แน่นอนว่าหลังจากพาลูกน้อยออกจากโรงพยาบาลเพื่อกลับบ้าน คุณแม่ต้องเตรียมตัวรับมือกับการเลี้ยงลูกและวุ่นวายจนไม่มีเวลาคิดถึงเรื่องอื่น ๆ แน่ และอาจมีเรื่องที่ไม่ทันคิดว่ายังมี สิ่งที่ควรทําหลังคลอด อื่น ๆ อะไรอีกบ้าง
7 สิ่งที่ควรทําหลังคลอด พาลูกกลับบ้านแล้วต้องทำอะไรอีกนะ
#1 บันทึกเรื่องราวของลูก
สิ่งของจากโรงพยาบาลที่ติดตัวลูกตั้งแต่แรกเกิดอย่าง ป้ายชื่อติดข้อมือ ชุดหรือหมวกสำหรับทารก ป้ายชื่อจากเปลนอนของลูกน้อย เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรเก็บมันเอาไว้ และจดบันทึกเรื่องราวช่วงเวลาดี ๆ เหล่านี้ไว้ตั้งแต่ก่อนที่คุณแม่จะคลอดจนกระทั่งพาเจ้าตัวน้อยกลับมาอยู่ที่บ้าน มันเป็นสิ่งดีมาก ๆ หากในอนาคตคุณจะเปิดสมุดเล่มนี้ย้อนเวลาไปดูพร้อม ๆ กับลูกอีกครั้ง
#2 ถ่ายรูปเจ้าตัวน้อยตอนแรกเกิด
สำหรับพ่อแม่สายโซเชียลแล้ว เรื่องนี้ไม่น่าพลาดกันแน่ ๆ ใช่ไหมค่ะ เพราะช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพลูก อยู่ในช่วงสัปดาห์แรกนี่แหละ แต่อย่าลืมนะคะว่า การถ่ายภาพทารกนั้น ไม่ควรที่จะใช้แสงแฟลชโดยเด็ดขาด เพราะไม่ดีต่อสุขภาพตาและผิวของเด็กเป็นอย่างยิ่ง
#3 เตรียมจัดส่งเอกสารแจ้งเกิด
โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีเอกสารเพื่อให้คุณแม่กรอกแบบฟอร์มคำร้องขอแจ้งเกิด หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล ก่อนที่จะดำเนินการส่งไปให้ที่เขตนั้น ๆ โดยคุณแม่อาจกลับมารับใบแจ้งเกิดในวันที่พาเจ้าตัวน้อยมาเช็กสุขภาพที่โรงพยาบาลอีกครั้ง แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่ได้คลอดที่โรงพยาบาล ควรเตรียมเอกสารเพื่อไปแจ้งเกิดภายใน 15 วันนั้นจากวันที่ลูกเกิดต่อนายทะเบียนในท้องที่ โดยยื่นเอกสารต่อฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านนะคะ
#4 จดคำถามที่สงสัย
เมื่อคุณแม่กลับมาที่บ้าน จะมีคำถามมากมายเกิดขึ้นทันที ต้องเริ่มทำอะไร ยังไงดี อะไรที่คุณแม่นึกขึ้นได้อย่าลืมที่จะจดเอาไว้เพื่อถามคุณหมอในวันที่พาลูกไปตรวจตามนัดครั้งแรก และหากมีคำถามอื่น ๆ หลังจากนี้อย่าลืมที่จะจดและหาคำตอบมาบันทึกเอาไว้ แน่นอนว่ามันจำเป็นแน่ ๆ และอาจจะเก็บเป็นบันทึกการเลี้ยงลูกสำหรับเจ้าตัวน้อยคนต่อไปได้
#5 อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
การเลี้ยงลูกแรก ๆ อาจจะทำให้คุณแม่มือใหม่เฟลได้ แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อคุณแม่เอ่ยปากขอให้คุณย่าคุณยายของหลานมาช่วยดูแลในช่วงแรก ๆ เพราะพวกเขาจะเข้าใจดีว่าการเลี้ยงลูกมันหนักหนาสาหัสแค่ไหน และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือคุณเต็มที่ทันทีคุณเอ่ยปาก แถมยังดีใจที่ได้มาเจอหลานน้อย ๆ ของเขาด้วย
#6 เตรียมยาสามัญประจำตัวลูกน้อยติดบ้านไว้
ยาที่สามารถใช้สำหรับทารก เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินและไม่เป็นอันตราย เช่น มหาหิงคุ์ แก้ปวดท้อง ท้องอืด/ ยาทาผื่นผ้าอ้อมสำหรับเด็กเล็ก/ ขี้ผึ้ง สำหรับทาเวลาแมลงสัตว์กัดต่อย/ คาลาไมล์โลชั่น ยาแก้ผดผื่นคัน/ ยาลดไข้ พาราเซตามอลสำหรับเด็ก / เจลร้อน- เย็น เพื่อใช้ประคบเวลาฉุกเฉิน/ วิกส์ หรือน้ำมันยูคาลิปตัส เวลาคัดจมูก/ น้ำเกลือ สำหรับล้างจมูก/ เบตาดีนและพลาสเตอร์ติดแผล เป็นต้น
#7 ความอดทน
การดูแลทารกแรกเกิดนั้นเป็นงานที่หนัก ในช่วงสัปดาห์แรกคุณแม่อาจจะรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นโรงงานผลิตนม แต่พอผ่านช่วงเวลานี้ไปทุกอย่างจะดีขึ้น คุณแม่จะรู้สึกสบายมากขึ้นในการดูแลลูกน้อย ขอให้แค่ใช้ความอดทนทั้งจิตใจและร่างกาย แม้ต้องเจอปัญหาสำหรับแม่มือใหม่ แต่ทำใจให้สบาย ๆ คุณแม้จะฟื้นตัวในไม่ช้า เพียงแต่มันเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานิดนึงเท่านั้น
Credit content : www.lifewithmylittles.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
หลังคลอดห้ามกินอะไร อาหารที่แม่ลูกอ่อนอย่าเพิ่งกินช่วงให้นม
อย่าชะล่าใจ โรคจิตหลังคลอด ภาวะหนักกว่าโรคซึมเศร้าที่แม่ลูกอ่อนต้องระวัง!!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!