X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สิ่งที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด

16 Feb, 2017

ไข้หวัดระบาดอีกแล้ว แม่ต้องอ่านสิ่งที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด โดยเพจ Dr.Pam book club

6 ข้อที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด

6 ข้อที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด

ไม่มีเด็กคนไหนไม่เป็นหวัดนะคะ โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กที่ร่างกายแข็งแรงปกติ จะเป็นหวัดเฉลี่ย 8 ครั้ง/ปี โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันเค้ายังไม่แข็งแรง พ่อแม่ก็ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดแต่อย่างใดที่ลูกเป็นหวัด ให้คิดในแง่ดีว่า พอเค้าหาย 1 ครั้ง ภูมิคุ้มกันก็แข็งแรงขึ้น 1 ระดับ แต่สิ่งสำคัญ เราก็ต้องป้องกันโรค และรักษาสุขอนามัยที่ดีนะคะ เช่น ถ้าเราเป็นหวัด ก็ควรใส่หน้ากากป้องกัน และต้องล้างมือบ่อยๆ ไม่พาเด็กไปยังสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ง่าย เป็นตัน
เด็กเล็กหายใจทางจมูก

เด็กเล็กหายใจทางจมูก

เด็กเล็กนั้น โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ลิ้นจะมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับช่องปาก เพราะฉะนั้น เค้าจะหายใจผ่านจมูก มากกว่า 90% และเหตุนี้ แม้เราจะคิดว่าการเป็นหวัด เป็นเพียงการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยในผู้ใหญ๋

แต่สำหรับเด็กเล็กนั้น การเป็นหวัด ทำให้เค้าทรมาณมากทีเดียว เพราะการที่เยื่อบุจมูกบวมขึ้นเพียงแค่ 1 มิลลิเมตร อาจทำให้การต้านทานอากาศเพิ่มขึ้น หายใจเอาลมเข้าไปยากขึ้น ถึง 16 เท่า

เวลาดูดนม ขณะที่กลืน ต้องกลั้นหายใจ...ซึ่งหายใจปกติขณะที่เป็นหวัด ยังลำบาก ต้องหายใจพร้อมกลืนนม เป็นเรื่องที่ยิ่งลำบากมาก ไม่ต้องแปลกใจทำไมลูกร้องไห้งอแง หงุดหงิด กินนมได้น้อยลง ลองนึกดูค่ะ หิว แต่กินนมแล้วหายใจไม่ออก หงุดหงิดมั้ย ?

ยิ่งเวลานอน การที่เยื่อบุจมูกบวม ผสมกับการที่มีน้ำมูก เด็กจะหงุดหงิด นอนหลับไม่สนิท พยายามหาท่านอนที่หายใจสะดวกที่สุด หลับตื้นๆ เพราะพอหลับลึก กล้ามเนื้อหายใจหย่อน ก็หายใจไม่สะดวก สะดุ้งตื่นกลางดึก

พ่อแม่มักมาบอกหมอว่า กลางวันก็ดูดี แต่กลางคืนอาการแย่ลง...ก็เป็นเช่นนี้เองค่ะ และไวรัสมักจะทำให้เด็กมีไข้สูงตอนกลางคืนมากกว่า

ดังนั้น...หัวใจสำคัญของการรักษาโรคหวัดในเด็ก ก็คือ nose care --> เราควรช่วยลูกด้วยการหยดน้ำเกลือเพื่อชะล้างน้ำมูกที่อยู่ในโพรงจมูกอันกว้างขวาง และน้ำมูกหลังลำคอที่ทำให้เกิดเสียงครืดคราด ซึ่งการหยดน้ำเกลือ ทำให้น้ำมูกไหลลงไป เด็กกลืนน้ำมูกได้(เป็นวิธีกำจัดตามธรรมชาติ กรดในกระเพาะฆ่าเชื้อโรคได้ค่ะ)....ซึ่งถ้าแม่คนไหน ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกได้ก็จะดีมาก แต่ถ้าไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร แค่หยดลงไปก็ช่วยแล้วค่ะ

ควรหยดน้ำเกลือในจมูกตอนไหน ? จริงๆทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เพราะไม่ได้มีอันตรายอะไร แต่อย่างน้อย ถ้าแม่ไม่อยากทำ หรือทำยาก ไม่ถนัด คือต้องหยดให้เค้าก่อนจะนอนค่ะ ไม่อย่างนั้น จะเป็นอย่างที่อธิบายไปแล้วข้างบน
ถึงจะมีไข้ แต่ถ้ายังยิ้มกับแม่ได้ กินนมได้...ก็ถือว่าอาการยังไม่น่าเป็นห่วง

ถึงจะมีไข้ แต่ถ้ายังยิ้มกับแม่ได้ กินนมได้...ก็ถือว่าอาการยังไม่น่าเป็นห่วง

พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะกังวลกับการมีไข้ของลูก หมอจะบอกว่า "ไข้" เป็นกระบวนการตอบสนอง ต่อเชื้อโรคตามธรรมชาติของร่างกาย ไม่ว่าติดเชื้อใดๆ ก็จะมีไข้ ซึ่งแปลได้ว่ามีการทำงานของภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นแล้ว

ไม่ใช่ผู้ร้ายซะทีเดียวนะคะ ถ้ามีไข้ แต่ยังยิ้ม ยังเล่น กินนม หรืออาหารได้ ก็ไม่ต้องกังวลเกินไปนะคะ เด็กๆแข็งแรงกว่าที่เราคิด

เพียงแต่การมีไข้ ทำให้เด็กไม่สบายตัว เราก็ช่วยลูกด้วยการเช็ดตัว เพราะทำให้สบายตัวได้ทันที การเช็ดตัวที่ถูก ไม่ใช่เอาผ้ามาซับเบาๆ เหมือนนางเอกเช็ดตัวให้พระเอกในละครนะคะ

ที่ถูกต้องคือเอาผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาด และถูโดยออกแรงเล็กน้อย เพื่อให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังขยายตัว จะได้ระบายความร้อนออกไป เช็ดสวนกับรูขุมขน หรือจะจำว่าเช็ดเข้าหาหัวใจก็ได้ค่ะ เช็ดเสร็จอย่าลืมเช็ดตัวลูกด้วยผ้าแห้ง แล้วแต่งตัว

ยาลดไข้ให้กินได้ตามความเหมาะสมค่ะ ถ้าให้ดี แม่มือใหม่ ควรซื้อปรอทวัดไข้ไว้ที่บ้านนะคะ เพราะการจับหน้าผากด้วยมือไม่แม่น ถ้าไข้สูง (>38.2C) ให้กินยาลดไข้ก็จะช่วยให้ไข้ลดเร็วขึ้นค่ะ แต่ถ้าไข้ต่ำๆแค่เช็ดตัวก็เอาอยู่
น้ำเกลือหยดจมูก ไม่ทำให้สำลัก และไม่ต้องมีน้ำมูกไหลออกจากจมูกอีกฝั่ง เพราะไม่เหมือนการล้างจมูก

น้ำเกลือหยดจมูก ไม่ทำให้สำลัก และไม่ต้องมีน้ำมูกไหลออกจากจมูกอีกฝั่ง เพราะไม่เหมือนการล้างจมูก

สิ่งที่หมอจะให้คู่กับยาลดไข้ เวลาเด็กเป็นหวัด คือน้ำเกลือเอาไว้หยดจมูก

น้ำเกลือหยดจมูก ไม่เหมือน เอาน้ำเกลือมาล้างจมูก (nasal irrigation) นะคะ

น้ำเกลือหยดจมูก มักใช้ในเด็กเล็กที่ยังนั่งเองไม่ได้ ไม่แนะนำให้ "ล้างจมูก" ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนนะคะ เพราะเค้ายังกลั้นหายใจตามจังหวะการพ่นน้ำเกลือเข้าจมูกไม่ได้ และการล้างจมูกต้องใช้ปริมาณน้ำเกลือที่เยอะ....ต้องเป็นบ้านที่ฝึกฝนมาอย่างดี ไม่ต้องไปทำตามคลิปใน youtube ถ้าเราไม่เคยฝึกลูกมาก่อนนะคะ

*ดูรูปประกอบ* จมูกของเด็ก ที่พ่อแม่เห็น รูเล็กๆ...เหมือนปากถ้ำ แต่จริงๆโพรงจมูก เป็นถ้ำที่กว้าง และนึกดูว่าผิวถ้ำนั้น มีน้ำมูกเหนียวๆเกาะตลอดทาง เราหยดน้ำเกลือลงไป จะไปช่วยชะล้างเอาน้ำมูกเหนียวๆในโพรงจมูก นิ่มลงและไหลลงไปได้บางส่วน อาจจะไหลย้อนมาข้างนอก ก็เช็ดซะ

และที่พ่อแม่มักจะถามว่าเด็กจะสำลักมั้ย ถ้าเพียงแต่หยดลงไป 2-3 หยดต่อข้าง น้ำเกลือไม่ลงมาถึงกล่องเสียงหรือหลอดลมค่ะ ไม่สำลัก หยดได้ค่ะ เค้าจะร้องไห้ ปกติอยุ่แล้ว แต่หลังจากหยดน้ำเกลือ เค้าจะรู้เลยว่าหายใจสบายขึ้น เราทำบ่อยๆ เค้าจะเรียนรู้ไปเองค่ะ แล้วพอโตขึ้น อยากจะฝึกล้างจมูกก็ได้นะคะ แต่ถ้าเล็ก และไม่เคยฝึก ย้ำว่าไม่ควรทำค่ะ
ยาแก้หวัดไม่มี! มีแต่ยาบรรเทาอาการ ถ้าให้ดี...หลีกเลี่ยง การใช้ยาลดน้ำมูกจะดีกว่า

ยาแก้หวัดไม่มี! มีแต่ยาบรรเทาอาการ ถ้าให้ดี...หลีกเลี่ยง การใช้ยาลดน้ำมูกจะดีกว่า

เป็นหวัด หมายถึงการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ ที่แสดงอาการเด่นบริเวณจมูกและลำคอ

ไวรัส ไม่มียาฆ่าเฉพาะ หายได้ด้วยภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของเด็กเอง

ยาที่จ่ายกันเวลาเด็กเป็นหวัด เป็นยาบรรเทาอาการเท่านั้น มีไข้ ให้ยาลดไข้ มีน้ำมูก ให้ยาลดน้ำมูก ไอ ให้ยาละลายเสมหะ

แต่...แต่...แต่ ในเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 1 ปี ไม่ควรกินยาลดน้ำมูกนะคะ ยากลุ่มนี้คือ anti-histamine ซึ่งไม่ได้ช่วยให้การอักเสบในเยื่อบุทางเดินหายใจดีขึ้น แต่ออกฤทธิ์ ลดการหลั่งสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ ซึ่งก็คือ น้ำมูก และเสมหะ แต่การลด ก็คือทำให้ส่วนประกอบที่เป็นน้ำลดลง สำหรับผู้ใหญ่ มันช่วยลดความรำคาญอย่างมาก เพราะน้ำมูกไหล มันใช้ชีวิตลำบาก และเราก็ไอได้แรง ขากเสมหะได้ดี

แต่เด็กเล็ก ถ้าน้ำมูก และเสมหะเหนียวมากขึ้น ไอก็ไม่แรง ขากเสมหะก็ไม่เป็น ทำให้น้ำมูกและเสมหะคั่งค้าง ติดแน่น มีรายงานว่าการใช้ anti-histamine เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการหลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบ มากกว่า ดังนั้น ถ้าจะใช้....ใช้อย่างระมัดระวังนะคะ
ไม่ใช่หมอคนสุดท้ายเก่ง แต่หวัดถึงเวลาหายพอดี

ไม่ใช่หมอคนสุดท้ายเก่ง แต่หวัดถึงเวลาหายพอดี

*ดูภาพประกอบ* คุณคิดว่าลูกจะหายจากหวัดภายในกี่วันคะ? เป็นคำถามที่หมอมักจะถามพ่อแม่เสมอ เพราะเวลาลูกป่วย เวลา 1 วัน เหมือนนานเป็นปี ยิ่งเด็กเล็กเป็นหวัด เรียกว่าไม่ได้นอนกันทั้งครอบครัว

แต่ หมอก็จำเป็นต้องบอกความจริง ว่าหวัดใช้เวลา 7-10 วันกว่าจะหาย จากกราฟจะเห็นว่า อาการจะ peak ที่วันที่ 2 เป็นเวลาที่พาไปหาหมอคนแรกพอดี พอได้ยามากิน พ่อแม่คาดหวังถึงคำว่า "หาย" ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ เพราะยาที่ให้ มันแค่ช่วยบรรเทาอาการเท่านั้น พอมันไม่ได้อย่างที่ใจคิด+ความไม่รู้ ก็ร้อนรน มักจะพาไปหาหมอคนที่ 2 คนที่ 3 หมอคนสุดท้าย...มักจะเป็นหมอที่เก่งสุดเสมอ เพราะมาในเวลาที่โรคกำลังจะหายอยู่แล้ว หมอบางท่าน...เนื่องจากพ่อแม่ doctor shopping มาเยอะเหลือเกิน ไม่มีมุกเด็ดจะให้แล้ว เพราะได้ยามาหมดแล้ว...ก็ต้องให้ยาปฏิชีวนะสักหน่อย ส่งดูดน้ำมูกอีกสักนิด....กลายเป็นยาฆ่าเชื้อดีซะงั้น

ได้เห็นแบบนี้แล้วตั้งหลักใหม่นะคะ เด็กเป็นหวัด กว่าจะหาย 5-10 วัน โดยที่วันที่อาการหนักจะเป็น 1-3 วันแรก หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นตามลำดับ แต่ถ้ามีอาการที่ไม่ใช่ของหวัด ก็ต้องพาไปพบแพทย์ เช่น ไข้สูงลอย เด็กหอบเหนื่อย ไม่เล่น ไม่กิน เช่นนี้คือสัญญาณบ่งบอกว่ามีภาวะแทรกซ้อน

เอาเป็นว่า เชื่อสัญชาตญานความเป็นแม่นะคะ แม่นสุดแล้ว
เด็กมีพลังฟื้นตัวที่เยี่ยมยอด แม่คือหมอที่ยอดเยี่ยมของลูก

เด็กมีพลังฟื้นตัวที่เยี่ยมยอด แม่คือหมอที่ยอดเยี่ยมของลูก

ที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า จะหายจากการติดเชื้อไวรัสได้ ต้องขึ้นกับความแข็งแรงของเด็กเอง ร่วมกับการดูแลใกล้ชิดของพ่อแม่

แต่จะอย่างไร ก็ยังมีเรื่องให้กังวลสารพัดใช่มั้ยคะ ตอนป่วยกินน้อยมาก จะเป็นไรมั้ย กินแต่น้ำ ยังมีเสียงครืดคราด ยังมีอาการไออยู่เลย และอีกมากมาย

กลับไปที่จุดตั้งต้น เด็กๆ...ไม่เคยโกหกเรื่องความเจ็บป่วย ถ้าเค้ายังเล่นได้ ถึงจะเล่นไป มีเสียงครืดคราดไป แต่การที่เล่นอยู่ ก็แปลว่าเค้าประเมินตัวเองแล้วว่าไหว และการเบื่ออาหารตอนป่วย ก็เป็นเรื่องปกติใช่มั้ยคะ เดี๋ยวพอเค้าหายดี เค้าก็กินชดเชยได้เอง พักความเครียดเรื่องการกินไว้ชั่วคราวนะ

ถ้ายังมีจุดไหนที่กังวลใจ ก็ไปปรึกษาแพทย์เลยค่ะ ไม่ต้องนั่งทุกข์ใจอยู่ที่บ้าน หมอเด็กเกือบทุกคน...เป็นที่ปรึกษาที่ดีนะคะ ถึงจะไม่ได้ยา..แต่ได้ความอุ่นใจใช่มั้ยคะ ไม่ต้องกลัวค่ะ ประสบการณ์จะสอนแม่เอง
ถัดไป
img

บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • สิ่งที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด
แชร์ :
  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว