X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลายข้อสงสัย วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง ดิ้นแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกปลอดภัย

บทความ 5 นาที
คลายข้อสงสัย วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง ดิ้นแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกปลอดภัย

วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง ต้องเริ่มนับที่อายุครรภ์กี่เดือน กี่สัปดาห์ ถ้ามีสมุดสีชมพู จะจดลูกดิ้นแบบไหน วันนี้ นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดา และทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3 ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับทุกข้อมูลของลูกดิ้น เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ในเวลานี้

 

การนับลูกดิ้น กี่สัปดาห์ ถึงนับได้

ลูกดิ้นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพเป็นอย่างไร โดยทั่วไปแล้วในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ทารกจะดิ้นไม่เป็นเวลา แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 หรือประมาณ อายุครรภ์ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป ลูกจะเริ่มดิ้นบ่อยขึ้น ซึ่งการนับลูกดิ้นจะสามารถบอกความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ หากทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง โดยส่วนใหญ่มักเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ที่เกิดจากน้ำคร่ำน้อย หรือ สายสะดือผูกเป็นปมได้

 

เริ่มนับลูกดิ้น อายุครรภ์เท่าไหร่

คุณหมอแนะนำให้เริ่ม นับลูกดิ้น หลังจากที่อายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นช่วงที่ลูกน้อยในครรภ์จะมีการดิ้นที่สม่ำเสมอ เนื่องจากระบบสมอง และเส้นประสาทมีการพัฒนาดีแล้ว ในการนับลูกดิ้นนั้น สิ่งที่จะนับว่าเป็นการดิ้น ได้แก่ การเตะ ต่อย ถีบ กระทุ้ง หมุนตัว ดัน และโก่งตัวค่ะ แต่ถ้าทารกในครรภ์สะอึก จะไม่นับว่าเป็นการดิ้นนะคะ ส่วน วิธีนับลูกดิ้น นั้น คุณหมอแนะนำไว้ว่า การดิ้น 1 ครั้ง จะนับเป็น 1 ครั้ง แต่ถ้าลูกดิ้นเป็นชุด หรือดิ้นต่อเนื่องหลายครั้งติดกัน ก็จะนับเป็น 1 ครั้งเช่นเดียวกัน

 

 

ลูกดิ้นตอนไหน ลูกดิ้นแบบไหนปกติ

ส่วนใหญ่ทารกในครรภ์มักจะนอนหลับนาน 20 – 40 นาที และอาจจะนอนได้นานถึง 75 – 90 นาทีเลยก็มี ดังนั้น โดยเฉลี่ยทุก ๆ 2 ชั่วโมง คุณแม่ควรรับรู้ได้ว่า ลูกดิ้น หลังจากที่ทารกตื่นขึ้น และทารกมักจะดิ้นเยอะ ในช่วงหลังจากที่คุณแม่ทานอาหารแล้ว 1 – 2 ชั่วโมง และหากคุณแม่ท้องพบว่า ลูกไม่ดิ้น ลูกดิ้นน้อย ลูกดิ้นผิดปกติไปจากทุกวัน หรือไม่แน่ใจว่าลูกดิ้นปกติหรือไม่ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจประเมินอย่างละเอียด และป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้

 

ทารกในครรภ์สะอึก ต่างจากลูกดิ้นอย่างไร

หากแม่ท้องรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกในท้อง ในหลาย ๆ จุด เช่น บริเวณท้องส่วนบน ส่วนล่าง หรือด้านข้าง และรู้สึกว่าลูกในท้องหยุดเคลื่อนไหวตอนที่คุณแม่ขยับเปลี่ยนท่าทาง นั่นก็อาจจะถือว่าเป็นการดิ้น ในขณะเดียวกัน หากแม่ท้องนั่งนิ่ง ๆ อยู่กับที่ และมีความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว เป็นลักษณะของการกระตุกหรืออาการเกร็งเล็กน้อยที่ท้อง เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอกัน ที่จุด ๆ เดียว นั่นก็อาจหมายความว่าลูกในท้องของคุณกำลังสะอึกอยู่นั่นเองค่ะ

 

ลูกโก่งตัวถือว่าดิ้นไหม

ลักษณะของการดิ้นขอทารก จะมีการถีบ เตะ กระทุ้ง หมุนตัว และโก่งตัวขึ้น คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการกระตุกเบา ๆ ที่ท้อง แต่หากเป็นการตอดที่ต่อเนื่องยาว ๆ จะไม่นับว่าเป็นการดิ้น ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการดิ้นของทารกนั้น เกิดจากปริมาณน้ำคร่ำ และอาหารที่คุณแม่ทาน รวมถึงระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฟีเจอร์ นับลูกดิ้น กับ theAsianparent เว็บไซต์แม่และเด็กที่ดีอันดับหนึ่ง

 

วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง 11

 

วิธีการนับลูกดิ้น หลังอาหาร และวิธีที่เราแนะนำ

การนับลูกดิ้นสามารถนับได้หลายวิธี แต่สำหรับในประเทศไทยอาจคุ้นชินกับการนับจากการบันทึกสมุดสีชมพู เพื่อจดจำนวนครั้งการดิ้นในทุกวัน แต่ยังมีวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่น การนับแบบ count-to-ten หรือแบบ Sadovsky รวมไปถึงวิธีที่ง่ายกว่าด้วยการนับผ่านแอปพลิเคชันของเรา

 

วิธีนับลูกดิ้น count-to-ten (Cardiff)

  • นับการดิ้นหลังจากตื่นนอน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้า จนครบ 12 ชั่วโมง
  • ถ้านับการดิ้นได้ น้อยกว่า 10 ครั้ง ภายใน 12 ชั่วโมง แปลว่าผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์

 

วิธีนับลูกดิ้นแบบ Sadovsky

  1. การนับลูกดิ้นหลังอาหารแต่ละมื้อ (เช้า, กลางวัน, เย็น) โดยนับการดิ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังทานอาหาร
  2. ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป ภายใน 1 ชั่วโมง แปลว่าปกติ
  3. ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้ง ภายใน 1 ชั่วโมง ให้นับต่อไปอีกจนครบ 4 – 6 ชั่วโมง
  4. ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป แปลว่าปกติ และติดตามการดิ้นหลังมื้ออาหารถัดไป
  5. ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้ง แปลว่าผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์
  6. ถ้านับการดิ้นทั้งหมดได้ น้อยกว่า 12 ครั้ง ต่อวัน แปลว่าผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์

 

นับลูกดิ้น สมุดสีชมพูแบบใหม่

เป็นหนังสือเล่นสีชมพู สำหรับนับลูกดิ้นจากกระทรวงสาธารณสุข สามารถใช้ได้กับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป โดยปกติใน 1 วันลูกควรดิ้น 10 ครั้งขึ้นไป โดยต้องนับให้ตรงกับเดือนที่กำหนดตามตาราง ให้นับหลังรับประทานอาหารอิ่มแล้ว 1 ชั่วโมงในมื้อเช้า, มื้อเที่ยง และมื้อเย็น ยกตัวอย่างเช่น ทานอาหารเสร็จ 8 โมงตรง ให้นับว่าตั้งแต่ 8-9 โมงลูกดิ้นกี่ครั้ง เป็นต้น โดยนับให้ครบตามมื้ออาหารที่ทานตามตาราง แล้วนำจำนวนการดิ้นมาบวกรวมกัน โดยผลที่ได้ตามปกติคือ การดิ้นมากกว่า 10 ครั้งขึ้นไป

 

วิธีนับลูกดิ้นง่าย ๆ กับแอป theAsianparent

วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง ลองมานับลูกดิ้นแบบง่าย ๆ ด้วยโหมดนับลูกดิ้นในแอปฯ theAsianparent  ซึ่งอันดับแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องดาวน์โหลดแอปนี้มาใช้งานก่อนนะคะ (แอปนี้ใช้งานฟรีค่ะ ) ดาวน์โหลด คลิก > theAsianparent IOS/Android
เมื่อดาวน์โหลดและตั้งค่าอายุครรภ์เรียบร้อยก็มาเริ่มใช้งานโหมด นับลูกดิ้นกันเลย

 

  1. เมื่อกดเข้ามาให้เริ่มนับจากการกดที่ปุ่มรูปเท้าแทนการดิ้น 1 ครั้ง ใน ชั่วโมงที่เริ่มนับนี้
  2. เมื่อเริ่มกดบันทึกที่รูปเท้า จะมีภาพการดิ้นแบบต่าง ๆ ให้เราเลือกแบบที่ตรงกับครั้งนั้นได้เลยค่ะ
  3. เมื่อครบ 1 ชั่วโมง เราไม่ต้องจำให้ยุ่งยาก เพียงกดอ่านรายงาน ก็สามารถสรุปผลจำนวนครั้งในชั่วโมงที่เริ่มนับได้ทันทีค่ะ
  4. นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถตั้งแจ้งเตือนรายวันได้ด้วยนะคะ เช่นเวลาทานข้าวเสร็จ ระบบก็จะเตือนให้เริ่มนับค่ะ

 

วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง 12

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ลูกไม่ดิ้น ลูกดิ้นผิดปกติ ทำอย่างไร

  • ลูกดิ้นมากเกินไป : หากลูกดิ้นมากโดยทั่วไปนับว่าไม่ได้ผิดปกติ เนื่องจากอาจเป็นช่วงที่ลูกกำลังตื่นนั่นเอง แต่หากมีอาการที่ดิ้นแรงอยู่พักหนึ่ง แล้วหยุดดิ้นไปเลย ไม่ได้มีการดิ้นอีก หากมีอาการนี้คือสัญญาณอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน
  • ลูกดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้น : ลูกดิ้นน้อยคือการดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ในช่วง 2 ชั่วโมง หากดิ้นไม่ถึง 10 ครั้งอีกในวันเดียวกัน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย แต่อาการเหล่านี้อาจพบได้ในครรภ์อายุ 32 สัปดาห์เนื่องจากทารกมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่มดลูกนั้นยังมีขนาดเท่าเดิม ทำให้ดิ้นได้ลำบากนั่นเอง

 

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอปพลิเคชัน theAsianparent Thailand และ Features อื่น ๆ อีกมากมาย คลิกเลย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แนะนำ วิธีนับลูกดิ้น ด้วยโหมดนับลูกดิ้นในแอปฯ theAsianparent

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น แม่ท้องต้องทำแบบนี้นะ

แม่ท้องรีบอ่าน ! เมื่อ ลูกดิ้นน้อยลง เมื่อไหร่ที่ควรกังวล แบบไหนที่ควรระวัง

ที่มา : medtha,ibpksamutprakan

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คลายข้อสงสัย วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง ดิ้นแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกปลอดภัย
แชร์ :
  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว