ระยะของการคลอด เป็นอย่างไร คลอดรกตอนไหนเจ็บปวดที่สุด?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระยะของการคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องหลายคนควรรู้ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่จะไม่ตกใจเมื่อถึงเวลาของการคลอดบุตร โดยเมื่อถึงช่วงที่คุณแม่เจ็บท้องคลอดนั้น มดลูกจะเริ่มหดรัดตัวและปากมดลูกจะขยายเพื่อให้ทารกเคลื่อนผ่านออกมายังโลกภายนอกนั่นเอง วันนี้เราจะพามาดูกันว่าระยะของการคลอด แบ่งเป็นกี่ระยะ และคุณแม่ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถึงเวลารอคลอด ไปติดตามอ่านกันค่ะ

 

ระยะของการคลอด มีอะไรบ้าง

เชื่อว่าคุณแม่หลายท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ คงตื่นเต้นไม่น้อย สำหรับการคลอดที่กำลังจะมาถึง เรามาดูกันค่ะว่าระยะของการคลอดแต่ละช่วงนั้น เป็นอย่างไรบ้าง

 

1. ระยะแรก

  • ช่วงแรกของการคลอด

เมื่อเข้าสู่ช่วงแรกของการคลอด สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือ ปากมดลูกจะเริ่มบางลง และเกิดการขยายตัว แม่ท้องจะรู้สึกได้ว่ามดลูกบีบตัวทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาคลอด ซึ่งบางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าเจ็บท้องใกล้คลอด แต่ก็ยังไม่ใช่ อาการเจ็บอาจจะเกิดขึ้นกับแม่ท้องบางคน แต่บางคนก็อาจจะไม่รู้สึกอะไรเลย และยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ ในขณะที่แม่ท้องบางคนที่ปากมดลูกยังไม่ขยาย แต่รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวก็มี

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรอธิบายถึงอาการที่เกิดคุณให้คุณหมอฟังอย่างละเอียด ซึ่งคุณหมออาจให้รอจนกว่ามดลูกจะขยายตัวมากกว่านี้ หรือบางครั้งอาจให้แม่ท้องนอนดูอาการที่โรงพยาบาลเลยก็มี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ช่วงเจ็บเตือน

สำหรับแม่ท้องแล้ว ช่วงที่ยากลำบากและเจ็บปวดช่วงหนึ่งก็คือช่วงเจ็บเตือน เพราะมดลูกจะขยายตัวมากขึ้น ในช่วงนี้ปากมดลูกจะเริ่มขยายตัวจาก 4 เซนติเมตร เป็น 7 เซนติเมตร โดยอาการเจ็บปวดในช่วงนี้อาจจะนานหลายชั่วโมง หรืออาจจะมีอาการเจ็บปวดเป็นวัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณแม่และลูกในท้องด้วย

ในช่วงนี้แม่ท้องต้องพยายามทำตัวเองให้ผ่อนคลาย โดยใช้เทคนิคการหายใจ และหากแม่ท้องรู้สึกสบายตัวมากขึ้น ก็อาจจะลองลุกขึ้นยืนและค่อย ๆ เดินไปรอบ ๆ แทนที่จะนอนอยู่บนเตียง และพยายามอดทนไว้ก่อน อย่าเพิ่งเบ่ง

 

  • เจ็บพร้อมคลอด

เมื่อมดลูกขยายตัวจาก 7 เซนติเมตร เป็น 10 เซนติเมตรแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่แม่ท้องเจ็บพร้อมคลอด หรือกำลังเข้าสู่ขั้นที่ 2 ของการคลอด โดยช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่เจ็บปวดที่สุดของการคลอด การหดตัวของมดลูกจะเพิ่มเป็นสองเท่า และจะเริ่มปวดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ช่วงนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย และเจ็บปวดมาก แต่ขอให้คุณแม่อดทนไว้ก่อน เพราะอีกไม่นาน ก็จะได้พบหน้าเจ้าตัวน้อยแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการเจ็บท้องคลอด เจ็บแบบไหน ส่งสัญญาณว่าคลอดชัวร์!

 

 

2. ระยะที่ 2

  • ระยะคลอดลูก

เมื่อปากมดลูกของคุณแม่ขยายตัวเต็มที่แล้ว เจ้าตัวน้อยก็จะค่อย ๆ คลอดออกมาตามช่องคลอดเองเนื่องจากการบีบตัว ในตอนนี้เป็นตอนที่คุณแม่เบ่งคลอด โดยระยะเวลาของการคลอดจะนานขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเด็กทารกและการเบ่งของคุณแม่ ถ้าทารกตัวใหญ่ ก็อาจจะต้องใช้เวลาคลอดนานขึ้น และเมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว ความเจ็บปวดของคุณแม่ก็แทบจะหายเป็นปลิดทิ้ง หลังจากได้ยินเสียงร้องของเจ้าตัวน้อย และความตื้นตันก็จะเข้ามาแทนที่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ระยะที่ 3

  • การคลอดรก

หลังจากที่ลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว การคลอดยังไม่จบนะคะ และก็ถึงเวลาของการคลอดรก คุณแม่อาจจะพัก 10 – 15 นาที หลังจากคลอดลูกเสร็จ โดยในช่วงนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงการบีบตัวแบบเบา ๆ แต่ก็ไม่เจ็บปวดอะไรมากแล้ว

 

4. ระยะที่ 4

  • ระยะฟื้นฟู

เมื่อการคลอดเสร็จสมบูรณ์ ก็ถึงคราวที่คุณแม่จะเริ่มผ่อนคลายได้แล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกจะได้กินน้ำนมจากเต้าของคุณแม่ เป็นช่วงที่รู้สึกได้ถึงไออุ่นรักระหว่างอ้อมกอดของแม่และลูกน้อย น้ำนมแม่นั้น เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย นอกจากนี้ การให้นมในช่วงหลังคลอดยังช่วยกระตุ้นร่างกาย ให้มดลูกเข้าที่ ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็ว และยังช่วยให้น้ำหนักลดลงหลังคลอดอีกด้วยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : สต็อกน้ำนมเหลือง สต็อกนมแม่หลังคลอด ทำอย่างไร แค่ไหนถึงพอ

 

 

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อไปรอคลอดที่โรงพยาบาล

เมื่อคุณแม่ไปถึงที่โรงพยาบาล เจ้าที่จะคอยดูแลและให้คำแนะนำในขณะที่รอคลอด ดังนี้

  • งดรับประทานอาหารและน้ำ ยกเว้นคุณแม่ที่ปากมดลูกเปิดน้อยจะได้รับประทานอาหารเป็นมื้อ ๆ
  • ได้รับการสวนอุจจาระ โดยเมื่อสวนแล้ว ต้องพยายามถ่ายอุจจาระให้มดเพื่อไม่ให้ขวางช่องคลอดขณะที่ศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงมา และเพื่อไม่ให้เลอะเทอะขณะที่กำลังคลอดลูก
  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะหากกระเพาะปัสสาวะโป่งพองมาก อาจขัดขวางการเคลื่อนต่ำของทารก
  • หากคุณแม่ยังไม่มีน้ำเดิน สามารถเดินได้ แต่หากมีน้ำเดินแล้วต้องนอนหรือนั่งพักบนเตียง เพราะอาจทำให้สายสะดือย้อยได้
  • คุณแม่สามารถใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อช่วยลดอาการเจ็บครรภ์ได้
  • หากคุณแม่รู้สึกถึงอาการน้ำเดินออกทางช่องคลอด เจ็บครรภ์ หรืออยากเบ่ง ต้องแจ้งเจ้าที่ทันที
  • แพทย์อาจเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อกระตุ้นให้เจ็บท้องมากขึ้น ซึ่งขณะเจาะน้ำคร่ำคุณแม่จะรู้สึกถึงน้ำอุ่น ๆ ไหลออกทางช่องคลอด

 

คุณแม่ควรเบ่งคลอดท่าไหน

สำหรับท่าที่เหมาะสมในการเบ่งคลอด คือ ท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน หรือยกหัวสูงเล็กน้อย โดยเมื่อมดลูกหดรัดตัว คุณแม่ควรสูดลมหายใจช้า ๆ แยกศีรษะก้มหน้า แยกเข่าให้กว้างพร้อมคลายกล้ามเนื้อช่องคลอด สองมือให้กำเหล็กข้างเตียง แล้วออกแรงเบ่งลูกทางช่องคลอดคล้ายกับถ่ายอุุจจาระประมาณ 6 วินาที แล้วผ่อนลมหายใจ เงยหน้าขึ้นพร้อมสูดลมหายใจกลั้นไว้ แล้วเบ่งซ้ำ ๆ จนมดลูกคลายตัว ซึ่งปกติแล้วมดลูกหดรัดตัวครั้งหนึ่ง คุณแม่จะสามารถเบ่งได้ 3-4 ครั้ง เมื่อมดลูกคลายตัวให้คุณแม่สูดลมหายใจช้า ๆ แล้วนอนพัก

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเบ่งลูก เบ่งคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี กับเทคนิคการหายใจ หญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ขณะคลอดลูกเป็นอย่างไร

เมื่อปากมดลูกเปิด คุณแม่จะถูกย้ายตัวเข้าห้องคลอด โดยแพทย์จะให้คุณแม่นอนขึ้นเพื่อเบ่งคลอด เมื่อศีรษะทารกออกมา แพทย์จะดูดเมือกจากปากและจมูก และช่วยทารกคลอด โดยในระหว่างนี้คุณแม่ไม่ต้องช่วยเบ่งนะคะ เพราะจะทำให้ทารกคลอดเร็วเกินไปอาจทำให้ช่องคลอดฉีกขาด หรือทำให้ลูกหลุดมือแพทย์ทำคลอดได้ ยกเว้นกรณีที่ทารกตัวใหญ่ แพทย์จะให้คุณแม่ช่วยเบ่งเบา ๆ จากนั้นจะทำการคลอดรกโดยกดที่หน้าท้อง คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บค่ะ หากพบว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่จะสามารถดื่มน้ำและนอนพักเพื่อสังเกตอาการได้ จากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมงจะย้ายไปพักที่ห้องพิเศษแทน

 

หลังจากที่คลอดลูกแล้ว เจ้าหน้าที่จะนำตัวทารกไปดูแล เช็ดทำความสะอาดที่เครื่องให้ความอบอุ่น และนำป้ายผูกข้อมือทารก จากนั้นจึงนำไปอาบน้ำและฉีดวัคซีนที่ห้องทารกแรกเกิด ดังนั้น คุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วงเลยนะคะ สำหรับคุณแม่ท่านใดที่มีประสบการณ์ตอนคลอด หรือมีเรื่องราวที่อยากแบ่งปันให้กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ได้ทราบ ก็สามารถร่วมบอกเล่าประสบการณ์ผ่านช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ท่านั่งเร่งคลอด นั่งท่าไหนช่วย มดลูกเปิดเร็ว ลดอาการเจ็บคลอด

วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ คำแนะนำการดูแลตนเองอย่างปลอดภัย

เตรียมของใช้ทารกแรกเกิดไปโรงพยาบาล ใกล้คลอดแล้ว…ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ที่มา : sriphat

บทความโดย

P.Veerasedtakul