เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตราย แค่ไหน? หมอให้กินน้ำตาลก่อนตรวจเบาหวาน แม่ท้องควรน้ำหนักขึ้นกี่กิโลกรัม

เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายกว่าที่คิด กินอะไรยั้งใจไว้หน่อยนะแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ท้องหิวซก หน้ามืดกินทุกอย่างที่ขวางหน้าจนลืมไปว่า เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตราย แล้วอย่างนี้ แม่ควรจะควบคุมอาหารยังไง น้ำหนักตัวแม่ตั้งครรภ์ ควรเพิ่มขึ้นแค่ไหน ตลอด 9 เดือน พร้อมคำตอบจากดราม่า! หมอให้กินน้ำตาลก่อนตรวจเบาหวาน ทำไมต้องกินน้ำตาลก่อนตรวจเบาหวาน

เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตราย

ทำไมต้องกินน้ำตาลก่อนตรวจเบาหวาน

แม่อย่าเพิ่งโวย! มาดูก่อนว่า ทำไมหมอให้กินน้ำตาลก่อนตรวจเบาหวาน

เพจใกล้มิตรชิดหมอ โดยหมอเมษ์ ได้อธิบายไว้ในโพสต์วินิจฉัยเบาหวานตอนท้องต้องกินน้ำตาลก่อนตรวจนะจ๊ะ ว่า การตรวจหาเบาหวานในคนท้อง ต้องกินน้ำตาลก่อนเสมอ เหตุผลเพราะอะไร เพราะกลไกการเกิดภาวะเบาหวานในคนท้อง ไม่เหมือนกับคนทั่วไป

ในคนท้อง จะมีการเปลี่ยนแปลงการควบคุมน้ำตาล ทำให้น้ำตาลในขณะอดอาหาร และน้ำตาลก่อนกินอาหารต่ำ (fasting glucose) แต่ปัญหาของการควบคุมน้ำตาลในคนท้องคือ ไม่สามารถจัดการน้ำตาลหลังกินอาหารให้อยู่ในระดับปกติได้ เหตุผลเนื่องมาจากฮอร์โมนต่าง ๆ ของรกจะทำให้ร่างกายคนท้อง ดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งอินซูลินทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดลง

เวลาเรากินอาหารเข้าไป ปกติร่างกายจะหลั่งอินซูลินออกมา เพื่อเก็บน้ำตาลเข้าเซลล์ ทำให้น้ำตาลในเลือดลดระดับ และไม่สูง แต่ในคนท้อง ร่างกายจะดื้อต่ออินซูลิน แปลว่า ร่างกายสร้างอินซูลินได้ตามปกติ แต่อินซูลินที่สร้างไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เต็มที่ เพราะร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน

การจะหาภาวะเบาหวานตอนท้อง จึงต้องกินน้ำตาลเข้าไป เพื่อดูว่าร่างกายสามารถจัดการกับน้ำตาลนั้นได้หรือเปล่า

การตรวจมี 2 แบบ คือ

  1. ตรวจ 2 ขั้นตอน (2 step approach) คือ ตรวจคัดกรองก่อน แล้วถ้าผลผิดปกติ ก็มาตรวจวินิจฉัย
  2. ตรวจขั้นตอนเดียว (1 step approach) ก็คือ ตรวจวินิจฉัยไปเลย

การตรวจคัดกรอง จะใช้วิธี กลืนน้ำตาล 50 กรัม เรียกว่า 50 grams glucose challenge test หรือ 50 gm GCT โดยไม่ต้องงดน้ำงดอาหารมา กลืนน้ำตาล 50 กรัม แล้วนั่งนิ่งๆ รอ 1 ชั่วโมง ไม่เดินไปเดินมา ไม่กินอะไรเลย ไม่สูบบุหรี่ แล้วเจาะน้ำตาลที่ 1 ชั่วโมง หลังจากกินน้ำตาล ถ้าผลมากกว่า 130-140 mg/dL ก็ผิดปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนการตรวจวินิจฉัย คุณแม่ต้องงดน้ำงดอาหารมาก่อน เพราะเราจะดูค่าน้ำตาลหลังอดอาหารด้วย เมื่อมาถึง รพ. จะให้เจาะเลือด 1 เข็มก่อน แล้วจึงกลืนน้ำตาล มี 2 แบบ คือ

  • น้ำตาล 100 grams oral glucose tolerance test หรือ 100 gm OGTT แบบนี้จะให้กลืนน้ำตาล 100 กรัม แล้วเจาะเลือดที่ 1, 2, 3 ชั่วโมงหลังกลืนน้ำตาล ตามลำดับ (รวมเจาะเลือด 4 เข็ม) ถ้าผิดปกติ 2 ใน 4 ค่า คือผิดปกติ วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานตอนท้องได้เลย
  • น้ำตาล 75 grams oral glucose tolerance test หรือ 75 gm OGTT แบบนี้จะให้กลืนน้ำตาล 75 กรัม แล้วเจาะเลือดที่ 1 และ 2 ชั่วโมงหลังกลืนน้ำตาล (รวมเจาะ 3 เข็ม) ถ้าผิดปกติ 1 ค่า ก็ถือว่าเป็นเบาหวานตอนท้อง

ทำไมต้องตรวจเบาหวานตอนท้อง และต้องควบคุม เพราะภาวะเบาหวานตอนท้อง ทำให้เกิดผลเสียทั้งต่อมารดาและทารกมากมาย ตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อย ไปจนถึงอาจจะส่งผลถึงชีวิตได้ แต่หากรู้ไว คุมน้ำตาลได้ดี ความเสี่ยงเหล่านี้ก็จะเท่ากับคนปกติที่ไม่เป็นเบาหวาน การตรวจพบและควบคุมน้ำตาล จึงมีประโยชน์มาก จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องตรวจหาว่าใครเป็นเบาหวานตอนท้องและให้การดูแลที่เหมาะสมให้เร็วที่สุดนั่นเองค่ะ

ภาวะนี้จะเป็นไปแค่ชั่วคราว ในคนที่เป็นเบาหวานตอนท้อง แต่ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานสูงมาก ๆ ก็อาจจะเป็นเบาหวานไปเลยจริง ๆ ได้เหมือนกัน ดังนั้น หากตรวจพบว่าเป็นเบาหวานตอนท้อง ก็มีความจำเป็นมาก ที่จะต้องมาตรวจเบาหวาน ด้วยการกินน้ำตาลอีกครั้งหลังคลอด และหากไม่เป็น ก็ต้องตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะต้องตรวจน้ำตาลทุกปีไปเรื่อยๆ เพราะในกลุ่มคนที่เป็นเบาหวานตอนท้อง จะมีโอกาสมากกว่าร้อยละ 50 ที่จะเป็นเบาหวานจริง ๆ ภายใน 20 ปี ดังนั้น ต้องดูแลตัวเองกันดี ๆ นะคะ

ที่มา : https://www.facebook.com/Drnextdoor

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตราย แค่ไหน แม่ท้องควรน้ำหนักขึ้นกี่กิโลกรัม วิธีคำนวณน้ำหนัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำนวณน้ำหนักแม่ท้องตลอดการตั้งครรภ์

ถ้าแม่ท้องตั้งครรภ์ลูกคนเดียว ไม่ใช่ลูกแฝด ต้องคำนวณจากน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) วิธีการก็คือ ให้นำน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ BMI= น้ำหนักตัว (kg) / ส่วนสูง m2 เช่น น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 60 กิโลกรัม สูง 165 เซนติเมตร 60 / (1.65 x 1.65) หรือ 2.7225 ได้ค่า BMI 22.03

1.ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.34-15.87 กก.

2.ค่า BMI เท่ากับ 18.5 หรือต่ำกว่า (น้ำหนักตัวก่อน ตั้งครรภ์ ต่ำกว่าเกณฑ์) ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.07-18.14 กก.

3.ค่า BMI ระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 6.8-11.34 กก.

4.ค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคอ้วน ควรน้ำหนักขึ้น 4.99-9.07 กก.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าน้ำหนักตัวพุ่งสูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มากเกินพอดี นอกจากจะต้องเสียเวลารีดน้ำหนักหลังเจ้าตัวน้อยคลอดออกมาแล้ว ในขณะที่ท้องยังมีความเสี่ยงอีกเยอะแยะมากมาย ซึ่งจะเป็นอันตรายได้ทั้งแม่และลูกในท้อง เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายอย่างไร

ถ้าแม่ท้องเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ และอาจเกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ

ผลเสียอื่นๆ ที่แม่ท้องต้องระวังคือ ทารกอาจมีน้ำหนักตัวมากจนคลอดแบบธรรมชาติไม่ได้ ส่วนความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์อื่นๆ แม่ท้องมีโอกาสแท้ง เพิ่มความเสี่ยงทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือแม้แต่การคลอดออกมา แล้วทารกมีความพิการแต่กำเนิด

เบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร

จากความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ที่เกิดจากฮอร์โมนที่รกผลิตออกมา มีผลต่อประสิทธิภาพของอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ซึ่งปกติแล้วตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมา แต่ในกรณีนี้ตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ก็เช่น ญาติพี่น้องมีประวัติเป็นเบาหวาน แม่ท้องมีอายุ 30 ปี รูปร่างอ้วน หรือมีภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนคุณแม่ที่เคยมีลูกแล้ว ก็ให้สังเกตว่า เคยมีภาวะเบาหวานแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์, เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 4 กิโลกรัมขึ้นไป, เคยคลอดบุตรที่มีความพิการแต่กำเนิดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเคยมีประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์

แม่ท้องป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้อย่างไร

เพราะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรจะป้องกันไม่ใช่แก้ไข แม่ท้องจึงต้องใส่ใจเลือกทานอาหารที่มีคุณภาพ เปี่ยมไปด้วยประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสม

1.ทานอาหารมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อ

ในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องไตรมาสแรก มักแพ้ท้องหนักจนไม่สามารถทานอาหารได้อย่างเคย แต่พอผ่านพ้นเข้าช่วงไตรมาสสอง โอ้โห ทุกอย่างมันช่างเอร็ดอร่อย อยากกินไปเสียหมด จึงขอแนะนำให้แม่ท้องเลือกทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ ทานบ่อยๆ เว้นสัก 3-4 ชั่วโมง ทานมื้อหนึ่ง ที่สำคัญ ห้ามละเลยอาหารเช้า ควรรีบทานมื้อเช้าหลังจากตื่นนอนไม่เกิน 1 ชั่วโมง

2.ผัก ผลไม้ ต้องไม่ขาด

เลือกบริโภคผักให้หลากหลาย แต่ใช้กรรมวิธีการปรุงด้วยการต้ม นึ่ง หรือผัด ใช้น้ำมันน้อยๆ เลือกใช้น้ำมันพืชทำอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก และน้ำมันดอกทานตะวัน

ส่วนผลไม้นั้น ต้องเลือกที่น้ำตาลน้อยๆ เลือกทานผลไม้สดๆ ดีกว่า เลือกดื่มน้ำผลไม้ อาทิ แอปเปิ้ล กล้วย ส้ม ฝรั่ง มะละกอ และมะพร้าว เป็นต้น สำหรับทุเรียนนั้น นอกจากอร่อยแล้ว ยังมีโฟเลตสูงดีต่อแม่ท้อง แต่!!! อย่าเพลิดเพลินจนเกินไป เพราะทุเรียนน้ำตาลสูง นี่แหละตัวดี เสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

3.คาร์โบไฮเดรต ต้องเลือก

คาร์โบไฮเดรตที่ควรเลือกก็เช่น ข้าวก้อง ขนมปังธัญพืช เพราะแป้งขัดสีทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักเนื่องจากใช้อินซูลินย่อยน้ำตาลลำบาก ส่วนอาหารไขมันสูงนั้น ต้องหลีกเลี่ยง!

4.ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ

การออกกำลังกายอย่างพอดี เป็นวิธีรับมือกับระดับน้ำตาลกลูโคสที่เพิ่มในกระแสเลือด ช่วยให้ร่างกายใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่ๆ ลองปรึกษาคุณหมอ เพื่อออกกำลังกายให้เหมาะสมกับร่างกายของตัวเองดูนะคะ

สำคัญที่สุดคือการพบแพทย์ทุกครั้งตามนัด แพทย์จะประเมินความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และจะให้คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ เพื่อจะได้มีร่างกายที่แข็งแรง ลูกคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์ ปลอดภัย เติบโตอย่างสุขภาพดี

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เสี่ยงแท้งหรือไม่!! แม่ท้องเป็นงูสวัด

ยาอันตรายห้ามใช้กับคนท้อง แม่ท้องต้องรู้ 11 ยาอันตรายอาจทำให้ลูกในครรภ์พิการได้

เริ่มนับลูกดิ้นตอนกี่เดือน แม่ท้องจำเป็นต้องนับลูกดิ้น ถ้าไม่อยากให้ลูกตายในท้อง จริงหรือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya