ความดีใจของสามีภรรยา หรือคู่แต่งงาน เมื่อรู้ว่า ตนเองจะได้เป็นคุณพ่อ หรือคุณแม่แล้วนั้น ความดีใจ ความปลื้มปิติ ย่อมมาพร้อมกับความกังวลต่าง ๆ ซึ่งนอกเหนือจาก ความอยากรู้เกี่ยวกับเพศของลูก ที่กำลังจะเกิดมาแล้วนั้น ความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ติดอันดับ ที่ทำให้คุณพ่อ และคุณแม่ ถึงขั้นจิตตกกันเลยทีเดียว การทำ อัลตร้าซาวด์ จะสามารถตอบโจทย์ ให้กับคุณพ่อแม่ได้ทั้งหมด หรือไม่ ???
อัลตร้าซาวน์ ทำอะไรได้บ้าง ?
วัตถุประสงค์หลัก ของการตรวจอัลตร้าซาวด์ คือการตรวจ ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยสามารถแยกย่อย ประโยชน์ของการตรวจ ได้ตามช่วงอายุครรภ์ มาดูว่า อัลตร้าซาวด์ สามารถบอกอะไรกับ คุณพ่อคุณแม่ได้บ้าง
|
อายุครรภ์ |
วัตถุประสงค์ของการตรวจอัลตร้าซาวด์ |
6-8 สัปดาห์ |
ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ จำนวนทารก และดูการเต้นของหัวใจ ตรวจภาวะตั้งครรภ์ ว่ามีความเสี่ยง ต่อภาวะท้องนอกมดลูก หรือท้องลม หรือไม่ ตรวจว่ามีเนื้องอกมดลูก หรือถุงน้ำรังไข่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ |
10-14 สัปดาห์ |
ตรวจหาความพิการแต่กำเนิด ชนิดรุนแรงบางอย่าง วัดความหนาของผิวหนัง บริเวณต้นคอ เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มอาการ Down Syndrome |
18-12 สัปดาห์ |
ตรวจความผิดปกติ หรือความพิการของทารก อย่างละเอียด (Anomaly Scan) ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก ตรวจตำแหน่งรก และสายสะดือ รวมถึงปริมาณของน้ำคร่ำ |
28-36 สัปดาห์ |
ตรวจความผิดปกติของทารกอีกครั้ง ก่อนคลอด ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก ตรวจสุขภาพทารก การหายใจ และการเคลื่อนไหว |
การตรวจอัลตร้าซาวด์ บอกได้ว่าลูกเป็นผู้ชาย หรือผู้หญิงใช่ไหม ?
โดยปกติการตรวจอัลตร้าซาวด์ จะสามารถระบุว่า ทารกในครรภ์นั้น เป็นเพศชาย หรือหญิงกันแน่ แต่ไม่รับประกันผล 100 % นะคะ เพราะบางครั้ง ตัวของทารกนั้น นอนในตำแหน่งที่ทำให้คุณหมอ ไม่สามารถมองเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจน เช่น ถ้าขาเด็กไขว้กันก็จะทำให้ ไม่สามารถมองเห็นได้ โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ก็จะใช้วิธีการตรวจ ที่เรียกว่า “สกรีนนิ่งอัลตร้าซาวด์” ซึ่งจะทำให้เราสามารถ เห็นเพศของทารกได้ กรณีที่คุณแม่ยังไม่อยากรู้ ว่าลูกในครรภ์เป็นเพศอะไร ต้องการลุ้นในนาทีสุดท้าย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ ก่อนทำการตรวจนะคะ และความจริงแล้ว วัตถุประสงค์สำคัญ ของการตรวจอัลตร้าซาวด์นั้น ไม่ใช่เพื่อการพิสูจน์เพศของทารกนะคะ แต่เครื่องมือนี้มุ่งประเมินพัฒนาการของทารก และวินิจฉัยอาการแทรกซ้อน ระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ
อัลตร้าซาวด์ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ ได้แค่ไหน
การทำอัลตร้าซาวด์ คือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง อาจไม่สามารถวินิจฉัย ความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ทั้งหมด 100 % ควรได้รับการตรวจ และติดตามเป็นระยะ โดยเฉพาะในกรณีที่พบความผิดปกติของทารก
แม้ว่าการตรวจอัลตร้าซาวด์ จะไม่สามารถสามารถเห็นความผิดปกติ หรือความพิการทุกอย่างได้ แต่ด้วยความสามารถ และประสบการณ์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยส่วนใหญ่ จะสามารถ สังเกตุได้ถึงความผิดปกติบางอย่าง ที่นำไปสู่โรคที่เสี่ยงได้มากถึง 80 – 90 %
อย่างไรก็ตาม การทำอัลตร้าซาวด์เพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถตรวจสอบลักษณะของโรคทางพันธุกรรมของทารกได้ แม้แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านอัลตราซาวด์ ก็ไม่สามารถตรวจความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความน่าจะเป็นของโรคได้ทั้งหมด จึงต้องมีการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อทำการตรวจสอบ ความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ เป็นเพราะสภาพการใช้ชีวิตสังคม แบบสังคมเมือง ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ คู่สามี – ภรรยา เริ่มที่จะแต่งงานช้าลง เป็นสาเหตุให้ เราพบทารกกลุ่มดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เพิ่มมากขึ้น ในประเทศไทยมีทารกที่มีอาการดาวน์ซินโดรม เกิดใหม่ประมาณ 1000 รายต่อปี สาเหตุเกิดมาจาก ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ทำให้ทารกดาวน์มีความพิการ ได้แก่ หัวใจ และลำไส้อุดตัน มีลักษณะความผิดปกติ ของศีรษะ และใบหน้า มีแขนขาสั้น หนังที่คอหนา และมีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 20 – 50 หรือภาวะปัญญาอ่อน ส่วนใหญ่ทารกมักจะเสียชีวิตในระยะแรกเกิด หรือมีอายุไข เฉลี่ยที่ 40 ปี
เหตุที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจ
ผลตรวจเกิดมีโอกาสผิดพลาดได้ เนื่องจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่มักจะพบเจอได้ คือ
- อวัยวะของทารกไม่ได้ สร้างเสร็จสมบูณ์ ตั้งแต่ในครรภ์ ความผิดปกติ จึงอาจเกิดช่วงหลังจากที่คลอดมาแล้วก็ได้
- อวัยวะบางอย่างมีขนาดเล็กมาก หรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น หัวใจ หาก หัวใจมีขนาดที่เล็กกว่าครึ่งเซนติเมตร ก็จะไม่สามารถมองเห็น จากการทำอัลตร้าซาวด์
- อวัยวะของเด็ก ขณะที่อยู่ในท้อง กับช่วงที่คลอดออกมาแล้ว จะมีลักษณะไม่เหมือนกัน
- ท่าทางของเด็ก ท่าทางการนอนของเด็ก อาจทำให้บดบังการมองเห็นภาพอวัยวะต่าง ๆ ได้
การตรวจอัลตร้าซาวด์ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อทารก และคุณแม่ แม้ว่าจะมีการตรวจซ้ำ หลายต่อหลายครั้งก็ตาม แต่กลับเป็นประโยชน์ ในการวินิจฉัย ความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นของทารก และช่วยให้แพทย์ สามารถทำการตัดสินใจ ในการ ให้การรักษาได้เป็นอย่างดี และทันท่วงที แม้ว่าการทำอัลตร้าซาวด์ในแต่ละครั้ง จะมีค่าให้จ่ายมากก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกท่านนะคะ
อ้างอิง :
- https://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=1019
- https://www.huggies.co.th/th-th/pregnancy/4-6-months/ultrasound
- https://www.mamykid.com/
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!