X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รอบรู้เรื่อง การขับถ่ายของทารก ขับถ่ายแบบไหนผิดปกติ

บทความ 3 นาที
รอบรู้เรื่อง การขับถ่ายของทารก ขับถ่ายแบบไหนผิดปกติ

การขับถ่ายของทารก อาจเป็นเรื่องหนึ่งที่คุณแม่มือใหม่หลายคนเป็นกังวลว่าลูกถ่ายบ่อยไปไหม ลูกท้องผูกหรือเปล่า ลักษณะของอุจจาระแบบนี้ถือว่าปกติไหมนะ เรามีคำตอบ

รอบรู้เรื่อง การขับถ่ายของทารก

การขับถ่ายของทารกแรกเกิด

ลูกถ่ายอุจจาระสีเทาดำอมเขียว

การถ่ายอุจจาระสีเทาดำอมเขียว หรือ “ขี้เทา” ในช่วง 2-3 วันหลังคลอด ถือเป็นเรื่องปกติลำไส้อุดตัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : สีอึของทารก แต่ละสีบอกอะไรบ้าง พ่อแม่จ๋า อย่ารังเกียจอึหนู

 

ลูกถ่ายทันทีหลังกินนม

ในเด็กทารกอายุ 2-3 เดือนแรก โดยเฉพาะในทารกนมแม่อาจถ่ายทุกครั้งหลังกินนม ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเกิดจากร่างกายส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทอัตโนมัติไปที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้บีบตัวเพื่อขับถ่ายอุจจาระออกจากร่างกาย ทันทีที่กระเพาะอาหารได้รับน้ำนมจนเต็ม

 

ลูกไม่ถ่ายนานหลายวัน

สำหรับเด็กนมแม่ บางคนอาจไม่ถ่ายนานหลายวัน ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากนมแม่ไม่มีของเสียที่เป็นกากมากนัก ร่างกายจึงดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้เกือบหมด คุณแม่จึงไม่ต้องเป็นกังวลนะคะ แม้ไม่ได้ถ่าย แต่ลูกยังรู้สึกสบายดี และเมื่อถ่ายอุจจาระออกมาจะไม่แข็ง จึงไม่เรียกว่าท้องผูก

 

ลักษณะอุจจาระของทารกที่กินนมแม่

การขับถ่ายของทารกกินนมแม่

อุจจาระปกติของทารกที่กินนมแม่จะเป็นสีเหลืองทอง ข้น คล้ายแป้งเปียก หรือซุปฟักทอง หรืออาจเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายซุปถั่ว แต่ไม่แข็งเป็นก้อน โดยส่วนใหญ่ลูกจะถ่ายบ่อยวันละหลายครั้งในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก และเมื่ออายุ 1-3 เดือนความถี่ในการขับถ่ายก็จะลดลง

 

ลักษณะอุจจาระของทารกที่กินนมผง

อุจจาระของทารกที่กินนมผงจะมีสีเหลืองอ่อนกว่าอุจจาระของเด็กที่กินนมแม่ หรืออาจเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะคล้ายแป้งเปียก หรือไข่กวน ทั้งนี้ความถี่ในการขับถ่ายหรือสีอุจจาระจะเป็นอย่างไรก็ได้ ตราบใดที่ลูกอุจจาระไม่แข็งหรือเหลวเป็นน้ำ แต่ปัญหาที่พบบ่อยในทารกที่กินนมผงคือท้องผูก หรืออุจจาระแข็งเกินไปนั่นเอง

 

ทำไมลูกจึงเบ่งหน้าดำหน้าแดง

อาจเป็นไปได้ว่ากล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายยังทำงานไม่ประสานกัน ส่วนที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนทำงานแล้ว แต่กล้ามเนื้อหูรูดไม่ยอมเปิดให้อุจจาระออกมา จึงทำให้ลูกเบ่งมาก เมื่อระบบประสาทพัฒนามากขึ้นอาการนี้จะหายไปเอง อย่างไรก็ตาม แม้ลูกจะเบ่งหน้าดำหน้าแดง แต่อุจจาระที่ออกมาไม่แข็ง ถือว่าไม่ท้องผูก เพราะฉะนั้นไม่ควรเหน็บยาหรือสวนอุจจาระ เพราะจะทำให้เด็กเคยชินและไม่ยอมเบ่งเองค่ะ

 

อุจจาระแบบไหนที่น่ากังวล

การขับถ่ายของทารก-การเบ่ง

  • คุณแม่ยังไม่ต้องกังวลหากอุจจาระของลูกมีสีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่หากลูกถ่ายบ่อยและเหลวมากขึ้น มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับท้องอืด อาจเป็นอาการติดเชื้อ
  • หากพบมูกใสในอุจจาระอาจเกิดจากการระคายเคืองที่ลำไส้ อาหารไม่ย่อย แต่ก็อาจมาจากเมือกที่ลูกกลืนขณะอยู่ในท้องแม่ หรือมาจากน้ำมูกหรือเสมหะที่กลืนลงไปขณะเป็นหวัดก็ได้
  • หากพบเลือดเป็นเส้นจางๆ เคลือบอุจจาระ ส่วนใหญ่เกิดจากอุจจาระแข็งครูดกับผนังลำไส้หรือรูทวาร แม้เลือดที่ออกไม่รุนแรง แต่ควรแจ้งคุณหมอเพื่อรักษาภาวะท้องผูกหรืออุจจาระแข็งเกินไป
  • หากมีเลือดออกจำนวนมากในอุจจาระ อาจเกิดจากความผิดปกติที่โครงสร้างของลำไส้ การติดเชื้อที่ลำไส้อย่างรุนแรง หรือเกิดจากโรคลำไส้กลืนกัน ควรรีบพบคุณหมอโดยเร็ว

 

ข้อคิดสำหรับพ่อแม่

จำนวนและความถี่ในการขับถ่ายสำคัญกว่าสีของอุจจาระ เพราะสีอุจจาระที่เปลี่ยนไปอาจเกิดจากการสัมผัสอากาศจึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือเขียวก็ได้ค่ะ ซึ่งไม่ว่าเด็กนมแม่หรือเด็กนมผงก็อาจเกิดอุจจาระเขียวได้ และหากลูกรับประทานอาหารสีแดงบางชนิด ก็ทำให้อุจจาระสีแดงได้เช่นกัน

ที่มา คัมภีร์เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-วัยรุ่นตอนปลาย แปลโดย แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เคลียร์ข้อสงสัย ลูกกินนมแม่ ไม่ถ่ายได้กี่วัน

ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน

theAsianparent Community

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • รอบรู้เรื่อง การขับถ่ายของทารก ขับถ่ายแบบไหนผิดปกติ
แชร์ :
  • การขับถ่ายของทารกในครรภ์ พ่อแม่รู้หรือไม่? ทารกอึ-ฉี่ อย่างไรในท้องแม่

    การขับถ่ายของทารกในครรภ์ พ่อแม่รู้หรือไม่? ทารกอึ-ฉี่ อย่างไรในท้องแม่

  • ปล่อยลูกถ่ายเอง ได้ตอนกี่เดือน? รู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมฝึกขับถ่ายแล้ว

    ปล่อยลูกถ่ายเอง ได้ตอนกี่เดือน? รู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมฝึกขับถ่ายแล้ว

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • การขับถ่ายของทารกในครรภ์ พ่อแม่รู้หรือไม่? ทารกอึ-ฉี่ อย่างไรในท้องแม่

    การขับถ่ายของทารกในครรภ์ พ่อแม่รู้หรือไม่? ทารกอึ-ฉี่ อย่างไรในท้องแม่

  • ปล่อยลูกถ่ายเอง ได้ตอนกี่เดือน? รู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมฝึกขับถ่ายแล้ว

    ปล่อยลูกถ่ายเอง ได้ตอนกี่เดือน? รู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมฝึกขับถ่ายแล้ว

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ