วิตตามินและแร่ธาตุต่างๆเป็นสารอาหารสำคัญต่อแม่ท้องเพราะมีส่วนช่วยให้พัฒนาการทางร่างกายและสมองของลูกในท้องเป็นไปอย่างสมบูรณ์ อวัยวะต่างๆเติบโตตามวัยตามวัย ที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงการพิการแต่กำเนิด และยังส่งผลดีต่อสุขคุณแม่หลังคลอดได้วิตตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งท้องมีอะไรส่งผลอย่างไรต่อพัฒนาการของลูกในท้องบ้างมาดูกัน
กรดโฟลิคหรือวิตตามินบี 9
กรดโฟลิคเป็นวิตตามินที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณแม่ ควรต้องกินตั้งแต่ตอนเริ่มวางแผนจะมีลูกเลยทีเดียว เพราะหากแม่ขาดโฟลิค โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งท้อง ลูกจะทำให้ลูกเกิดการพิการในสมองและระบบประสาทไขสันหลังได้
ควรเริ่มกินกรดโฟลิคตั้งแต่ก่อนตั้งท้องถึง 3 เดือนและต้องกินต่อนเนื่องถึงตั้งหลังตั้งท้อง 3 เดือนเลยทีเดียวเพื่อให้ลูกในท้องมีพัฒนาทารทางร่างกายและสมองที่สมบูรณ์เต็มที่ โดยแม่ท้องควรกินกรดโฟลิคไม่ต่ำกว่า 400 ไมโครกรัม ต่อวันแต่กินมากกว่านี้ได้ไม่ถือว่าผิด ไม่ส่งผลเสียใดๆต่อร่างกาย แต่ถ้าน้อยเกินไปมีปัญหาแน่
คุณแม่สามารถหาซื้อกรดโฟลิคมากินเองได้ตามร้านขายยาที่มีเภสัชกรให้คำแนะนำ มีขนาดเดียวคือ 1 เม็ด มีกรดโฟลิค 5 มิลลิกรัมซึ่งถือว่าเพียงพอต่อร่างกายคุณแม่ท้องใน 1 วันแล้วค่ะ หรือจะเลือกกินแบบที่มีในวิตตามินรวม ก็จะมีกรดโฟลิคประมาณ 0.4 มิลลิกรัม หรือ 400 ไมโครกรัม ก็เพียงพอต่อการส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยในท้องแล้วเช่นกัน
นั่นก็แล้วแต่คุณแม่สะดวกเลือกรับประทานค่ะ กรดโฟลิคสำคัญขนาดนี้ห้ามลืมกินเด็ดขาดและสามารถกินต่อไปได้เรื่อยๆจนถึงครบกำหนดคลอด
ธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็กจำเป็นต่อแม่ท้องเพราะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงให้ร่างกายแม่ ซึ่งเม็ดเลือดแดงจะทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปสู่ลูก ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อแม่ท้องช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งท้อง เพื่อช่วยให้เลือดมีประมาณเม็ดเลือดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากช่วงท้อง 3 เดือนแรกความเข้มข้นของเลือดแม่ท้องจะเท่ากับคนปรกติ
แต่พอเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ 14-15ปริมาณน้ำในร่างกายแม่จะมีมากขึ้นทำให้เลือดจางลง ปริมาณเม็ดเลือดต่ำกว่าตอนไม่ท้อง การกินธาตุเหล็กเพิ่มนอกจากเพื่อให้ลูกได้ออกซิเจนในปริมาณที่เพียงแล้วยังช่วยให้แม่ไม่เกิดภาวะเลือดจาง รักษาความเข้มข้นของเลือดให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการตั้งท้อง แม้ว่าภาวะขาดธาตุเหล็กไม่ทำให้ลูกพิการ แต่อาจทำให้ลูกในท้องน้ำหนักตัวน้อย และคลอดก่อนกำหนดได้ แต่การกินธาตุเหล็กอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้คุณแม่ควรเริ่มเสริมธาตุเหล็กในช่วงตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ขึ้นไป หรือช่วงที่หายขาดจากอาการแพ้ท้องแล้ว
ธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมได้ดีเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีวิตตามินซีสูงเช่นน้ำส้มคั้นสด หรือน้ำมะนาว แต่ไม่ควรกินธาตุเหล็กร่วมกับเครื่องดื่มอย่าง ชา กาแฟและนม เพราะทำให้ร่างกายดูดซึมนำไปใช้ได้น้อย ควรกินธาตุเหล็กหลังดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง
แคลเซียม
แคลเซียมเป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุจำเป็นสำหรับแม่ท้องเพราะลูกจะดึงแคลเซียมจากแม่ไปใช้เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการสร้างเซลล์ต่างๆในร่างกาย หากร่างกายแม่ไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอจะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนหลังคลอด
ปริมานแคลเซียมที่แม่ท้องต้องการในแต่ละวันคือ 1,000 มิลลิกรัม แต่แคลเซียมแบบเม็ดที่คุณหมอจ่ายให้จะมีปริมาณแคลเซียมไม่ถึง 1,000 มิลลิกรัมเพราะคุณแม่สามารถกินอาหารที่มีแคลเซียมปริมาณสูงได้อยู่แล้วเช่น นม 1 แก้วให้แคลเซียม 300 มิลลิกรัม คุณแม่ท้องจึงควรดื่มนมควบคู่ไปกับการกินอาหารที่ให้แคลเซียมสูงอื่นๆเช่น ถั่วขาว ปลาทะเลสด ไข่ไก่ บล็อคโคลี่ ฯลฯ และวิตตามินจากหมอเสริมไปด้วยก็เพียงพอ หากรู้สึกว่าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจึงค่อยเสริม
หากคุณหมอจ่ายธาตุหล็กและแคลเซียมแยกกัน ไม่ควรกินธาตุเหล็กพร้อมกับแคลเซียมเพราะจะทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ไม่เต็มที่ หากคุณหมอจ่ายมาให้เป็นวิตตามินร่วมในเม็ดเดียวกันก็ไม่มีปัญหาร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้เอง แต่การรับประทานแบบแยกเม็ดร่างกายจะได้รับธาตุเหล็กและแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าแบบรวมในเม็ดเดียว
วิตตามินร่วม
วิตตามินร่วมคุณแม่จะได้รับในช่วงเข้า 3 เดือนก่อนคลอด ซึ่งใน 1 เม็ดจะประกอบไปด้วยวิตตามินและแร่ธาตุจำเป็นทั้ง แคลเซียม ธาตุเหล็กและกรดโฟลิค ครบในเม็ดเดียว กินวันละ 1 เม็ดก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้วไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริมเพิ่ม
4 อย่างนี้คือวิตตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับแม่ท้องที่ทางคุณหมอต้องจัดให้แม่ท้องทุกคน เมื่อไปฝากท้องและรับยาบำรุงเหล่านี้มาแล้วจะละเลยไม่ได้ ห้ามทิ้งนะคะ หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าคุณหมอจ่ายวิตตามินบำรุงมาให้ครบหรือไม่ แล้วตัวไหนคืออะไรกันแน่ก็ต้องสอบถามกับเภสัชกรทุกครั้ง สำหรับคุณแม่บางคนอาหารเสริมราคาแพงอาจไม่จำเป็นก็ได้
ทางที่ดีช่วงตั้งท้องกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่และควรกินยาตามแพทย์สั่งเท่านั้นดีกว่า แต่หากอยากกินอาหารหรือวิตตามินอื่นเสริมก็ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนว่าควรกินหรือไม่ หรือกินในปริมาณเท่าไรถึงพอดีเพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณแม่เองและลูกในท้องค่ะ
แหล่งข้อมูล
www.facebook.com/Dr.NoonPanatda/
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!