แม่ถือบัตรทองเตรียมเฮ !
นายแพทย์ ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า แม่ถือบัตรทองเตรียมเฮ สปสช. ประกาศรักษาหญิงตั้งครรภ์ต่อเนื่อง! คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้กำหนดสิทธิประโยชน์เพื่อครอบคลุมดูแลประชากรทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์เพื่อให้ทารกที่เกิดมาเป็นประชากรสมบูรณ์และมีคุณภาพ โดยได้พัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง กำหนดสิทธิการรับบริการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 9-10 เดือน เพื่อให้สามารถฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำให้แพทย์และเจ้าหน้าที่มีเวลาเพียงพอในการดูแลสุขภาพหญิงครรภ์และทารกในครรภ์ คลอดทารกอย่างปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง
แม่ถือบัตรทองเตรียมเฮ สปสช. ประกาศรักษาหญิงตั้งครรภ์ต่อเนื่อง!
นายแพทย์ชูชัย ยังกล่าวต่ออีกว่า เมื่อเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่ครั้งแรก ภายใต้สิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพจะมีการติดตามสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ต่อเนื่องไปจนถึงภายหลังคลอด โดยการฝากครรภ์ครั้งแรก ควรมาฝากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) จะได้รับบริการตรวจร่างกายและการตรวจครรภ์ ทั้งการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน ตรวจภายใน วัดความสูงยอดมดลูก โดยทั่วไปร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์สามารถให้การดูแลตามปกติ
พร้อมกันนี้ยังจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาทิ การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย โปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจเลือด ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง การคัดกรองโรค เช่น โรคซิฟิลิส เอดส์ ไวรัสตับอักเสบบี และโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียทั้งหญิงตั้งครรภ์และสามี นอกจากนี้ยังตรวจคัดกรองทางด้านสุขภาพจิตเพื่อประเมินภาวะซึมเศร้า และคัดกรองการสูบบุหรี่/การดื่มสุรา/การใช้ยาและสารเสพติด รวมถึงการให้วัคซีนคอตีบและบาดทะยักเข็มที่ 1 อีกด้วย หากผลตรวจพบว่าผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์จะได้รับการดูแลรักษาหรือป้องกัน
โดยฝากครรรภ์ครั้งที่ 1 จำนวน 1,200 บาทต่อคน เน้นการตรวจคัดกรอง เช่น ธาลัสซีเมีย เอดส์ ซิฟิลิส เป็นต้น ฝากครรภ์ครั้งที่ 2-4 จำนวน 400 บาทต่อครั้งต่อคน ตลอดจนถึงการดูแลหลังคลอด” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่หญิงตั้งครรภ์จะได้รับการดูแลทุกครั้งในการฝากครรภ์ คือการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์และคลอด การตรวจโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ ตลอดการตั้งครรภ์ถึงหลังคลอด จะได้รับยากรดโฟลิค ยาเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน และแคลเซียมอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยการเจริญเติบโตของทารก การป้องกันความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในเด็กแรกเกิด
“ในปี 2560 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2560-2564 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประชากร โดยเฉพาะกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และทารกอย่างมาก โดยระบุไว้ชัดเจนในยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความมั่นใจในคุณภาพมาตรฐานและความเพียงพอของบริการ ในปี 2560 นี้ สปสช.ยังได้จัดสรรงบประมาณจำนวนกว่า 2,600 ล้านบาท เพื่อดูแลกลุ่มเป้าหมาย 7.4 แสนคน ภายใต้งบประมาณส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แบ่งเป็นการดูแลแม่ขณะตั้งครรภ์ 5 ครั้ง
โดยฝากครรรภ์ครั้งที่ 1 จำนวน 1,200 บาทต่อคน เน้นการตรวจคัดกรอง เช่น ธาลัสซีเมีย เอดส์ ซิฟิลิส เป็นต้น ฝากครรภ์ครั้งที่ 2-4 จำนวน 400 บาทต่อครั้งต่อคน ตลอดจนถึงการดูแลหลังคลอด” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
ทั้งนี้หากคุณแม่ท่านไหนมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมละก็ สามารถติดต่อไปได้ที่สายด่วนเบอร์ 1330 ค่ะ
ได้กำหนดสิทธิประโยชน์เพื่อครอบคลุมดูแลประชากรทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์เพื่อให้ทารกที่เกิดมาเป็นประชากรสมบูรณ์และมีคุณภาพ โดยได้พัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) คือ
สุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ซึ่งการมีสุขภาพดีของบุคคลมีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงการบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมมรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างหลักประกันสุขภาพ คือ การให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นโดยไม่มีอุปสรรคทางการเงิน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงเป็นเรื่องของการสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับทุกคน ตั้งแต่แรกเกิดและตลอดช่วงชีวิตให้มีสุขภาพที่ดี เมื่อเจ็บป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพได้มาตราฐาน
พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขที่มีมาตราฐานและมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มี “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณะสุขของหน่วยบริการ ส่งเสริมให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้อย่างทั่งถึงและมีประสิทธิภาพ
“สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” จึงเป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตลอดช่วงชีวิต (ไม่ใช่สิทธิเพื่อการสงเคราะห์เฉพาะกลุ่ม) และมักเรียกว่า “สิทธิบัตรทอง หรือ สิทธิ 30 บาท”
คุณสมบัตรของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3 ข้อ คือ
- เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
- มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
- ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ (ที่ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของรัฐ) ได้แก่ สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลหน่วยงานอื่น ๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง
ที่มา: สนุกดอทคอม
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
รู้ยัง ประกันสังคมเตรียมปรับเงินสมทบเป็น 1,000 บาทแล้วนะ
แม่ท้องรู้ยัง เช็คสิทธิประกันสังคมผ่านแอพได้แล้วนะ
รายชื่อสถานพยาบาลที่ถูกยกเลิกสัญญา หลังเหตุ ทุจริตเงินบัตรทอง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!