8 วิธีจัดการนอน ไม่ให้ทารกเสี่ยงตายก่อนวัยอันควร
เวลาในช่วงแรกของเด็กทารกนั้น ส่วนใหญ่มักจะใช้ไปกับการนอน ความปลอดภัยเรื่องการนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านควรต้องใส่ใจเป็นอันดับแรกๆ หลายต่อหลายครั้งที่เรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น หรือข่าวการเสียชีวิตของหนูน้อยจากโรคประหลาดที่เรียกกันว่า โรคไหลตายในทารก มาติดตาม 8 วิธีจัดการนอน ไม่ให้ทารกเสี่ยงตายก่อนวัยอันควร กันว่ามีอะไรบ้าง
#1 หากลูกน้อยของคุณยังมีอายุไม่ถึง 2 ขวบ ไม่ควรให้เด็กนอนบนเตียงของผู้ใหญ่ที่มีความนุ่มมากๆ เด็กในวัยนี้สามารถคว่ำเองได้แล้วแต่ยังตะแคงหรือพลิกตัวเองไม่ได้ หากเด็กพลิกหน้าคว่ำก็อาจทำให้จมูกและปากของเขาจมลงไปในฟูกหนาๆ จนทำให้เด็กเสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจได้ หากคุณพ่อคุณแม่จะวางลูกน้อยบนฟูกบ้างในบ้างครั้ง ก็ควรให้มีคนคอยดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดนะครับ
#2 ควรให้ลูกได้นอนบนเบาะสำหรับเด็กที่มีความแข็งกำลังดีโดยเฉพาะ ส่วนเบาะที่มีความนุ่มนิ่มจนเกินไปนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายกับลูกได้ เพราะแม้ว่าลูกจะอายุได้ 4 – 6 เดือน และสามารถคว่ำได้แล้ว แต่ลูกยังหงายเองไม่ได้ จึงมีโอกาสที่ลูกจะหายใจไม่ออกได้
#3 ไม่จำเป็นต้องให้ลูกนอนหนุนหมอนหากเด็กยังอายุไม่ถึง 2 ขวบ เพื่อป้องกันการพลิกหน้าคว่ำจมหมอนจนอาจทำให้ลูกหายใจไม่ออกจนเกิดอันตรายได้
#4 อย่าให้เบาะและบริเวณที่ลูกนอนรกไปด้วยข้าวของต่างๆเช่น ของเล่น ตุ๊กตา หรือของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ลูกอาจหยิบใส่ปากได้ อีกทั้งยังควรเก็บผ้าห่มหรือผ้าทั้งหลายที่อาจจะวางกองอยู่ใกล้ๆ เพราะเด็กอาจเผลอปัดไปโดนผ้าเหล่านั้นลงมาปิดจมูกตัวเองจนเป็นอันตรายได้
#5 ควรเลือกเตียงแบบที่มีราวกันตก และราวกันตกแต่ละซี่นั้นควรห่างกันไม่เกิด 6 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะของลูกน้อยลอดเข้าไปติดในช่องของราวกันตก
#6 ตรวจดูว่าเตียงที่จะให้ลูกนอนมีกลิ่นสีติดอยู่หรือไม่ ใช้สีปลอดสารพิษหรือเปล่า หากเลือกเตียงแบบที่ทำจากไม้ เนื้อของไม้ควรต้องเรียบลื่น ไม่หยาบ ไม่มีเสี้ยนหรือหัวตะปู สำหรับเบาะที่จะให้ลูกนอน เมื่อวางลงไปในเตียงแล้วต้องพอดีกับพื้นเตียง ไม่ควรเหลือร่องห่างไว้เพราะอาจทำให้เด็กตกลงไปหรือขาอาจเข้าไปติดได้
#7 หากลูกอายุเกิน 2 ขวบแล้ว ไม่ควรให้ลูกนอนในเตียงที่มีราวกั้น เนื่องจากเด็กในวัยนี้เป็นเด็กที่กำลังซน และชอบปีนป่าย จึงอาจทำให้เกิดอันตรายได้
ที่มา csip.org
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
เช็คด่วน! รูเล็กๆข้างหูของลูก สัญญาณร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!