ลูกเป็นไมเกรน สาเหตุจากอะไร ไมเกรนในเด็ก อันตรายไหม วิธีป้องกันไมเกรนในเด็ก

เมื่อลูกเป็นไมเกรน พ่อแม่ต้องระวังเรื่องอะไร ไมเกรนในเด็ก อันตรายไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเป็นไมเกรน

สาเหตุอะไรที่ทำให้ ลูกเป็นไมเกรน ไมเกรนในเด็ก อันตรายไหม วิธีป้องกันไมเกรนในเด็ก

 

สาเหตุที่ลูกเป็นไมเกรน

นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงสาเหตุที่ลูกเป็นไมเกรน ว่า โรคไมเกรนเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก

 

โรคไมเกรนในเด็กพบได้ตั้งแต่ช่วงวัยอนุบาล

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเกิดจากพันธุกรรม เด็กจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ถ้าสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไมเกรน ปัจจัยภายนอกที่อาจกระตุ้นทำให้ปวดศีรษะ เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดในสมองที่มากเกินไป เนื่องด้วยสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า เซโรโตนิน ทำงานไม่ปกติ โดยสารนี้ทำหน้าที่ควบคุมการหดขยายของหลอดเลือดในสมอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคไมเกรนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • ไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน พบมากที่สุดในกลุ่มที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน
  • ไมเกรนที่มีอาการเตือน อาการเตือนที่พบบ่อย ได้แก่ การมองเห็นผิดปกติ โดยจะเห็นแสงเป็นเส้นซิกแซกคล้ายฟันเลื่อย อาจจะมีหรือไม่มีสีหรือเห็นภาพมืดไปเป็นบางส่วน มองภาพไม่ชัด สามารถสังเกตอาการได้จากเด็กมักบ่นปวดหัวทั้งที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีปัญหาเรื่องสายตา ปวดศีรษะบริเวณขมับ หรือหน้าผาก แต่ละครั้งนานเกิน 1 ชั่วโมง ปวดมากเมื่อมีการเคลื่อนไหว คลื่นไส้อาเจียนในบางครั้ง

 

ลูกเป็นไมเกรน สาเหตุจากอะไร 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันไมเกรนในเด็ก

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวถึงวิธีป้องกันไมเกรนในเด็ก ว่า โรคไมเกรนในเด็กไม่มีอันตรายรุนแรง เพียงแต่จะกระทบต่อชีวิตประจำวันทำให้หงุดหงิดงอแงมากกว่าปกติ วิธีการดูแลและป้องกันเมื่อเด็กมีอาการไมเกรน คือ

  1. หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยการใส่หมวก ใส่แว่นตา กางร่ม
  2. หลีกเลี่ยงอาหาร ช็อกโกแลต ชีส อาหารแปรรูป ไส้กรอก บะหมี่สำเร็จรูป เพราะอาหารเหล่านี้อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ ไมเกรนได้
  3. หลีกเลี่ยงการอดนอน นอนดึก การเล่นเกม การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ การออกกำลังกายที่รุนแรง และหักโหมมากเกินไป
  4. ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เมื่อมีอาการปวดศีรษะไม่รุนแรงมากนัก ให้นอนพัก
  5. ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นให้ทานยาพาราเซตามอล จะช่วยบรรเทาอาการปวด แต่หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรงมาก ไม่ดีขึ้น ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที

เมื่อลูกมีอาการปวดศีรษะบริเวณขมับ หรือหน้าผาก เป็นเวลานาน ๆ ปวดมากเมื่อมีการเคลื่อนไหว คลื่นไส้อาเจียนในบางครั้ง ให้รีบพาไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่า ลูกเป็นไมเกรนหรือไม่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!

6 วิธีแก้ปัญหาลูกป่วยบ่อย ลูกไม่สบายบ่อย ป้องกันไม่ให้ลูกป่วยได้อย่างไรบ้าง

หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยไอแพด อันตราย ทารกดูมือถือ สมาธิสั้น

ลูกหลับในรถ อันตราย! พ่อแม่ลงไปกินก๋วยเตี๋ยว กลับมาเปิดประตูไม่ได้ รถล็อคอัตโนมัติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya