เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือนนั้นไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ เพราะนมแม่นั้นมีส่วนผสมของน้ำมากถึง 80 เปอร์เซ็นกันอยู่แล้ว และการให้เด็กที่ยังไม่ถึงวัยดื่มน้ำเยอะเกินไปละก็ ย่อมส่งผลเสียมากมายโดยที่คุณแม่อาจมองข้ามไปนั่นคือ
1. การให้ลูกดื่มน้ำ อาจส่งผลให้กระเพาะอาหารของลูกเต็มเร็ว ส่งผลให้ลูกน้ำหนักขึ้นช้า และกินนมแม่ได้น้อยลงถึง 11 เปอร์เซ็น
2. เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะน้ำเป็นพิษ ซึ่งจะพบบ่อยที่สุดในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน เนื่องจากไตของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถกรองของเหลวได้อย่างรวดเร็ว น้ำจึงไปเจือจางความเข้มข้นของโซเดียว ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในร่างกายที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลน้ำระหว่างนอกเซลล์และภายในเซลล์ โดยที่เด็กที่ดื่มน้ำเกินกว่าที่ร่างกายจะปรับสมดุลได้นั้น จะส่งผลให้ระดับเกลือโซเดียมต่ำ จนเกิดความผิดปกติของสมดุลสารน้ำในร่างกายของทารก น้ำจึงเข้าไปคั่งในเซลล์ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดอาการกระตุกหรือชัก สมองบวม โคม่าและเสียชีวิตได้ในที่สุด
คุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะเกิดคำถามว่า ทารกไม่ดื่มน้ำเลยเนี่ยนะ จะเป็นไปได้อย่างไร
คำตอบได้รับการชี้แจงจากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยแล้วว่า จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ลูกน้อยที่กินนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรกจะมีผลดีกับการเติบโตและพัฒนาการของลูก เพราะนมแม่มีคุณค่าและพลังงานที่เหมาะสมกับความต้องการของทารก การกินนมแม่ล้วนในช่วง 6 เดือนแรก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในทารกจากโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร ในทางเดินหายใจ (ปอดบวม) หรือหูอักเสบ ช่วยให้ร่ายกายของทารกฟื้นตัวเร็วเมื่อเจ็บป่วย และยังช่วยแม่คุมกำเนิดโดยธรรมชาติด้วย
ดังนั้น ไม่ว่าลูกจะดูตัวโต อ้วนใหญ่หรือว่าอย่างไร หากยังไม่ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้วละก็ อย่าเพิ่งให้ลูกดื่มน้ำกันเลยนะคะ
ที่มา: Whattoexpect, Parents และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
“น้ำองุ่น” น้ำผลไม้ที่ลูกคู่ควร
โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!