ปัจจัยการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ ไปจนถึงเด็กเล็ก มีหลายสาเหตุ ทั้งอุบัติเหตุไม่คาดฝัน เรื่องใกล้ตัว หรือแม้แต่ปัจจัยที่เกิดมาจากพ่อแม่เอง และนี่คือ13 อย่าง ที่ พ่อแม่ต้องเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้ ลูกตายก่อนวัย
เรื่องที่ พ่อแม่ต้องเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้ ลูกตายก่อนวัย อันควร
เด็ก ๆ เสียชีวิตจากอะไรบ้าง
- ภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด
- การคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกคลอดต่ำ
- อาการตายเฉียบพลันในทารก
- อุบัติเหตุการจมน้ำ
- อุบัติเหตุจราจร
เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ในเด็กทารกและเด็กวันเตาะแตะ บางอย่างต้องมีการวางแผนล่วงหน้า บางอย่างมีการป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ มาดูกันค่ะว่า ถ้าไม่อยากให้ลูกตายก่อนวัยอันควร ควรจะต้องรู้อะไร ทำอะไรบ้าง
1.ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
เพราะสุขภาพก่อนแต่งและก่อนท้องก็สำคัญเช่นกันนะคะ หากคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคบางโรค เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคดาวน์ซินโดรม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะนอกจากจะทำให้การตั้งครรภ์มีความเสี่ยงและมีโรคแทรกซ้อนมากมายแล้ว ยังทำให้สุขภาพของทั้งตัวแม่เอง และสุขภาพลูกที่อยู่ในครรภ์อ่อนแอ และเสี่ยงเสียชีวิตได้ค่ะ
บทความ : หมอเตือนโรคต้องห้ามอย่าเพิ่งท้อง
2.แม่ท้องต้องดูแลครรภ์
สำหรับว่าที่คุณแม่นั้น นอกจากการกินอาหารให้ครบห้าหมู่ ได้รับสารอาหารที่จำเป็น เช่น โฟลิค และยาบำรุงเลือดแล้ว หากไม่ดูแลตัวเอง ยังมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้หรือรับประทานวิตามินเอ เหล้ายังกิน บุหรี่ยังสูบ ไม่นับลูกดิ้น ไม่ยอมดูแลครรภ์ให้ดี ก็อาจจะทำให้สูญเสียลูกตั้งแต่อยู่ในท้องค่ะ
บทความ : ลูกตายในท้อง! แม่ท้องต้องระวัง สัญญาณร้ายส่อแววลูกตายในท้อง
3.คุณพ่อก็ต้องดูแลตัวเองด้วย
สุขภาพแม่ก่อนที่จะท้องนั้น สำคัญไม่แพ้ไปกว่าการดูแลตัวเองของคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ค่ะ สำหรับว่าที่คุณพ่อก็เช่นกันนะคะ หากอยากให้ลูกแข็งแรงไม่มีโรคภัย ไม่ป่วยง่าย และไม่เสี่ยงเสียชีวิต ก็จำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองเช่นกันค่ะ
บทความ : 7 เคล็ดลับสำหรับผู้ชายที่อยากมีลูก
4.ป้องกันครรภ์เป็นพิษ
หมายถึงคุณแม่ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะที่ตั้งครรภ์ การป้องกันทำได้โดย
- ลดการกินเค็มหรือไม่กินอาหารที่มีโซเดียมสูง
- ดื่มน้ำมากขึ้นในแต่ละวัน อาจจะใช้วิธีจิบบ่อย ๆ แทนการดื่มรวดเดียว
- งดแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
- กินโปรตีนมากขึ้นในแต่ละมื้อ
- ลดการกินไขมัน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายเบา ๆ
ทั้งนี้ครรภ์เป็นพิษสามารถดูแลรักษาได้ หากประพฤติตัวตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดค่ะ
บทความ : ครรภ์เป็นพิษ อาการร้ายใกล้ตัวคนท้อง ไม่อยากเป็นต้องทำอย่างไร
5.ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
การคลอดก่อนกำหนดนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่ทำได้ง่าย ๆ นั้น อย่างเช่น
- ไม่หักโหมทำงานหนักจนเกินไป
- ไม่เครียดและออกแรงมากเกินไป
- งดการมีเซ็กซ์และกระตุ้นตามอวัยวะที่ไวต่อการสัมผัสเนื่องจากส่งผลต่อการบีบรัดของมดลูก
- ไม่ควรมีลูกติดกันจนเกินไป ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 18 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
- ไม่ลดน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากมีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดสูงในไตรมาสที่สอง
- หากลูกในครรภ์ตัวเล็ก อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ ดังนั้นจึงควรดูแลโภชนาการให้ครบถ้วนและออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมอ
บทความ : 8 ข้อต้องทำ ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด ถ้าไม่อยากให้ลูกต้องออกก่อนกำหนด!!
6.ป้องกันจากการตายเฉียบพลัน
การตายเฉียบพลัน หรือ SIDs นั้น เป็นภาวะการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของหลาย ๆ ประเทศ มีคำแนะนำถึงวิธีป้องกันไว้ดังนี้ค่ะ
- ไม่ควรให้ลูกนอนตะแคงหรือนอนคว่ำ ท่านอนที่ปลอดภัยที่สุดคือนอนหงาย
- จัดเตียงให้ปลอดภัยที่สุด นั่นคือไม่ควรมีอะไรอยู่บนเตียง และผ้าคลุมเตียงควรปูให้ตึงที่สุด
- การนอนห้องเดียวกับลูกช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกตัวได้ไว และลดการเสียชีวิตเพราะ SIDs ได้
บทความ : วิธีป้องกันลูกน้อย จากการตายเฉียบพลัน
7.ป้องกันจากการป้อนอาหารก่อนวัย
ไม่ว่าจะเป็นกล้วยหรือน้ำ ที่คนเฒ่าคนแก่นิยมป้อนให้หลาน ๆ นั้น ล้วนทำบนพื้นฐานของความรักความเป็นห่วงลูกหลาน แต่ถ้าผลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ลูกเราต้องเสียชีวิตหรือร่างกายไม่แข็งแรงเป็นปกติอีกละ จะรับมือยังไงดีน้า
บทความ : รับมือ “ปู่ย่าตายาย” เรื่องป้อนอาหารลูกยังไง ให้ได้ผล
8.ป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน
อุบัติเหตุกับเด็กเล็ก ๆ สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ในบ้านที่คุณพ่อคุณแม่อาจวางใจว่าปลอดภัยนะคะ สิ่งที่ต้องทำคือป้องกันตามจุดเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ปลั๊กไฟต้องซื้อที่ปิดมาปิดให้หมด หน้าต่างประตูต้องมีที่ล็อคไม่ให้เด็ก ๆ เปิดเองได้ เหลี่ยมมุมของโต๊ะตู้ต้องหุ้มที่กันกระแทก ชักโครกห้องน้ำเด็ก ๆ ต้องเปิดเองไม่ได้ บ้านไหนที่มีบันไดต้องมีที่กั้นบันได หากมีสระว่ายน้ำต้องมีที่กั้น หรือที่คลุมสระกันตก เครื่องไม้เครื่องมือที่แหลมคมต้องอยู่พ้นมือเด็ก ๆ ลิ้นชักก็ไม่ควรให้เด็ก ๆ เปิดเองได้ค่ะ
นอกจากนี้เศษต่าง ๆ หรือของที่หักได้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็ไม่ควรมีอยู่ในที่ ๆ เด็ก ๆ จะเอื้อมถึงค่ะ เพราะนอกจากเข้าไปในรูจมูกได้แล้วปิดกั้นทางเดินหายใจได้แล้ว เด็ก ๆ ยังสามารถกินเข้าไปและทำอันตรายต่ออวัยวะภายในอีกด้วยค่ะ
บทความ : 15 ไอเดียประหยัดจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับลูกเตาะแตะ
9. ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน
ที่นั่งเด็กในรถยนต์ คาร์ซีท หรือ Child seat อาจไม่จำเป็นมากนักเมื่อ 30-40 ปีก่อน ตอนที่อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุยังไม่สูงขนาดนี้ หากคุณพ่อคุณแม่มีรถยนต์ ควรให้ลูกนั่งที่นั่งสำหรับเด็กได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยนะคะ เพราะแน่นอนว่าอุบัติเหตุไม่เลือกเกิดเฉพาะตอนที่ลูกโตแล้วค่ะ ทั้งนี้ก็ยังมีเรื่องของการลืมเด็กไว้บนรถด้วยเช่นกันนะคะ ที่เป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุที่น่าสลดในเป็นที่สุดค่ะ
นอกจากนั้นอุบัติการขับรถทับเด็กก็เป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุที่เห็นได้บ่อยในหน้าหนังสือพิมพ์นะคะ ทั้งที่เกิดในรั้วประตูบ้าน และเกิดตามท้องถนนค่ะ ทั้งที่เป็นอุบัติเหตุที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะป้องกันได้ค่ะ ทั้งการปิดประตูบ้าน ไม่ให้เด็กเล็ก ๆ คลานหรือเดินออกไปยังที่จอดรถ และการดูจุดบอดทั้งหมดก่อนที่จะถอยรถ
บทความ : คาร์ซีท ใช้ตอนกี่เดือน ทารกแรกเกิดนั่ง Car Seat ได้ไหม
10.ป้องกันจากโรคภัยไข้เจ็บ
วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะป้องกันลูกน้อยจากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นมากมายในทุกวันนี้ คือการฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบตามกำหนดค่ะ และพิจารณาการฉีดวัคซีนเสริม ถ้าลูกน้อยเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วยเช่นกัน สำหรับโรคอื่น ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก ฯลฯ หากเป็นแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปหาคุณหมอให้เร็วที่สุด และไม่ควรซื้อยากินเองนะคะ
บทความ : อัปเดตล่าสุด ตารางการให้วัคซีนเด็กไทยประจำปี 2560 เช็คเลย!
11.ป้องกันจากการจมน้ำ
ประเทศไทยกับแหล่งน้ำ คือของที่อยู่คู่กันมายาวนานนะคะ สำหรับสาเหตุที่เด็ก ๆ จมน้ำนั้นหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าต้องเป็นในสระน้ำหรือแม่น้ำเสมอไป แต่สำหรับเด็กเล็ก ๆ ที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ แค่น้ำนองแค่เซนหรือสองเซนติเมตรก็สามารถทำให้เจ้าตัวเล็กอันตรายได้แล้วละค่ะ สิ่งสำคัญคือแหล่งน้ำภายในบ้าน เช่น โอ่ง ไห กะละมัง ขัน หรือแม้แต่ชักโครกที่ควรจะปิดอยู่เสมอ และเด็ก ๆ ไม่สามารถเปิดเองได้
บทความ : รู้ก่อนดีกว่า อย่าปล่อยให้เด็กจมน้ำ เรื่องสะเทือนใจของชีวิต
12.ป้องกันจากการแกล้งที่รุนแรง
แม้คุณพ่อคุณแม่จะป้องกันไม่ได้โดยตรง เพราะแน่นอนว่าเหตุที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นโรงเรียนหรือเนิสเซอรี่ แต่การป้องกันทางอ้อมอย่างการผูกมิตรกับเด็ก ๆ ที่เป็นเพื่อนของลูก พ่อแม่ของเด็ก ๆ และคุณครูเอาไว้ ก็จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการโดนเพื่อน ๆ แกล้งรุนแรงได้ค่ะ
นอกจากนี้ ควรสอนให้ลูกรู้จักป้องกันตัวเองเบื่องต้น รวมทั้งวิธีแก้ปัญหาอย่างการรีบไปบอกผู้ใหญ่ หรือทักษะการเอาตัวรอดให้พ้นจากที่ตรงนั้นให้เร็วที่สุด
บทความ : ใครมีลูกวัยเรียนต้องอ่าน “สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้ง” งานนี้ต้องรอด!
13.ป้องกันจากคนแปลกหน้าและคนคุ้นเคย
ภัยอันตรายมีอยู่รอบตัวนะคะ แม้คุณพ่อคุณแม่จะแน่ใจว่าลูกอยู่ในหูในตาตลอด คิดว่าปลอดภัยแล้ว แต่มันก็ยังไม่ได้ปลอดภัยที่สุดอยู่ดี การสร้างเงื่อนไขระมัดระวังภัยจากคนแปลกหน้า และเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่คนแปลกหน้าแล้วค่ะ คนที่คุ้นหน้าคุ้นตาดี ก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่ดีน่ะแหละ ดังนั้นถ้าจะให้ชัวร์คุณพ่อคุณแม่จึงต้องมีเงื่อนไขกับลูก เช่นการโทรเช็ค หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถรู้ได้ว่าลูกอยู่ที่ไหน เช่น GPS หรืออื่น ๆ ค่ะ
บทความ : สอนลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจากคนแปลกหน้า บทเรียนจากน้องการ์ตูน
ที่มา CDC helpourbabies who.int และ สสส.
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ความสำคัญในการนอนของเด็ก ประโยชน์ และเทคนิคดูแลลูกเพื่อป้องกันอันตราย
มาดูความน่ารักของพ่อครัวตัวน้อย ที่มีผู้ติดตามถึง 2.4 ล้านบน Instagram