เงินเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตร ได้เมื่อไหร่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
เงินเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันมั๊ย ได้เมื่อไหร่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องนะคะ เราพบว่ายัง คุณพ่อ คุณแม่ หลายคนที่เข้าใจผิดอย่างมากเรื่อง เงินเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์บุตร
-
เงินสงเคราะห์บุตรเป็นสิทธิจากประกันสังคมที่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้ประกันตนทุกมาตราของสำนักประกันสังคม
-
สำหรับเงินเด็กแรกเกิด ณ ตอนนี้ คือ เงินเด็กแรกเกิดจากรัฐบาล
สำหรับประกันสังคม คุณแม่ ที่เป็นมนุษย์ เงินเดือน หรือ ผู้ประกันตนถ้ากำลังจะ คลอดลูก สามารถใช้สิทธิ์ ประกันสังคม คนท้องได้ เมื่อ คุณแม่ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 5 เดือน และ อยู่ภายใน 15 เดือน ก่อนคลอดลูก ถึงจะได้ สิทธิ์เงินสงเคราะห์ของสำนักประกันสังคม ถ้าเกิดว่าบ้านไหน มีทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตน สามารถใช้สิทธิ์ต่างๆ ก่อนขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ ดังนี้
เงินสงเคราะห์บุตร
สิทธิ์ของผู้ประกันตนฝ่ายแม่
- เบิกเงินกรณีคลอดบุตรจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท ต่อครั้ง
- จะได้เงินสงเคราะห์ หรือเงินชดเชยรายได้ที่หยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน
- แต่สิทธิ์บุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรแล้ว
- แต่ถ้ามีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ แล้วต่อมาแท้งบุตร ผู้ประกันตนนมีสิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เพราะครรภ์ 28 สัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ถือว่าเป็นกรณีคลอดบุตร
สิทธิ์ของผู้ประกันตนฝ่ายพ่อ
- เบิกค่าคลอดบุตรให้ภรรยาได้ แต่ต้องมีการส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนแบบเดียวกับผู้ประกันตนฝ่ายแม่
- ผู้ประกันตนฝ่ายพ่อจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท
- ถ้าสามีและภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้
ในส่วนของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้
ลูกงอแงตอนกลางคืน วิธีแก้ลูกร้องกวนกลางคืน ลูกร้องกลางคืน ลูกร้องไม่หยุด โอ๋ยังไงดี
เงินเด็กแรกเกิดจากรัฐรัฐบาล
เลี้ยงดูเด็กแรกเกิดเป็นโครงการที่ช่วยเหลือบุคคลที่ยากจน เพื่อให้เด็กได้มีชีวิตที่มีคุณภาพ เพราะสาเหตุจากความยากจนของครอบครัว คำว่าครัวเรือนเสี่ยงต่อการยากจนหมายความว่า ต้องเป็นครอบครัวหรือครัวเรือนที่มีสมาชิกในครัวเรือนที่มี รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาทต่อคน และต่อเดือนหรือต่ำกว่า 36,000 บาทต่อคนต่อปี โดยนำรายได้ของสมาชิกในบ้านทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว ซึ่งก็รวมถึงเด็กแรกเกิดด้วย โดยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์รับเงินเด็กแรกเกิดจากโครงการอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด มีดังนี้
- หญิงตั้งครรภ์จะได้รับเงินเด็กแรกเกิดก็ต่อเมื่อ ลูกต้องมีกำหนดคลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
- หากการคลอดบุตรไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 ให้ถือว่าสิทธิ์ที่ลงทะเบียนไว้ถูกระงับไปโดยปริยาย
- เด็กต้องเกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 และมีสัญชาติไทย พ่อและแม่ก็ต้องมีสัญชาติไทย
- ไม่ได้เป็นผู้ได้รับสวัสดิการของรัฐ หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น เงินสงเคราห์บุตรจากประกันสังคม เงินสวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น
เนื่องจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แจ้งว่า งบเดิมไม่เพียงพอต่อโครงการเงินเด็กแรกเกิด โดยสิทธิ์เงินเด็กแรกเกิด คือ ได้รับเงินรายละ 600 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 36 เดือน หรือจนถึงอายุ 3 ขวบ ดังนั้น จึงหมายความว่า โครงการอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินสงเคราะห์บุตรจากสำนักประกันสังคมแต่อย่างใด
ที่มา : rabbitcare
บทความเกี่ยวข้อง
กองทุนประกันสังคม เพิ่มเงิน สงเคราะห์เพื่อการคลอดบุตรเป็น 30,000 บาท
เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจาก 400 เป็น 600 บาท ประกันสังคมมอบของขวัญปีใหม่แม่ท้อง
ชัวร์ก่อนแชร์ เบี้ยประกันสังคมแบบใหม่เงินเดือน 2 หมื่นขึ้น เก็บ 1 พันบาท อยู่ในขั้นตอนพิจารณา
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!