Jade Beall ช่างภาพผู้ถ่ายภาพ “ริ้วรอย” ท้องลายหลังตั้งครรภ์ ที่อยู่บนหน้าท้องคุณแม่หลังตั้งครรภ์เซทนี้ อยากเปิดเผยสิ่งที่หลายคนอาจไม่ค่อยได้เห็น ที่เธอได้กล่าวไว้ว่า สรีระของคนเป็นแม่ในช่วงเวลาหลังคลอดพร้อมริ้วรอยที่ติดตัวมานั้น เป็นสิ่งที่งดงามอย่างแท้จริง
ภาพถ่ายของ Beall ได้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงทุกคนนั้นล้วนสวยในแบบที่แตกต่างกัน สำหรับผู้หญิงที่เป็นแม่ก็เช่นกัน ถึงแม้จะมีท้องลายหลังคลอด มีริ้วรอยเหี่ยวย่น แต่ก็ยังคงความงามในแบบของตัวเอง และเพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ผู้หญิงทุกคนในโลกที่มองแต่ความงามในรูปแบบเดียวเกินไป จนทำให้ขาดความมั่นใจ ได้หันมามองและเกิดความภูมิใจในความงามแบบที่เป็นตัวเอง เธอจึงได้ถ่ายภาพชุดนี้ขึ้นมา…
ภาพถ่ายอันงดงามในเรือนร่างและริ้วรอยของคุณแม่หลังคลอด
แด่ผู้หญิงทุกคนที่มีโอกาสได้เป็น “แม่” ท้องลายหลังตั้งครรภ์
วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด เดือนแรก
วิธีดูแลตัวเองหลังคลอดเดือนแรก สำหรับคุณแม่ที่ทั้งผ่าคลอดและคลอดธรรมชาติ เคล็ดลับการดูแลหลังคลอดที่คุณแม่ต้องรู้ หากคุณแม่อยากให้มดลูกเข้าอู่เร็ว และฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น จะมีวิธีการอย่างไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
การคลอดลูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายภายในร่างกาย ซึ่งต้องใช้เวลาเพื่อให้ร่างกายเข้าที่ โดยปกติแล้วน้ำคาวปลาคุณแม่จะมีสีแดงในช่วง 3-4 วันแรก จากนั้นอีกก็จะกลายมาเป็นสีชมพู และหลังจากนั้นอีกประมาณ 10 วันจะกลายเป็นสีเหลืองอ่อน บางคนอาจมีอาการเลือดออกจนถึงสัปดาห์ที่ 12 เลยก็มี ซึ่งวิธีที่จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้นคือการให้ลูกดูดนมจากเต้านั่นเองค่ะ เพราะว่าเวลาที่ลูกดูดนมจะเป็นการกระตุ้นให้มดลูกเกิดการหดตัว ช่วยลดอาการบวมน้ำ และช่วยให้หลอดเลือดปิดตัวลง
สิ่งที่ต้องห้ามทำหลังคลอด
หากคุณแม่อยากฟื้นตัวเร็ว ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
1.กิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ
การยก การขนของที่หนัก โดยเฉพาะที่มีน้ำหนักมากกว่าลูกน้อย แม้แต่การเดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ อย่างรวดเร็ว และการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากๆ ทุกชนิดควรงดไปก่อน เพราะอาจทำให้แผลฉีกขาดได้ง่ายทั้งแผลที่เกิดจากการคลอดธรรมชาติ และแผลผ่าคลอด หากอยากออกกำลังกายต้องรอจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากแพทย์
2.อย่าใช้แรงเบ่งถ่ายอุจจาระแรง
เนื่องจากกล้ามเนื้อที่คุณแม่ใช้เบ่งอุจจาระกับเบ่งคลอดเป็นกล้ามเนื้อเดียวกัน สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติอาจจะต้องระวังเป็นพิเศษ ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอดก็อาจทำให้เกิดการเจ็บแผลผ่าตัดได้ ทางที่ดีควรทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากๆ ทานผักและผลไม้เยอะๆ รวมถึงพยายามดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหลังคลอดค่ะ
3.ไม่ควรสวมเสื้อคับเกินไป
ทั้งชุดชั้นใน เสื้อผ้า กางเกงรัดรูป สิ่งเหล่านี้หากคุณแม่ใส่แบบที่รัดแน่นมากๆ อาจทำให้คุณแม่อึดอัดได้ โดยเฉพาะถ้าเจอกับอากาศร้อนๆ อาจทำให้เกิดเหงื่อออกได้ง่ายอากาศไม่ระบายเกิดการอับชื้นซึ่งง่ายต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะบริเวณแผล ดังนั้น คุณแม่ต้องใส่เสื้อผ้าที่มีตัวใหญ่หน่อยเพื่อให้อากาศระบายได้ดี ไม่ร้อนค่ะ
4.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
หลังคลอดควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพื่อรอให้แผลหายดีเสียก่อน อีกทั้งระหว่างมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บแผลและอาจเสี่ยงต่อการอักเสบได้
5.หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ
การแช่น้ำหลังคลอดทั้งจากสระว่ายน้ำหรืออ่างน้ำ หรือแม้แต่การเล่นน้ำทะเล น้ำคลองควรงดไปก่อน เพราะในช่วงที่คุณแม่ยังมีเลือดออกมาอยู่ ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อได้ ทางที่ดีควรรอให้เลือดหยุดไหล หรือมดลูกเข้าอู่ก่อนจึงจะปลอดภัยยิ่งขึ้นค่ะ
วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ
วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ การคลอดเป็นวิถีธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของแม่ตั้งครรภ์เมื่อครบกำหนด 9 เดือน กลไกของร่างกายจะขับทารกออกจากโพรงมดลูก ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนสำหรับการคลอดไปกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัวอย่างสม่ำสมอและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อผลักศีรษะของทารกให้ลงไปในอุ้งเชิงกรานให้มากขึ้น ขณะเดียวกันถุงน้ำคร่ำและศีรษะของทารกในครรภ์ดันออกมาทำให้ปากมดลูกขยายตัวกว้างขึ้น มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งบอกให้รู้ว่า เริ่มเข้าสู่ระยะเจ็บครรภ์คลอดแล้ว
หลัก ๆ แบ่งออกเป็น 3 ระยะของการคลอดธรรมชาติ
ระยะที่ 1 ระยะเปิดขยายของปากมดลูก
ระยะที่ 2 ระยะที่มีลมเบ่งและคลอดทารก
ระยะที่ 3 ระยะคลอดทารกแล้วไปจนกระทั่งคลอดรก
หลังจากที่คุณแม่คลอดทารกปลอดภัยทั้งแม่และลูกแล้ว ต่อไปเข้าสู่ขั้นตอนการดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูร่างกายของแม่ท้องที่คลอดธรรมชาติ มีวิธีการดูแลตนเองหลังคลอดอย่างถูกต้องและปลอดภัย ดังนี้
วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติอย่างถูกต้องและปลอดภัย
1.การเคลื่อนไหวร่างกายหลังคลอดธรรมชาติ
แม่ท้องคลอดธรรมชาิตหลังคลอดแล้วแน่นอนว่าคุณแม่ยังรู้สึกเจ็บฝีเย็บและมีอาการปวดท้องซึ่งเป็นเรื่องปกติ จนคุณแม่ไม่กล้าขยับเขยื่อนไปไหนเพราะลกัวเจ็บ ในทางกลับกันคุณหมอจะแนะนำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่า เช่น ลูกไปเข้าห้องนำ้เอง ไปล้างหน้า แปรงฟัน ฝึกดูแลลูก ข้อดีของการเคลื่อนไหวตนเองหลังคลอด คือ เมื่อขยับร่างกาย กล้ามเนื้อและบริเวณแผลฝีเย็บจะสมานเร็วขึ้น ที่สำคัญการเคลื่อนไหวร่างกายไม่มีผลต่อการกระทบกระเทือนมดลูกแต่อย่างใด การออกกำลังกายเบา ๆ ตามที่คุณหมอแนะนำ เช่น การเดิน หรือแม้แต่การเดินขึ้นลงบันไดสามารถทำได้ สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ การยกของหนัก แบบนี้ไม่ควรทำเพราะจะกระทบกระเทือนมดลูกมากเกินไปค่ะ
2.การดูแลฝีเย็บ
คุณแม่หลังคลอดธรรมชาติทางช่องคลอด คุณแม่จะมีอาการปวดแผลฝีเย็บซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าปวดมาก ๆ ให้ทานยาแก้ปวดเพื่อระงับอาการปวดแผลได้ฝีเย็บได้ ควรใช้ยาจำพวกไทลินนอล (Tylenol) หรือกลุ่มพาราเซตามอล (Paracetamol) ทุก 4- 6ชั่วโมง อาการปวดจะทุเลาลง
ส่วนการอบแผลด้วยความร้อนและการอาบน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการบวมแดงของแผลลงได้และบรรเทาอาการเจ็บแผล สำหรับยาแก้อักเสบคุณหมอจะเป็นผู้จัดให้คุณแม่ไม่ควรหาซื้อมารับประทานเอง ส่วนใหญ่แล้วหลังคลอดคุณแม่มักจะกังวลแผลฝีเย็บ ดังนั้น มาดูกันค่ะว่า การดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้แผลหายเร็วและช่วยลดความเจ็บปวด
- การล้างแผลฝีเย็บควรล้างด้วยน้ำอุ่นต้มสุก ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างแผลแจ่อย่างใด เมื่อล้างแผลเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าสะอาดหรือสำลีซับให้แก้งก็เพียงพอแล้ว หากแผลถูกน้ำตอนอาบน้ำไม่มีปัญหา ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างจุดซ่อนเร้นแต่อย่างใด ที่สำคัญห้ามใช้ฝักบัวหรือหัวฉีดล้างชำระฉีดแผล เพราะแรงดันของน้ำอาจทำให้แผลกออกจากกันได้ และอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่แผลอีกด้วย หลังจากนั้นประมาณ 5 – 6 วัน แผลจะแนบสนิทกันดีไม่ต้องทำอะไรให้เป็นพิเศาจะแห้งได้เองตามธรรมชาติหากดูแลอย่างถูกต้อง
- หลังปัสสาวะคุณแม่ควรใช้น้ำสะอาดหรือน้ำอุ่นชำระล้างบริเวณแผลก็เพียงพอ ซึ่งจะช่วยลดอาการแสบคันและป้องกันการอักเสบได้ กรณีที่อุจจาระ คุณแม่ควรใช้กระดาษชำระเช็ดไปทางด้านหลัง ไม่ควรเช็ดออกด้านหน้า เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้ามาปนเปื้อนบริเวณแผลจนอักเสบได้
- ในช่วงหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาไหลซึมออกมาทางช่องคลอด คุณแม่ควรใส่ผ้าอนามัยเอาไว้ตลอดและเปลี่ยนแผลอนามัยบ่อย ๆ เพราะหากแผลอับชื้นจะำให้เกิดการอักเสบ
- สถานพยาบาลบางแห่งนิยมอบแผลด้วยไฟฟ้า ซึ่งความจริงแล้วไม่มีความจำเป็นและไม่มีผลต่อแผลเท่าใดนัก แต่ถ้าแผลบวมมาก การอบไฟฟ้าหรือนั่งแช่น้ำอุ่นเช้าและเย็นครั้งละ 15 นาที เพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณปากช่องคลอดมากขึ้นอาจจะช่วยให้หายเร็วได้ค่ะ
3.การอยู่ไฟ
เรื่อง การอยู่ไฟหลังคลอดคนไทยมักจะอยู่ไฟหลังคลอดกระทำสืบต่อกันมาในช่วงหลังคลอด เรียกว่า ระยะอยู่ไฟ เพระาเชื่อกันว่า การอยู่ไฟจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยบรรเทาอาการปวดและบำบัดโรคหลังคลอดได้ ซึ่งมีทั้งการอยู่ไฟแบบโบราณและการอยู่ไฟแบบสมัยใหม่ แต่ไฟควรอยู่ไฟแบบอ่อน ๆ และไม่นำลูกน้อยเข้าไปอยู่ไฟด้วยนะคะ ร่างกายในช่วงอยู่ไฟจะเสียเหงื่อมาก อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ดังนั้น คุณแม่ควรดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าเดิม
Credit content :boredpanda.com , sanook.com
วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ คำแนะนำการดูแลตนเองอย่างปลอดภัย
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
15 ภาพถ่ายก่อนหลังคลอดลูกสุดเก๋ เอาใจแม่ยุคใหม่
“แผลผ่าคลอด” ร่องรอยนี้เพื่อ “ลูกรัก”
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!