหายาก ไฝขยายตัวใหญ่จนคล้ายกระดองเต่า

    แม่ตกใจ! ลูกเกิดมาพร้อม โรคผิวหนังหายาก ไฝขยายตัวใหญ่จนคล้ายกระดองเต่า

  • สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

    สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

  • การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

    การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

  • เข้าใจหลักการรักษาภาวะมีบุตรยาก ปัญหาของคู่รักหลายๆคู่

    เข้าใจหลักการรักษาภาวะมีบุตรยาก ปัญหาของคู่รักหลายๆคู่

  • แม่ตกใจ! ลูกเกิดมาพร้อม โรคผิวหนังหายาก ไฝขยายตัวใหญ่จนคล้ายกระดองเต่า

    แม่ตกใจ! ลูกเกิดมาพร้อม โรคผิวหนังหายาก ไฝขยายตัวใหญ่จนคล้ายกระดองเต่า

  • สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

    สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ