ฮอร์โมนเพศชาย มีอะไรบ้าง และส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง?

ขอนำบทความที่เกี่ยวกับ ฮอร์โมนเพศชาย มาฝากเหล่าคุณผู้ชายทั้งหลายเพื่อให้ทราบว่าแต่ละฮอร์โมนมีประโยชน์อย่างไรบ้าง แล้วแต่ละฮอร์โมนส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับ ฮอร์โมนเพศชาย มาฝากเหล่าคุณผู้ชาย คุณพ่อ หรือคุณผู้ปกครองที่มีลูกชาย เพื่อให้ทราบว่าแต่ละฮอร์โมนมีประโยชน์อย่างไรบ้าง แล้วแต่ละฮอร์โมนส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

 

ฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนที่สำคัญมากของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายถูกสร้างขึ้นบริเวณอัณฑะของเพศชาย ทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และช่วยให้ลักษณะภายนอกของผู้ชายดูสมชายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจพบฮอร์โมนชนิดนี้ในผู้หญิงได้เช่นกัน แต่ก็มีปริมาณน้อยมาก

โดยฮอร์โมนนี้จะมีระดับสูงสุดในช่วงตอนเช้าประมาณ 5-7 โมงเช้า Testosterone มีผลกับการพัฒนาลักษณะรูปร่างของเพศชาย โดยมีลูกอัณฑะทำหน้าที่ผลิต Testosterone

 

ฮอร์โมน เพศชาย

ระดับฮอร์โมนเพศชายที่ผิดปกติส่งผลอย่างไรบ้าง ?

ระดับปกติของฮอร์โมนเพศชายอยู่ระหว่าง 350 - 1000 นาโนกรัม/เดซิลิตร จากระดับปกติดังกล่าว คือ ร้อยละ 97 - 98 จะอยู่ในรูปของฮอร์โมนที่ไม่อิสระ จำนวนของโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามอายุ SHBG จะจับกับ testosterone ทำให้มันไม่สามารถไปออกฤทธิ์ส่งต่อร่างกายได้

อย่างที่กล่าวแล้วว่าฮอร์โมนเพศชายจะช่วยในเรื่องความคงทนของกล้ามเนื้อและ รักษาสภาพหรือเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ อารมณ์ทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ ฮอร์โมนตัวนี้ยังทำให้คุณภาพของการนอนหลับดีขึ้น เพิ่มพลังงานของจิตใจและร่างกาย และยังสนับสนุนการพัฒนาทางอารมณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตอีกด้วย

ปริมาณฮอร์โมนเพศชายที่ลดลง หรือเพิ่มมากขึ้นจนเกินไปจะทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนเพศ และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ในที่สุด โดยนอกจากอายุที่เป็นปัจจัยสำคัญแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศชายแปรปรวนได้

 

โดยสาเหตุที่อาจทำให้ปริมาณฮอร์โมนเพศชายลดลงได้ มีดังนี้

  • การได้รับบาดเจ็บที่อัณฑะ
  • การรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงต่อระบบสืบพันธุ์ด้วย เช่น การทำรังสีบำบัด การทำเคมีบำบัด เป็นต้น
  • การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นต้น
  • ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไต
  • โรคเอดส์
  • โรคตับอักเสบ
  • การติดสุรา
  • ความเครียด

ฮอร์โมน เพศ ชาย

 

ระดับฮอร์โมนเพศชายที่ลดลงอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา รวมทั้งอาจส่งผลต่อสมรรถภาพร่างกายในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ร่างกายมีพลังงานน้อยลง รวมทั้งมีความแข็งแรงและความทนทานลดลง
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • มีความกระตือรือร้นน้อยลง อาจรู้สึกเศร้าหรือหดหู่ร่วมด้วย
  • มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น
  • ปวดตามกระดูกหรือข้อต่อ และอาจเกิดโรคกระดูกพรุน
  • ความต้องการทางเพศลดลง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนเพศชาย

  • การสูญเสียสถานะสังเคราะห์โฮโมน จีเอ็น อาร์ เอช
  • การผลิต ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงจากอายุ
  • การเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายออกหาเวลากลางคืนผิดปกติ
  • ได้รับสารต้านทานการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • มีการใช้แร่ธาตุสังกะสีในการบำรุงร่างกายบกพร่อง ทำให้ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับต่ำ

ผลกระทบระยะสั้นเมื่อขาดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน

  • ความแข็งแรงลดลง
  • ความอดทนลดลง
  • ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง
  • อารมณ์ทางเพศลดลง
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • พักผ่อนน้อย
  • เหนื่อยง่าย
  • ความมั่นใจในตนเองลดลง
  • ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น

ผลกระทบระยะยาวเมื่อขาดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน

  • โรคกระดูกพรุน
  • โรคอ้วน
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ

 

วิธีดูแลตัวเองให้ระดับฮอร์โมนปกติ

วิธีดูแลตัวเองให้ระดับฮอร์โมนปกติ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • รู้จักผ่อนคลายความเครียด
  • รับประทานอาหารที่มีสังกะสีและแมกนีเซียม
  • เพิ่มไขมันดีในอาหาร
  • รับประทานปลามากขึ้น
  • ลดการบริโภคน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีบีพีเอ (BPA)
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

Source : 1 , 2

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ดลับ เซ็กส์ยาวนาน วิธีการมีเพศสัมพันธ์ให้นาน อึด ถึก ทน เอาใจคนรัก

ทำความรู้จักกับ ฮอร์โมนแต่ละชนิด ตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์

ฮอร์โมนออกซิโตซิน Oxytocin ฮอร์โมนความรัก ความผูกพัน สำคัญอย่างไรกับคนท้อง แม่ให้นมลูก

บทความโดย

Khattiya Patsanan