X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีสังเกตเมื่อลูกงอแอ เพราะถูกกระตุ้นมากเกินไป

บทความ 3 นาที
วิธีสังเกตเมื่อลูกงอแอ เพราะถูกกระตุ้นมากเกินไป

เมื่อมีสมาชิกใหม่เกิดขึ้นมา ทุกคนในครอบครัวก็อยากจะมีส่วนร่วมในการดูแล และแสดงความรักต่อเจ้าตัวน้อย ผลัดกันอุ้ม หอม กอดกันทั้งวัน แถมญาติ และเพื่อนของคุณพ่อคุณแม่ยังมาเยี่ยมกันอย่างไม่ขาดสาย อาจทำให้เจ้าตัวน้อยถูกกระตุ้นมากเกินไป ซึ่งสังเกตได้จากสัญญาณเหล่านี้

เนื่องจากทารกไม่สามารถบอกเราได้เมื่อเขารู้สึกถูกกระตุ้นมากเกินไป จากการที่ผู้ใหญ่ต่างพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับเขาตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจด้วยว่า เจ้าตัวน้อยก็ต้องการพื้นที่และเวลาส่วนตัวเช่นเดียวกับผู้ใหญ่นะคะ

ไม่มีใครชอบที่จะรู้สึกเหมือนไม่มีใครฟัง เวลาที่เราบอกว่า “พอได้แล้ว” แต่ทารกไม่สามารถที่จะสื่อสารข้อความนี้ให้ผู้ใหญ่รับรู้ได้นะคะ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเรียนรู้ที่จะรับสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ ที่ลึกซึ้งของเบบี๋ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกถูกกระตุ้นมากเกินไป

สังเกตอาการเมื่อลูกถูกกระตุ้นมากเกินไป

หากลูกน้อยรู้สึกเหนื่อยล้า ต้องการพักผ่อน และเกิดความเครียดจากการถูกกระตุ้นมากเกินไป คุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  • ลูกไม่สบตา พยายามมองไปที่อื่น
  • หาว บิดตัว หัวใจเต้นเร็ว
  • หนักตา ทำท่าจะหลับ
  • ทำเหมือนว่าหิว และต้องการที่จะดูด
  • หลับทั้งที่ดูดนม แม้จะยังไม่อิ่ม
  • ร้องไห้ไม่มีเหตุผล ปลอบเท่าไหร่ก็ไม่หยุด
  • ร้องเสียงดังและรุนแรงขึ้น
  • ไม่สบายตัว กระสับกระส่าย

บทความแนะนำ baby signs กระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของทารก

เมื่อไหร่ที่ควรหยุดกระตุ้นลูก?

  • หลังจากให้นมจนอิ่ม เจ้าตัวน้อยไม่แสดงอาการว่าหิวอีก
  • เมื่อลูกรู้สึกเหนื่อย
  • เมื่อลูกเล่นและใช้พลังงานเป็นเวลานาน
  • เมื่อลูกถูกคนโน้นคนนี้อุ้มหลายคน
  • เมื่อลูกได้ยินเสียงคนโน้นคนนี้พูดตลอดเวลา หรืออยู่ในที่ๆ มีเสียงดัง
  • เมื่อลูกทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกเหนือจากกิจวัตรปกติ
  • เมื่อลูกทำท่าเหมือนจะไม่สบาย

ลดการกระตุ้นลูก ควรทำอย่างไร?

  • เมื่อลูกส่งสัญญาณว่าพอได้แล้ว ให้สังเกตตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ เช่น กอด ตบ โยก ทำเสียงดัง หรืออื่นๆ
  • หยุดสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ และให้ความสนใจกับสิ่งที่ลูกกำลังบอกคุณ
  • ปิดเสียงที่ดังรบกวน
  • ทำห้องให้มืด
  • หยุดพูด แล้วทำเสียงชูวววส์ อย่างอ่อนโยน
  • เช็กว่าลูกสบายตัวหรือเปล่า เช่น ไม่หิว ผ้าอ้อมไม่แฉะ ไม่หนาว หรือร้อนเกินไป
  • กล่อมลูกนอน ตบก้นเบาๆ
  • หากเป็นช่วงที่ญาติๆ มาเยี่ยม อาจต้องขอตัวขึ้นชั้นบน เพื่อให้ลูกได้พักผ่อน

เด็กทารกต้องการการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนั้น คุณแม่ควรระวังอย่ากระตุ้นลูกมากเกินไป และคอยสังเกตสัญญาณที่เจ้าตัวน้อยส่งมาด้วยนะคะ

Advertisement
บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

ที่มา kidspot.com.au

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เคล็ดลับกล่อมลูกนอนด้วยเสียง white noise

เสียงร้องไห้แบบนี้ทารกอยากบอกอะไร

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • วิธีสังเกตเมื่อลูกงอแอ เพราะถูกกระตุ้นมากเกินไป
แชร์ :
  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

  • วัยทอง 2-3 ขวบ : จากเด็กว่าง่าย สู่วัยไม่เอาทุกอย่าง

    วัยทอง 2-3 ขวบ : จากเด็กว่าง่าย สู่วัยไม่เอาทุกอย่าง

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

  • วัยทอง 2-3 ขวบ : จากเด็กว่าง่าย สู่วัยไม่เอาทุกอย่าง

    วัยทอง 2-3 ขวบ : จากเด็กว่าง่าย สู่วัยไม่เอาทุกอย่าง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว