X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เปิดคลิปนาทีชีวิต "ทารกแรกเกิด" ที่คุณหมอสามารถยื้อไว้ได้

27 Dec, 2016
เปิดคลิปนาทีชีวิต "ทารกแรกเกิด" ที่คุณหมอสามารถยื้อไว้ได้

คลิปนี้ ถือเป็นคลิปนาทีชีวิตที่จะชี้เป็นชี้ตายกับทารกแรกเกิดรายนี้ แต่เพราะจรรยาบรณของหมอ ทำให้หนูน้อยมีชีวิตรอด!

เปิดคลิปนาทีชีวิต “ทารกแรกเกิด” ที่คุณหมอสามารถยื้อไว้ได้

ด้วยจรรยาบรรณของแพทย์ ทำให้ทีมแพทย์ผ่าตัดชุดนี้ สามารถช่วยชีวิตทารกแรกเกิดคนหนึ่งได้ทันท่วงที ซึ่งคลิปดังกล่าวนี้ ได้มีผู้เข้าชมแล้วเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรนั้น เปิดคลิปนาทีชีวิต “ทารกแรกเกิด”ที่คุณหมอสามารถยื้อไว้ได้

เปิดคลิปนาทีชีวิต

ในคลิปจะสังเกตได้ว่า ทารกแรกเกิดรายนี้ ได้รับการช่วยเหลือจากเหล่าทีมแพทย์ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ตัดสายสะดือ

เปิดคลิปนาทีชีวิต

เปิดคลิปนาทีชีวิต”ทารกแรกเกิด”ที่คุณหมอสามารถยื้อไว้ได้

คุณหมอพยายามช่วยทุกวิถีทางที่จะรั้งชีวิตของทารกแรกเกิดรายนี้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการผายปอด ซึ่งจากคลิปจะเห็นได้ถึงความพยายามและความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือไว้ให้ได้ เรียกได้ว่า เป็นนาทีชีวิตของความเป็นและความตายจริง ๆ และถ้าหากไม่ได้รับการช่วยเหลือได้ทันท่วงที ก็ไม่กล้าแม้แต่จะคิดว่าเหตุการณ์หลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร ว่าแล้วก็ไปชมคลิปดังกล่าวพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

Advertisement

ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดอันตราย เสี่ยงทั้งแม่และลูก

เปิดคลิปนาทีชีวิต

นาทีชีวิต ทารกแรกเกิด

ตั้งครรภ์เกินกำหนดคืออะไร

รองศาสตราจารย์ พญ.ประนอม บุพศิริ  สูตินรีแพทย์ กล่าวถึง  ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดไว้ว่า  ตามปกติแล้วอายุครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดและทารกมีความสมบูรณ์เต็มที่ คือ อายุครรภ์ช่วงระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์ และอีกไม่เกิน 6 วัน เมื่อคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาปกติ สำหรับแม่ท้องที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ หรือ 294 วัน ถือว่าเป็น “การตั้งครรภ์เกินกำหนด (Post term pregnancy)” ซึ่งถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง  ความเสี่ยงแบ่งออกเป็น

เสี่ยงต่อแม่

1. เสี่ยงที่จะผ่าคลอดเพราะทารกในครรภ์มีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น หัวโตขึ้นทำให้คลอดยาก ทำให้คุณแม่ต้องเสี่ยงผ่าตัดคลอด  ต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยในการคลอด  หรือต้องใช้คีมช่วยในการคลอด

2. ทารกตัวใหญ่ขึ้นส่งผลให้ช่องคลอดฉีกขาดในขณะคลอด

3. มีโอกาสที่จะตกเลือดหลังคลอดมากกว่าครรภ์ปกติ เนื่องจากมดลูกหดตัวไม่ดีเกิดจากมีบาดแผลบริเวณช่องคลอด

 

เสี่ยงต่อทารกในครรภ์

1. ทารกเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในครรภ์ ยิ่งถ้าหากเกินกำหนดมากขึ้นเท่าใด โอกาสจะเสียชีวิตของทารกจะมีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

2. ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการสำลักน้ำคร่ำและอาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหลังคลอดได้สูง

3. ทารกเสี่ยงต่อการบาดเจ็บขณะคลอด เช่น บาดเจ็บที่เส้นประสาทแขนเนื่องจากทารกตัวใหญ่ทำให้ไหล่ติดมดลูกขณะที่คลอด

4. รกเสื่อม เพราะอายุครรภ์เกินกำหนด ส่งผลให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนเรื้อรัง(Chronic hypoxia) ทำให้ทารกเจริญเติบโตไม่เต็มที่ น้ำคร่ำจะน้อยลง เมื่อมดลูกยิ่งหดตัว รกจะยิ่งขาดออกซิเจนเพิ่มขึ้น ทำให้ทารกอยู่ในภาวะเครียด (Fetal distress) หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้

สาเหตุของครรภ์เกินกำหนด

ทางการแพทย์ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนว่าครรภ์เกินกำหนดคลอดเกิดจากสาเหตุใด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบว่า ทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ต่อมใต้สมองผิดปกติ, ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน Placental sulfatase deficiency ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อยลง คุณแม่จึงไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การที่แม่ท้องจำวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้หรือจำวันผิด ทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป

แม่ท้องทุกคนควรเตรียมพร้อมในการฝากครรภ์ที่สำคัญ คือ ควรจำวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายให้ได้ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะคุณหมอจะได้คำนวณวันที่ครบกำหนดคลอดได้ไม่คลาดเคลื่อนมากนัก  แต่ถ้าจำไม่ได้จริง ๆ คุณหมอจะแนะนำให้เองค่ะ ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ควรดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจให้ดีที่สุด เพื่อลูกน้อยคลอดออกมาจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

สาเหตุการตั้งครรภ์เกินกำหนด

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการตั้งครรภ์เกินกำหนดที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบในทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ ต่อมใต้สมองผิดปกติ ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อยลง คุณแม่จึงไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดรวมถึงปากมดลูกไม่พร้อมที่จะนำไปสู่กระบวนการคลอด โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีผลทำให้เกิดการตั้งครรภ์เกินกำหนด ได้แก่

  • คุณแม่จำประวัติประจำเดือนได้ไม่แม่นยำ จึงทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด
  • คุณแม่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน หรือคนในครอบครัวของฝ่ายหญิงเคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนด
  • คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก (Nulliparity) ซึ่งจะพบได้มากกว่าครรภ์หลัง
  • คุณแม่ที่ดัชนีมวลกาย (BMI) ก่อนการตั้งครรภ์ ≥ 25
  • ทารกในครรภ์มีความพิการ มีภาวะที่ไม่มีสมองและกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ทารกที่มีภาวะต่อมหมวกไตฝ่อ ทารกที่ไม่มีต่อมใต้สมอง
  • การขาดฮอร์โมน Placental sulfates deficiency
  • การตั้งครรภ์ในช่องท้อง
  • ปัจจัยจากทางพันธุกรรม
  • ไม่ทราบสาเหตุ

แพทย์สามารถวินิจฉัยการตั้งครรภ์เกินกำหนดได้โดยดูจากประวัติประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ประกอบกับข้อมูลอย่างอื่น เช่น ความสม่ำเสมอของประจำเดือน ประวัติการคุมกำเนิด การตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์ที่ให้ผลบวกในช่วงแรกที่เริ่มขาดประจำเดือน ประวัติการฝากครรภ์ในระยะแรก การตรวจภายในเพื่อประเมินขนาดของมดลูกในไตรมาสแรก การตรวจอัลตราซาวนด์ ประวัติทารกดิ้นครั้งแรก เพื่อให้ทราบถึงอายุครรภ์ที่แน่นอน ในกรณีที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แพทย์มักจะทำการตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก เพราะการตรวจในระยะที่อายุครรภ์ยังน้อย ๆ จะบอกอายุครรภ์ได้แม่นยำมากกว่าการตรวจตอนที่อายุครรภ์มากแล้ว เมื่อแพทย์กำหนดวันคลอดแล้วจากการตรวจอัลตราซาวนด์ก็จะไม่มีการเปลี่ยนวันกำหนดคลอดตามขนาดของทารกอีก แต่ถ้าตรวจพบว่าทารกตัวเล็กก็ต้องหาสาเหตุกันต่อไปว่าเกิดจากอะไร หรือเกิดจากการนับอายุครรภ์ผิดหรือไม่

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

https://www.facebook.com/socialtrendonline/videos/1207916982617541/

ที่มา: Social Trends PH

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
รวมโมเมนต์แห่งความสุขจากงาน Central x theAsianparent Baby Fair 2025
รวมโมเมนต์แห่งความสุขจากงาน Central x theAsianparent Baby Fair 2025
ช้อปสุดฟิน!  ครั้งแรกของปี รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว Central x theAsianparent Baby Fair งานแฟร์สินค้าแม่ลูกสุดยิ่งใหญ่ ลดสูงสุด 70%
ช้อปสุดฟิน! ครั้งแรกของปี รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว Central x theAsianparent Baby Fair งานแฟร์สินค้าแม่ลูกสุดยิ่งใหญ่ ลดสูงสุด 70%
Dragonfly H.E.A.L. Summit 2024 ปลดล็อคพลังแห่งผู้นำ สู่การเป็นผู้นำที่ดีในทุกมิติ
Dragonfly H.E.A.L. Summit 2024 ปลดล็อคพลังแห่งผู้นำ สู่การเป็นผู้นำที่ดีในทุกมิติ

4 อาการบาดเจ็บของทารกแรกเกิดจากการคลอด

มหัศจรรย์การกอด ช่วยชีวิตทารกคลอดก่อนกำหนด

“ใหม่ สุคนธวา” อินจัด คลิป ศรรามเลี้ยงลูกสาว เห็นแล้วคิดถึงพ่อ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • เปิดคลิปนาทีชีวิต "ทารกแรกเกิด" ที่คุณหมอสามารถยื้อไว้ได้
แชร์ :
  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

  • TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้  ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก!  ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

    TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้ ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก! ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

  • ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

    ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

  • TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้  ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก!  ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

    TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้ ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก! ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

  • ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

    ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว