X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว

บทความ 5 นาที
อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว

ปัจจุบันนี้โรคแพ้นมวัวมีการพูดถึงกันมากมาย ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อย ๆ โดยมาพบคุณหมอด้วยอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า อาการผิดปกติต่าง ๆ ของลูกนั้นเกิดจากแพ้นมวัวได้หรือไม่ เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันดีกว่าค่ะ

อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร ? นมวัว อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายมากมาย แต่ก็มีเด็ก และผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยที่มี อาการแพ้นมวัว บางคนก็เกิดอาการแพ้รุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับอาการแพ้นมวัว หรือโรคแพ้นมวัวกันค่ะ

อาการแพ้นมวัว

โรคแพ้นมวัว คืออะไร?

โรคแพ้นมวัว หรือ แพ้โปรตีนนมวัว เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งในกลุ่มแพ้อาหาร พบได้บ่อยที่สุดในเด็กเล็ก เกิดจากปฏิกริยาของร่างกายต่อโปรตีนของนมวัว โดยผ่านกลไกทางภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้เกิดอาการผิดปกติได้ในหลายระบบของร่างกาย ทั้งระบบผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยอาจมีอาการเพียงระบบใดระบบหนึ่ง หรือมีหลายระบบร่วมกัน และอาจแสดงอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยก็ได้ ทั้งนี้ระยะเวลาในการเกิดอาการอาจเกิดรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหลังทานนมวัวหรือเกิดช้าในเวลาเป็นเดือนก็ได้เช่นกันค่ะ

 

Advertisement

อาการแพ้นมวัว มีอะไรบ้าง? อาการเด็กแพ้นมวัว เป็นอย่างไร

อาการของเด็กแพ้นมวัว สามารถแสดงออกมาได้หลายระบบของร่างกายค่ะ อาการที่พบบ่อยคือ

  • อาการทางผิวหนัง ได้แก่ผื่นลมพิษ เปลือกตาบวม ผื่นคันเป็น ๆ หาย ๆ
  • อาการระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ถ่ายเหลว อาเจียน ปวดท้อง อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ทำให้มีปัญหาในการย่อย และการดูดซึมอาหาร เด็กจึงมีการเจริญเติบโตต่ำกว่าปกติ
  • อาการทางเดินหายใจ ได้แก่ หายใจครืดคราด หอบเหนื่อย โรคหืด จมูกอักเสบเรื้อรัง ไอเป็นเลือด

ซึ่งอาการในระบบต่าง ๆ สามารถเกิดพร้อมกันได้ทุกระบบ นอกจากนี้อาจมีอาการแพ้รุนแรงแสดงออกในระบบหัวใจ และหลอดเลือดคือ ความดันต่ำ ช็อค หมดสติได้

 

ทารกแพ้นมวัว ทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยแพ้นมวัว?

หากลูกมีอาการแบบที่หมอเล่าให้ฟังในข้างต้น ก็ควรจะปรึกษาคุณหมอเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องค่ะ เพราะอาการแพ้นมวัวบางอย่างคล้ายกับโรคที่พบบ่อยในเด็กทั่วไป เช่น ผื่นคัน ท้องเสีย อาเจียน เป็นหวัดบ่อย ๆ จึงเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยาก

เมื่อมาพบคุณหมอก็จะได้รับการสอบถามประวัติเพื่อทบทวนว่า อาการที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการทานนมวัวหรือไม่ ประวัติการเกิดอาการซ้ำ ๆ เมื่อสัมผัสกับนมวัว เป็นต้น

อาการแพ้นมวัว

จากนั้นจะทำการการตรวจร่างกาย ตามระบบต่าง ๆ ที่แสดงอาการ และอาการภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคหืด หลังจากนั้นคุณหมอจะพิจารณาตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อที่จะยืนยันการวินิจฉัย โดยการทดสอบทางผิวหนัง หรือ การเจาะเลือด ซึ่งหากไม่มีผลการตรวจที่ช่วยยืนยันได้ว่าลูกแพ้นมวัวอย่างชัดเจน แต่จากประวัติและการตรวจร่างกายอาจเป็นได้ (ซึ่งพบได้ไม่น้อยนะคะ) คุณหมออาจจะพิจารณาให้ลูกลองหยุดนมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว เพื่อดูว่าอาการต่าง ๆ ดีขึ้นหรือไม่ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วค่อยลองรับประทานในปริมาณทีละน้อยและสังเกตอาการแพ้

แต่ทั้งนี้ควรอยู่ในการดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิดนะคะ ไม่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่งดอาหารของลูกด้วยตนเองที่บ้านโดยไม่ไปพบคุณหมอมาก่อน เพราะอาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของสมองของลูก และไม่แนะนำให้ลองทานเองเพื่อทดสอบว่าลูกแพ้นมวัวจริงหรือไม่ ยกเว้นคุณหมออนุญาตให้เริ่มลองได้ เพราะอาจเกิดอันตรายจากปฏิกริยาการแพ้อย่างรุนแรงได้

ลูกแพ้นมวัว รักษาอย่างไร จะหายขาดไหม

หากลูกแพ้นมวัว มี อาการแพ้นมวัว จะมีการดูแลรักษาอย่างไรบ้าง?

คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกหลีกเลี่ยงนมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว เช่นขนมเค้ก ไอศครีมต่าง ๆ ค่ะ หากคุณแม่สามารถให้ลูกได้ทานนมแม่ก็ควรให้ทานต่อไป โดยที่คุณแม่งดนมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัวด้วยนะคะ หากคุณแม่มีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ก็ควรให้ลูกทานนมสำหรับเด็กที่แพ้นมวัว เช่น นมถั่วเหลือง นมสูตรโปรตีนย่อยอย่างละเอียดที่ย่อยโปรตีนนมวัวจนมีขนาดเล็กมาก นมสูตรกรดอะมิโน หรือ นมที่ผลิตจากโปรตีนชนิดอื่น เช่น นมไก่ เป็นต้น ทั้งนี้ควรติดตามการรักษากับคุณหมออย่างใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวังอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นและให้อาหารทดแทนอย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกไม่ขาดอาหารค่ะ

อาการแพ้นมวัว

ลูกมีโอกาสหายจากโรคแพ้นมวัว ได้หรือไม่?

มีการศึกษาว่าเด็กแพ้นมวัวมีโอกาสหายได้นะคะ โดยกลับไปดื่มนมวัวได้ปกติที่อายุ 1 ขวบ ประมาณ 40-50%, ที่อายุ 2 ขวบประมาณ 70%, และที่อายุ 3 ขวบประมาณ 80% แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนมีอาการจนโตค่ะ

 

นมสำหรับเด็กแพ้นมวัว ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนนมวัวได้

ผลิตภัณฑ์นมจากพืชได้เข้ามาเป็นผลิตภัณฑ์นมทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค ปัจจุบันในประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์นมจากพืชหลากหลายชนิดที่พบได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ อาทิ นมจากถั่วเหลือง (soy milk) นมจากอัลมอนต์ (almond milk) นมจากข้าวโพด (corn milk) และนมจากข้าว (rice milk) ซึ่งคุณสมบัติของนมจากพืชแต่ละชนิดพบว่ามีความแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช คุณภาพของวัตถุดิบ และกระบวนการผลิต

นมจากถั่วเหลือง นับว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่มีปริมาณสูง มีสารอาหารใกล้เคียงกับนมวัว นับเป็นนมจากพืชที่ดีที่สุดสำหรับใช้ทดแทนนมวัว และราคาย่อมเยา ผลิตภัณฑ์นมจากพืชส่วนใหญ่จึงมีนมถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบหลัก แต่รสชาติของถั่ว (beany flavor) อาจไม่ถูกปากในผู้บริโภคบางกลุ่ม บางผลิตภัณฑ์จึงมีการใช้นมถั่วเหลืองผสมกับนมจากพืชชนิดอื่น ๆ และแต่งกลิ่นรสเพิ่มเติม เพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น และยังคงมีปริมาณโปรตีนสูง

นมจากอัลมอนด์ นับว่าเป็นนมทางเลือกของกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการจำกัดปริมาณแคลอรี่ เนื่องจาก ให้พลังงานต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับนมวัว หรือนมถั่วเหลืองในปริมาณที่เท่ากัน อุดมไปด้วยไขมันที่ดี และวิตามินอี แต่มีโปรตีนน้อย

นมจากข้าวโพดและนมจากข้าวมีปริมาณโปรตีนไม่มากนักเมื่อเทียบกับนมวัว ส่วนใหญ่มักอุดมไปด้วยแป้ง และน้ำตาล จัดเป็นเครื่องดื่มให้พลังงาน และเหมาะกับผู้บริโภคที่มีประวัติการแพ้ถั่วหรืออัลมอนด์ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีคุณค่าทางสารอาหารมากขึ้นทางผู้ผลิตบางรายจึงมีกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบที่ช่วยเพิ่มปริมาณสารอาหารในนมจากข้าวโพดหรือข้าวให้มากขึ้น หรือมีการเติมแร่ธาตุและวิตามินเสริม ทั้งนี้ สารอาหารที่เติมเพิ่มเข้าไปในนมอาจมีการตกตะกอน ดังนั้น ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์นมเหล่านี้จึงควรเขย่าขวดหรือกล่องบรรจุภัณฑ์ทุกครั้งก่อนบริโภค เพื่อให้สารอาหารต่าง ๆ กระจายตัวได้ดี

นอกจากชนิดของพืชที่ส่งผลต่อคุณสมบัติของนมแต่ละชนิด คุณภาพของวัตถุดิบ และกรรมวิธีการผลิต นับเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสารอาหารในผลิตภัณฑ์นมจากพืช บางผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบในระยะที่มีสารอาหารสูง เช่น การใช้ข้าวในระยะงอก หรือการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปวัตถุดิบให้คงปริมาณสารอาหารไว้ให้ได้มาก โดยสิ่งที่สามารถสะท้อนถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์นมจากพืชที่เราสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองเบื้องต้น คือ การอ่านสลากข้อมูลทางโภชนาการ (nutrition information) และส่วนประกอบ (ingredients) เพื่อตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เพราะ นอกจากความชอบส่วนบุคคลแล้ว ควรคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสุขภาพ สารอาหารที่ต้องการในแต่ละช่วงวัย และงบประมาณตามกำลังทรัพย์ ทั้งนี้ มีข้อแนะนำว่า ควรบริโภคนมจากพืชในปริมาณแต่พอดี (เนื่องจากมักมีปริมาณน้ำตาลสูง) ควบคู่กับการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

 

ที่มา : pharmacy.mahidol

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เปรียบเทียบสารอาหารในนม นมแพะ นมวัว นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมแบบไหนเหมาะกับเบบี๋?

ภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติ ดื่มนมแล้วท้องอืด ลูกกินนมวัวแล้วท้องอืด แพ้นมวัว หรือภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติ

7 ข้อ ที่แม่ควรรู้เกี่ยวกับ นมวัว

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว
แชร์ :
  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว