X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การตั้งครรภ์เดือนที่ 9 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง และพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

บทความ 3 นาที
การตั้งครรภ์เดือนที่ 9 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง และพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

ว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 9 เชื่อว่าน่าจะกำลังเตรียมตัวสำหรับการคลอดกันอยู่ใช่ไหมคะ อีกไม่กี่สัปดาห์ทารกน้อยก็จะคลอดออกมาให้ได้ชื่นใจว่าที่คุณพ่อคุณแม่คนใหม่กันแล้วล่ะค่ะ ฉะนั้นควรเตรียมพร้อมกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าเสื้อผ้า เอกสารที่ต้องใช้ในการคลอด ฯลฯ เดือนสุดท้ายของช่วงเวลาการอุ้มท้องไปดูกันว่าร่างกายของคุณแม่ท้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างในเดือนนี้ รวมถึงพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยค่ะ

ร่างกายของคุณแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

    • ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 34 เป็นต้นไป คุณแม่จะพบว่าตัวเองเริ่มได้รับสัญญาณบางอย่างนั่นคือ มดลูกเริ่มหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนเป็นประจำ และมีจังหวะสม่ำเสมอ คุณแม่จะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูก และค่อยๆ คลายตัวลง แต่สบายใจได้ค่ะนี่ยังไม่ใช่การเจ็บท้องคลอดจริง เพราะหากเกิดการคลอดขึ้นมาอีกหนึ่งสัญญาณที่ปรากฎขึ้นนั่นคือ การมีน้ำออกจากช่องคลอดนั่นเองค่ะ ซึ่งหากพบว่ามีสัญญาณนี้ด้วยก่อนกำหนดให้รีบไปโรงพยาบาลทันที
    • ยอดมดลูกขยับขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุด สังเกตได้ชัดว่าจะอยู่ตรงใต้กระดูกสันอก ซึ่งผลกระทบที่ได้คือ คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจได้ลำบาก และมีอาการเจ็บชายซี่โครง
    • ในเดือนนี้คุณแม่จะต้องไปพบคุณหมอทุกสัปดาห์ เพื่อตรวจอาการก่อนคลอดต่างๆ และการดูความพร้อมของทารกในครรภ์ รวมทั้งหากพบความผิดปกติในการคลอดใดๆ คุณหมอก็จะแจ้งให้คุณแม่ทราบทันทีค่ะ
    • เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 37 ทารกจะเริ่มเคลื่อนส่วนนำ(ศีรษะ) มาอยู่ตรงอุ้งเชิงกราน ทำให้คุณแม่รู้สึกโล่งที่ชายโครง
    • เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 38 ก่อนที่มดลูกจะหดรัดตัวเป็นการเจ็บครรภ์คลอดจริง คุณแม่ก็จะได้รู้สึกถึงอาการเจ็บครรภ์เตือน ที่เป็นการเจ็บเตือนที่แรงประมาณเดียวกับการเจ็บครรภ์คลอดจริงเลยล่ะค่ะ
    • เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 39 ปากมดลูกเตรียมพร้อมแล้วสำหรับการคลอด คุณแม่จะรู้สึกหนักที่กระเพาะปัสสาวะนั่นเกิดจากการกดทับจากทารก และมดลูกมีการหดรัดตัวแรงขึ้นเมื่อคุณแม่เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งการหดรัดตัวของมดลูกนี้จะเป็นจังหวะสม่ำเสมอและบ่อย นี่ถือเป็นสัญญาณเตือนการคลอดจริงที่กำลังจะเกิดขึ้น หากยังอยู่ที่บ้าน ควรสังเกตว่าร่างกายมีสัญญาณอื่นๆ ด้วยหรือเปล่า ได้แก่ ถุงน้ำคร่ำแตก
    • อายุครรภ์ครบกำหนดคลอดทารกมีความสมบูรณ์เต็มที่ จะอยู่ในระหว่าง 37 ถึง 41 สัปดาห์ และหากอายุครรภ์ 42 สัปดาห์ขึ้นไป ถือเป็นการตั้งครรภ์ที่เกินกำหนด ซึ่งเสี่ยงต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้แก่ รกเสื่อม น้ำคร่ำลดน้อยลง เมื่อมดลูกหดรัดตัวก็จะเป็นผลให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน ซึ่งถือเป็นภาวะอันตรายที่เสี่ยงมากต่อชีวิต
    • เมื่ออยู่ในห้องคลอดคุณแม่ควรควบคุมการหายใจของตัวเองให้ดี มีสมาธิอยู่ที่ลมหายใจระหว่างที่มีอาการมดลูกหดรัดตัวเป็นก้อนนูนแข็ง จะช่วยให้คุณแม่ควบคุมตัวเองจากการเจ็บท้องคลอดได้ดี

การตั้งครรภ์เดือนที่ 9 กับพัฒนาการทารกในครรภ์ และเตรียมกระเป๋าไปคลอด  อ่านหน้าต่อไปคลิก

Advertisement

การตั้งครรภ์เดือนที่ 9-เตรียมกระเป่าไปคลอดที่โรงพยาบาล

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 9

  • สัดส่วนของทารก จะมีลำตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร หนักประมาณ 3,000 กรัม
  • การหายใจ ต่อมหมวกไตจะเร่งสร้างฮอร์โมนเพิ่มความสมบูรณ์ของปอด เพื่อเตรียมการหายใจครั้งแรกในชีวิตที่ต้องออกจากครรภ์ของคุณแม่
  • ในลำไส้ของทารกเต็มไปด้วยขี้เทา ซึ่งเกิดจากสารที่หลั่งในระบบทางเดินอาหาร ปะปนกับขนอ่อนและเซลล์ต่างๆ ที่หลุดออกตามทางเดินอาหารของทารก
  • ผิวหนังของทารกยังคงมีไขสีขาวเวอร์นิกซ์ (Vernix) เหลืออยู่ ก็เพื่อช่วยหล่อลื่นให้ทารกคลอดได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
  • ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายที่อยู่ในครรภ์คุณแม่ ร่างกายทารกจะขับของเสียเป็นเมือกสีเขียวเข้มออกมาในลำไส้ ของเสียที่ทารกขับออกมานี้ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดที่แตกตัว เซลล์ที่ลอกตัวออกจากลำไส้ เซลล์ผิวหนังและขนอ่อนที่หลุดเข้าไปปนอยู่ในน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไป และขับเป็นของเสียออกมา สารที่เป็นเมือกสีเขียว เป็นของเสียชนิดแรกที่ทารกขับออกมาในตอนแรกคลอด ทำให้ทารกมีเมือกสีเขียวเปื้อนอยู่ทั่วร่างกายตอนคลอดนั่นเอง

เพื่อไม่ให้เกิดความฉุกละหุกขึ้นมาเวลาที่ปวดท้องคลอด ในระหว่างนี้คุณแม่ควรเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับตัวเองและของลูกน้อยลงกระเป๋าไว้ให้พร้อมด้วยนะคะ สิ่งที่ควรเตรียมมีดังนี้ค่ะ

  • ของใช้ส่วนตัวของคุณแม่ เช่น ผ้าขนหนู สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ฯลฯ
  • เสื้อชั้นในสำหรับให้นมลูก กางเกงชั้นใน
  • ผ้าอนามัย 1 ห่อ
  • ชุดใส่กลับบ้าน 1 ชุด ของคุณแม่
  • ผ้าห่อตัวลูก
  • ผ้าอ้อมสำเร็จรูป Newborn Size
  • ชุดใส่กลับบ้าน 1 ชุด ของลูก

ถึงเวลาที่ต้องคลอดลูกแล้ว ขอให้ว่าที่คุณแม่คนใหม่โชคดีกันทุกคนนะคะ ^_^

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

100 อาการคนท้องเดือนที่ 9 ที่คุณแม่ต้องรู้

ของเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่มือใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

ผ่าคลอดแนวตั้ง กับผ่าคลอดแนวนอน ต่างกันอย่างไร

การคลอดแบบธรรมชาติดีกว่าผ่าคลอดจริงหรือไม่?

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • การตั้งครรภ์เดือนที่ 9 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง และพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว