นอกจากพ่อแม่จะกลัวการติดเชื้อไข้เลือดออกแล้ว การที่ ลูกแพ้ยุง แพ้น้ำลายยุง แพ้น้ำลายยุง ยังอาจเกิดผื่นแพ้จากยุงกัดได้ บางครั้งก็เป็นผื่นขนาดใหญ่ สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อย่างมาก วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการแพ้ยุง ทั้งสาเหตุ การรักษา และการป้องกัน ดีกว่าค่ะ
ลูกแพ้ยุง การแพ้ยุงเกิดจากอะไร? แพ้น้ำลายยุง มีด้วยหรือ
แพ้น้ำลายยุง เมื่อยุงเพศเมียกัดคน มันจะใช้ปากแหลม ๆ เจาะเข้าไปในเส้นเลือดของเรา แล้วฉีดเอาน้ำลายของยุงเข้าสู่กระแสเลือด และดูดเลือดของเราออกมา ทำให้เกิดปฏิกริยาการตอบสนองของร่างกายขึ้นหลังยุงกัด โปรตีนที่อยู่ในน้ำลายยุงนั่นเองที่ทำให้เราเกิดอาการแพ้ และผื่นคันตามมา บางครั้งจึงเรียกการแพ้ยุงว่า “แพ้น้ำลายยุง” นั่นเอง
อาการแพ้ยุง แพ้น้ำลายยุง เป็นอย่างไร?
หลังถูกยุงกัด แต่ละคนอาจมีปฏิกริยาอาการแตกต่างกัน โดยทั่วไปมักจะมีแต่อาการเฉพาะที่ไม่รุนแรง แพ้ น้ำลาย ยุง คือ
- มีตุ่มสีแดง ขนาดเล็ก คัน หลังจากยุงกัดในเวลาไม่กี่นาทีจนถึงนานเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวัน และอาจหายไปได้เองในเวลาไม่นาน
- แต่บางคนอาจมีอาการมากเป็นตุ่มสีแดงหรือตุ่มน้ำขนาดใหญ่ อยู่นานหลายวันได้
- แพ้น้ำลายยุง บางคนอาจมีปฏิกริยามากขึ้นคือ เป็นผื่นลมพิษทั่วร่างกาย มีไข้ขึ้น ปวดข้อ ร่วมด้วยได้
- และมีบางคนที่มีปฏิกริยาถึงขั้นแพ้รุนแรง (anaphylaxis) คือมีอาการหายใจหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หมดสติ ร่วมด้วย แต่พบได้น้อย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เด็ก ๆ ทา แซมบัค ได้จริงหรือเปล่า ? แซมบัคใช้ทาแผลแบบไหนได้บ้าง ?
ลูก แพ้ ยุง อาการ แพ้ ยุง กัด
การรักษาอาการแพ้ยุง แพ้น้ำลายยุง ทำได้อย่างไร?
หากถูกยุงกัด หรือ แพ้น้ำลายยุง แล้วมีอาการแพ้เฉพาะที่แค่เป็นตุ่ม บวมแดง ก็สามารถรักษาเบื้องต้นได้โดย การประคบเย็นเพื่อช่วยลดอาการบวมและคัน ยกบริเวณที่ถูกยุงกัดให้สูงขึ้น ทาโลชั่นบรรเทาอาการคัน ซึ่งถ้าอาการเป็นไม่มาก ก็อาจหายไปเองได้ในเวลาไม่นาน แต่หากมีอาการผื่นแพ้ที่ยุบยาก เป็นอยู่นานหลายชั่วโมงอาจทายาลดการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ ร่วมกับทานยาแก้แพ้กลุ่มต้านสารฮิสตามีนได้
ทั้งนี้ หากมีอาการผื่นขนาดใหญ่ บวมแดงมาก ปวด หรือมีลักษณะอาการติดเชื้อ เช่น มีหนอง มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้สูง ปวดข้อ หรือมีอาการแพ้รุนแรง ก็ควรรีบไปพบคุณหมอค่ะ
การป้องกันเพื่อลดโอกาสถูกยุงกัดทำได้อย่างไร? แพ้น้ำลายยุง ทำอย่างไร?
การป้องกันยุง หรือ แพ้ น้ำลาย ยุง ในเบื้องต้นสามารถทำได้โดย ใส่เสื้อผ้าที่มีแขนขายาว โดยประเทศไทยของเรามีอากาศร้อนอาจจะใช้เสื้อผ้าเนื้อบางแต่ปกปิดมิดชิด, ใส่ถุงเท้า-รองเท้าแทนการใส่รองเท้าแตะ, ไม่ใช้น้ำหอมหรือสบู่กลิ่นหอม, หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านช่วงค่ำ ใช้มุ้งหรืออุปกรณ์ป้องกันยุงต่างๆ
ส่วนการป้องกันยุงและแมลงโดยใช้ยาทากันยุงนั้นสมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน แนะนำว่าสามารถใช้ยาทากันยุงหรือยาจุดกันยุงที่มีส่วนผสมของ DEET (N,N-diethyl-meta-toluamide) ได้ในเด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป โดยสำหรับเด็กควรมีความเข้มข้นไม่เกิน 10% ส่วนผู้ใหญ่ใช้ได้ถึง 15-20% โดยมีคำแนะนำในการใช้อย่างระมัดระวังคือ
- ก่อนเริ่มใช้ทาทั่วร่างกายควรลองทาผิวหนังบริเวณไม่กว้างก่อนแล้วสังเกตอาการ
- หากมีอาการผื่นแพ้ ระคายเคืองผิวหนังควรหยุดใช้ทันที
- ไม่ควรใช้เกินวันละ 1 ครั้ง, ไม่ควรทาที่มือเด็ก ใกล้ปาก ใกล้ตา หรือผิวหนังบริเวณที่มีการอักเสบ
- ล้างออกเมื่อเข้ามาในบริเวณที่ไม่โดนยุงกัดแล้ว
นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์กันยุงที่ไม่มีส่วนประกอบของ DEET เช่น ตะไคร้หอม, น้ำมันยูคาลิปตัส ซึ่งยังไม่มีการศึกษาถึงอายุของเด็กที่ปลอดภัยในการใช้ชัดเจน
คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ ในการป้องกันและรักษาอาการแพ้ยุงของลูกในเบื้องต้นได้ แต่หากมีอาการรุนแรง หรือดูยืดเยื้อ ก็ควรไปพบคุณหมอนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สิ้นสุดการรอคอย วัคซีนไข้เลือดออก ถึงเมืองไทยแล้ว!
8 วิธีรับมือเเบบธรรมชาติ เมื่อทารกโดนยุงกัด
เด็กตู้อบก็รอดได้ ทำอย่างไรให้ทารกแรกเกิดยังมีชีวิตรอด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!