X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ระวังเสียชีวิต แม้ลูกเป็นไข้หวัดธรรมดา หาก ซื้อยามากินเอง

บทความ 5 นาที
ระวังเสียชีวิต แม้ลูกเป็นไข้หวัดธรรมดา หาก ซื้อยามากินเอง

เวลาลูกไม่สบายการซื้อยาประเภท ยาเเก้ไอ ยาเเก้ไข้ มากินเอง นอกจากลูกจะได้กินยาเกินขนาดเเล้ว ยังเสี่ยงให้ลูกเสียชีวิตอีกด้วยนะคะ

ปกติแล้วเมื่อเด็ก ๆ เริ่มไปโรงเรียน การติดหวัดเพื่อน ๆ นับว่าเป็นเรื่องธรรมดานะคะ ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค บอกไว้ว่า ร่างกายฟื้นฟูหายจากอาการไม่สบายจริง ๆ ภายใน 7-10 วัน แต่เด็ก ๆ ต้องใช้เวลานานกว่านั้นค่ะ และที่แน่ ๆ คือ เด็ก ๆ ติดเชื้อโรคง่ายกว่าผู้ใหญ่ 6-10 เท่าเลยทีเดียว และคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ก็จะหา ซื้อยามากินเอง แต่รู้ไหมคะ ว่าการใช้ยา Over The Counter Medications หรือ OTC (คือยาที่ซื้อหาได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากคุณหมอ อย่างยาแก้ไอ ยาแก้ไข้) ไม่ควรใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งในบางกรณีอาจนำไปสู่การอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก

เมื่อเด็ก ๆ ต้องกินยาที่อยู่ในกลุ่มของ OTC นั้น การใช้มาตรฐานเดียวกับการกะขนาดสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้เด็ก ๆ กินในปริมาณที่น้อยกว่าตามอายุหรือตามน้ำหนักนั้นก็ทำไม่ได้เช่นกันค่ะ แม้ว่าจะมีอาการเดียวกันกับผู้ใหญ่ก็ตาม เพราะยาประเภทนี้ไม่มีการรับรองความปลอดภัยว่าสามารถใช้กับเด็กๆ ได้

ซึ่งในปี 2008 องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ FDA ห้ามไม่ให้ใช่ยา OTC ที่ช่วยแก้ไอ ลดไข้ กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ และตกลงกับบริษัทผู้ผลิตยาว่าจะติดป้ายห้ามยานี้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ขวบ

ไม่ใช่แค่เรื่องนิดหน่อย แต่ทำให้เสียชีวิตได้

มีรายงานการเสียชีวิตของเด็กจำนวน 100 คน ที่ใช้ยาในกลุ่ม OTC ทั้งที่เกินขนาด และให้กินบ่อยเกินไป การวัดตวงปริมาณมาณยาที่มากเกินไป และการออกฤทธิ์ที่ส่งผลเสียต่อร่างกายของเด็ก ๆ

นอกจากนี้ยังมีตัวยาโคเดอีนที่ผสมอยู่ในยาแก้ไอ ซึ่งจะออกฤทธิ์คล้ายมอฟีน ซึ่งอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของเด็กๆ สามารถทำให้หยุดหายใจได้ แม้จะเป็นการใช้ในผู้ใหญ่ก็ต้องระมัดระวังเช่นกันค่ะ

ผลลัพธ์ของยาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

การใช้ยาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงแค่การมีอาการป่วยเดียวกัน แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาด้วย อาทิ เช่น

  • สภาพร่างกาย: ผู้ป่วยบางรายอาจมี โรคประจำตัว หรือ การแพ้ยา บางชนิด ยิ่งในเควที่เป็นเด็ก บางครั้งเราอาขไม่รู้เลยว่าเด็กแพ้ยาชนิดไหน หรือยาชนิดไหนไม่ควรใช้กับโรคประจำตัวไหนบ้าง
  • อายุ: โดยหลัก ๆ แล้ว เด็กเล็ก และ ผู้สูงอายุ มักมีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง จากยาได้มากกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป
  • โรคร่วม: จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า บางโรคห้ามใช้ยาบางชนิด ซึ่งในบางกรณีอาจรุนแรงถึงชีวิตเลยก็ได้

ดังนั้น การเลือกใช้ยาตามคนอื่น หรือการที่คนอื่นใช้ยานี้แล้วได้ผลดี ไม่ได้หมายความว่า เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนกันเสมอไป ที่สำคัญการใช้ยาที่เหมาะสม ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ซึ่งจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และ เหมาะสม กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยมากที่สุด

Advertisement

ทางเลือกอื่น ๆ ในการรักษา

การรักษาทางเลือกอื่น ๆ ที่เป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างเช่น การหยดหรือสเปรย์จมูก การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ควบคุมอุณหภูมิและความชื่นในบ้านหรือในห้องนอน ก็ช่วยในเรื่องของอาการคัดจมูกได้เป็นอย่างดีค่ะ หากลูกมีไข้ หายาลดไข้ที่มีตัวยา Acetaminophen หรือ Ibuprofen ดูค่ะ

ถ้าลูกไอมาก ลองให้จิบน้ำผึ้งทีละนิด ก็ช่วยได้ค่ะ แถมยังปลอดภัยกว่ายาแก้ไอที่ขายอยู่ทั่วไปด้วย สิ่งสำคัญคือการพักผ่อนนอนหลับให้มากๆ และหยุดเรียนจนกว่าจะหาย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคไปติดเพื่อนๆ แต่ถ้าหากลูกมีอาการอื่นๆ มากกว่านี้ ก็ควรพาลูกไปหากุมารแพทย์นะคะ

ยาสำหรับเด็กชนิดไหน ที่ไม่ควร ซื้อยามากินเอง ?

ระวังเสียชีวิต แม้ลูกเป็นไข้หวัดธรรมดา หาก ซื้อยามากินเอง

1) ยากลุ่มซัลฟา

ยากลุ่มซัลฟาเป็นชนิดยาที่ใช้ต้านมาลาเรีย ซึ่งถ้าหากให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคพร่องเอนไซม์รับยาตัวนี้เข้าไป ตัวยาก็จะไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตก ในระยะยาว ยาเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย G6PD โดยเฉพาะเด็ก

 

2) ยาฆ่าเชื้อกลุ่มเตตร้าไซคลิน และยาคลอแรมเฟนิคอล

ยาฆ่าเชื้อกลุ่มเตตร้าไซคลินและคลอแรมเฟนิคอล ไม่ควรนำมาใช้ในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี

เนื่องจากยาเหล่านี้อาจส่งผลร้ายแรงต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนี้

  • ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก: ยาเหล่านี้อาจขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอและหยุดการเจริญเติบโต
  • ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของฟัน: ยาเหล่านี้อาจทำให้ฟันเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือเทาถาวร
  • ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน: ยาเหล่านี้อาจลดการผลิตเม็ดเลือดขาว ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

 

3) ยากลุ่มแอสไพริน

ถึงแม้ว่ายาแอสไพริน จะเป็นยาแก้ไข้และลดอาการหวัดที่หลายคนคุ้นเคย แต่ไม่ควรนำยาชนิดนี้มาใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี และเด็กที่มีอาการป่วยจากเชื้อไวรัสบางชนิด สาเหตุหลัก ๆ เป็นเพราะว่าเมื่อร่างกายของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส ได้รับยากลุ่มนี้ อาจส่งผลร้ายแรง เกิดเป็นโรค “รายส์ ซินโดรม” (Reye’s syndrome) หรือภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ร่วมกับภาวะตับวาย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

4) ยากลุ่มโลเพอราไมด์

ยาโลเพอราไมด์ เป็นยาที่ใช้รักษาอาการท้องเสีย โดยออกฤทธิ์หยุดการเคลื่อนไหวของลำไส้

อย่างไรก็ตาม ยาชนิดนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ดังนี้:

  • ปากแห้ง คอแห้ง
  • ท้องผูก
  • ปวดท้อง
  • ในบางรายอาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

 

5) ยากลุ่มเดกซ์เมทอร์แฟน

อีกหนึ่งกลุ่มยาที่ไม่ควรซื้อมากินเองกับเด็ก นั่นก็คือ ยากลุ่มเดกซ์โทรเมทอร์แฟน ซึ่งเปรียบเสมือนยาแก้ไอ  อย่างไรก็ตาม เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ห้ามใช้ยาชนิดนี้เด็ดขาด เพราะตัวยาอาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของเด็กได้

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ายาสำหรับเด็กแต่ละชนิดจะมีการกำหนดช่วงอายุที่ ปลอดภัย ในการใช้ แต่สื่งที่เราต้องคำนึงถึงคือเด็กแต่ละคน อาจมีอาการแพ้หรือผลข้างเคียงจากยาที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรอย่างใกล้ชิดและคอยจดบันทึกยาที่ลูกใช้ทุกตัวว่า มียาตัวไหนที่ลูกมีอาการแพ้ หรือ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษไหม ซึ่งจะช่วยในการไปพบแพทย์ หรือ เภสัชกรครั้งต่อไป จะได้แจ้งอาการ และ ปรึกษาหาตัวยาอื่นมาใช้ทดแทนได้อย่างปลอดภัย

 

ที่มา CNN, Rama Mahidol, Trueplookpanya

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ลูกเสี่ยงตาย เพราะในยาเเก้ไอมี..

โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล

parenttown

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ระวังเสียชีวิต แม้ลูกเป็นไข้หวัดธรรมดา หาก ซื้อยามากินเอง
แชร์ :
  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว