เนื้อแนบเนื้อ Kangaroo care
ทำไมทารกคลอดก่อนกำหนดต้อง เนื้อแนบเนื้อ Kangaroo care ทำแคงการูแคร์ดีต่อลูกคลอดก่อนกำหนดอย่างไร ทำไมต้องทำควบคู่กับการให้นมแม่
น้องมียาทำแคงการูแคร์กับพ่อเติ้ล ตะวัน
พ่อเติ้ล ตะวัน อุ้มน้องมียาเข้าอ้อมอก โดยได้โพสต์ในอินสตาแกรมว่า วันนี้ทำแคงการูแคร์ กับพ่อครั้งแรก คุณหมอเอาสายน้ำเกลือออกหมดแล้ว หนูกินนมได้ 22 CC หมดเกลี้ยง ระบบขับถ่ายดีเยี่ยม นน. ลดลงนิดหน่อย เหลือ 860 กรัม คุณหมอบอก เลี้ยงให้โตอย่างเดียว สู้สู้นะลูก มียาคนเก่งของพ่อ #ลิงน้อยของพ่อ #มียาค่ะ #จิ๋วแต่แจ๋ว
www.instagram.com/p/BcMYh1ig2Mo/?taken-by=tletawan
Kangaroo care คืออะไร
สำหรับการทำ Kangaroo care คืออะไรนั้น เพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้อธิบายถึงการทำเนื้อแนบเนื้อ Kangaroo care ไว้ว่า
From kangaroo mother care to safe baby wearing
การสัมผัสทารกผ่านการโอบกอดและการอุ้ม เป็นสิ่งที่ทารกทุกคนต้องการเพราะแสดงออกถึงความรักและความห่วงใย โดยเฉพาะทารกที่มีภาวะการเจ็บป่วยหรือทารกคลอดก่อนกำหนดที่ต้องแยกจากมารดา ควรได้รับการโอบกอดและการอุ้มมากขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในมดลูกที่เหมาะสมนานเพียงพอและมีภูมิคุ้มกันน้อย
วิธีการโอบกอดแบบเนื้อแนบเนื้อและการอุ้มมีผลดีมากกว่าการให้ทารกนอนอยู่ในตู้อบเพียงอย่างเดียว สิ่งที่มารดา บิดาและสมาชิกในครอบครัวทำจะส่งผลให้ภาวะการเจ็บป่วยและอาการต่าง ๆ ของทารกดีขึ้นตามลำดับและสามารถทำได้ตลอดเวลาจนกระทั้งกลับบ้าน อีกทั้งยังมีการพัฒนาการใช้ผ้าให้สามารถโอบกอดและอุ้มทารกทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าการโอบกอดและการอุ้มเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติเป็นกิจประจำวันและสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้
ในปีคศ.1978 Dr. Edgar Rey ได้มีแนวคิดทำ Kangaroo Mother Care ในทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย เพื่อให้ความอบอุ่นกับร่างกายและวิธีการนี้ยังประสบความสำเร็จในการลดอัตราการตายของทารกคลอดก่อนกำหนดและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในโรงพยาบาล
ปีคศ.1979 Dr. Edgar Rey and Dr. Hector Martinez ได้มีการนำเสนอวิธีการทำ Kangaroo Mother Care ครั้งแรกที่ Bogota ประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้พัฒนามาเพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลทารกคลอดก่อนที่มีน้ำหนักตัวน้อยแทนการใช้ incubator ที่มีราคาต้นทุนสูง โดยปกติตู้อบจะแยกทารกออกจากมารดาในระหว่างที่รับการดูแล แต่ในทางตรงกันข้ามหากทารกได้มีการทำ Kangaroo Mother Care ในระหว่างที่รับการดูแล การทำ Kangaroo Mother Care จะช่วยตอบสนองความต้องการของทารกในเรื่องความอบอุ่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การป้องกันจากการติดเชื้อ ความปลอดภัยและความรัก
การทำ Kangaroo Mother Care ขึ้นอยู่กับความพร้อมของมารดาและทารกในแต่ละราย มารดาทุกคนสามารถทำ Kangaroo Mother Care ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึง อายุ การศึกษา วัฒนธรรมและศาสนา เริ่มจากการอธิบายวิธีการทำ Kangaroo Mother Care กับมารดาและครอบครัวอย่างละเอียด อธิบายถึงข้อดีและเหตุผลของการทำ เพื่อให้มารดาและครอบครัวได้มีการตัดสินใจและเต็มใจในการทำอย่างมีข้อมูลและไม่มีข้อผูกมัด มีเวลาให้กับมารดาเตรียมพร้อมมาอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อที่จะได้มีเวลาเต็มที่ในการทำ Kangaroo Mother Care ส่วนของทารกเริ่มต้นได้ทันทีที่ทารกอาการคงที่แล้ว อาจทำได้ทันทีที่เกิดหรือภายในไม่กี่ชั่วโมงวันหลังคลอด ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำครั้งละไม่น้อยกว่า 60 นาทีและเพิ่มระยะเวลาขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยสามารถทำได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง (หยุดทำเฉพาะช่วงเวลาสำหรับการเปลี่ยนผ้าอ้อม) และจะทำจนกว่าทารกอายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์หรือ 2,500 กรัม การทำ Kangaroo Mother Care เริ่มขึ้นในโรงพยาบาลและสามารถดำเนินการต่อที่บ้านได้
ประโยชน์ของการทำ Kangaroo Mother Care
- ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทารกให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ช่วยทำให้อัตราการหายใจของทารกคงที่
- ช่วยควบคุมอุณหภูมิกายของทารกให้เหมาะสม
- ช่วยในการเพิ่มน้ำหนักตัวและการเจริญเติบโตของสมองทารก
- ลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล
- ช่วยให้ทารกหลับนานขึ้น
- ช่วยลดความเจ็บปวดและความเครียดของทารก
- ส่งเสริมให้ทารกสามารถดูดนมแม่จากเต้าได้เร็วขึ้นและเพิ่มความผูกพันระหว่างมารดากับทารก
(พว.หทัยทิพย์ โสมดำ, From Kankaroo Mother Care to Safe Baby Wearing, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ #นมแม่ แห่งชาติ ครั้งที่ 6)
ทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนใหญ่สามารถนำดูดนมแม่จากเต้าได้ เพราะมีการพัฒนาความสำคัญของการดูด การกลืนกับการหายใจที่ดี ทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 30 สัปดาห์มักมีปัญหาการหายใจและการเจ็บป่วยดูดนมแม่ไม่ได้ จำเป็นต้องใช้สารอาหารทางหลอดเลือดดำร่วมกับการให้นมแม่ด้วยวิธีพิเศษ การหยุดนมแม่ด้วยเครื่องบีบน้ำนม ทางหลอดให้อาหาร ให้นมไหลจากปากสู่กระเพาะ การใช้หลอดหยดบรรจุน้ำนมแม่ที่ริมฝีปากถึงปลายลิ้น ช่วยกระตุ้นการใช้ลิ้นรับน้ำนมและการกลืน การใช้นิ้วชี้ที่ติดตลอดให้อาหารบรรจุน้ำนม ช่วยกระตุ้นการ ใช้ริมฝีปาก ลิ้นและการทำงานของเพดานในการดูดและกลืนให้สัมพันธ์กับการหายใจ เมื่อทารกดูดและกลืนได้ดีขึ้น เริ่มให้ทารกฝึกนมทีละน้อยโดยการป้อนด้วยแก้วหรือถ้วย
(แพทย์หญิงกรรณิการ์ บางสายน้อย, พว.วไล เชตะวัน, ลูกเกิดก่อนกำหนด, เรียนรู้นมแม่จากภาพ)
ขอบคุณภาพจาก IG @tletawan คุณตะวัน จารุจินดา และขอให้น้องมียาสุขภาพแข็งแรงเร็วๆนะคะ
แอดมินจอย #thaibreastfeedingcenter #breastfeeding
www.facebook.com/Thaibf/photos/a.491491607625082.1073741857.210210932419819/1525095920931307/?type=3&theater
ที่มา : https://www.facebook.com/Thaibf
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
แม่ให้นมลูก จับลูกเข้าเต้า หนีไม่พ้น! ล้วง ควัก งับ ดึง ฝีมือเจ้าเบบี๋
เสียงร้องของทารก ร้องแบบนี้ต้องการให้แม่ทำอะไร ร้องแบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ
รอยยิ้มทารกคลอดก่อนกำหนด แสดงให้โลกรู้ว่า เด็กคลอดก่อนกำหนดก็อยากมีชีวิตอยู่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!