นอกจากนี้ยังมียาที่มีส่วนประกอบเหล่านี้ ได้แก่ ยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไม่ควรใช้ในทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน เพราะอาจทำให้ซึมนอนไม่หลับหรือชักได้ ยาโลเปอราไมด์ (Loperamide) ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะอาจกดศูนย์การหายใจ ยาเตตร้าซัยคลิน (Tetracyclin) ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ เพราะอาจทำให้ฟันเหลืองดำอย่างถาวรและกระดูกเจริญเติบโตไม่ดี ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) ห้ามใช้ในเด็กอายุ ต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะยาอาจกดศูนย์กลางการหายใจ
(ข้อมูลจาก :ภ.ญ.วนิชา ใจสำราญ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม)
เมื่อลูกเป็นไข้ เลือกยาแบบไหน ให้ลูกได้รับแบบเต็มร้อย
เด็กกับการทานยาเป็นปัญหาระดับชาติที่คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านมักเจอ บ้านไหนที่ลูกยอมทานยาง่ายๆ ก็โชคดีไป แต่ถ้าบ้านไหนไม่ยอม… พ่อแม่อย่างเราก็ต้องหลอกล่อทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ลูกยอมกินยา ไม่ว่าจะเป็นแอบใส่ไปในอาหาร ผสมกับน้ำหวานๆ แต่ถึงจะทำอย่างนั้นเจ้าตัวเล็กก็ยังรู้ทันและบ้วนทิ้งแทบจะทุกครั้งไป เลยทำให้ลูกได้รับยาไม่ครบถ้วน จึงไม่หายจากอาการไข้สักที
คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราที่รักและห่วงใยลูกแบบเต็มร้อย ก็ย่อมอยากที่จะให้ลูกกลับมาแข็งแรง ดังนั้นวันนี้เราจึงมี 5 วิธีในการเลือกยาลดไข้มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคน เพื่อที่จะให้เจ้าตัวเล็กได้รับยาแบบเต็มร้อยค่ะ
ยาแบบน้ำเชื่อมใสดีกว่า
น้ำที่ให้เด็กทานมีด้วยกันหลักๆ อยู่ 2 แบบ คือ
- 1.ยาน้ำแบบแขวนตะกอน คือตัวยาจะเป็นสีขุ่นและตกตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้ เวลาใช้จะต้องเขย่าให้ยาเข้ากันก่อน
- 2.ยาแบบน้ำเชื่อมใส ที่ตัวยาละลายเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำเชื่อม เวลาใช้ก็สามารถเทป้อนลูกได้เลยไม่ต้องเขย่าให้เข้ากันก่อน
ซึ่งแบบที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้เจ้าตัวเล็กก็ควรเป็นยาน้ำแบบเชื่อมใสจะดีกว่าค่ะ เพราะตัวยาผสมเรียบร้อย ไม่ตกตะกอน เวลาจะป้อนก็ไม่ต้องเขย่าก่อน ก็จะทำให้ลูกได้รับยาครบถ้วนเต็มร้อย ถ้าเกิดเป็นยาน้ำแบบแขวนตะกอน ถ้าเราเขย่าไม่ดี เวลาที่ป้อนยาลูกแต่ละครั้ง เขาก็จะได้รับปริมาณยาที่ไม่เท่ากันค่ะ
เลือกยาที่มีสีสันสดใสและรสชาติหวาน
อย่างที่รู้กันว่าเด็กกับยาก็เหมือนลิ้นกับฟันที่เจอกันทีไรก็คือเป็นเรื่องใหญ่ จะป้อนยาให้เจ้าตัวเล็กแต่ละทีก็คือร้องไห้ราวกับถูกป้อนยาพิษ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกเลยที่จะหลอกล่อเด็กกินยาได้ก็คือ หน้าตาสีสันของยานี่แหละค่ะ ถ้ายาเป็นน้ำใสๆ ไม่ข้น สีสันสดใสคล้ายๆน้ำผลไม้ เด็กๆก็จะให้ความร่วมมือดีขึ้น อีกอย่างที่สำคัญคือรสชาติของยา
เพราะลิ้นของเด็กรับรู้รสหวานได้ดีกว่า และไวต่อรสขม ถึงแม้จะมีความขมเพียงนิดก็ส่ายหน้าหนีแล้ว ดังนั้นเราควรเลือกยาที่มีรสชาติหวาน เพื่อยอมให้ลูกกินยา รวมไปถึงถ้ามีกลิ่นหอมๆ ก็จะช่วยกลบกลิ่นยาได้ดี ส่วนมากที่เห็นก็จะเป็นกลิ่นส้ม กลิ่นสตรอเบอร์รี่ และกลิ่นองุ่นค่ะ
ใช้ตัวยาพาราเซตามอล
พาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องของบรรเทาอาการปวด ลดไข้ ซึ่งมีความปลอดภัยมากๆ ในการใช้ แต่หลายๆ คนก็คงสงสัยว่าพาราเซตามอลนั้นแตกต่างจากแอสไพรินยังไง คือ แอสไพรินเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดี เพราะช่วยรักษาอาการอักเสบ รวมไปถึงช่วยลดไข้ แต่มีผลข้างเคียงจากการใช้มากกว่าการใช้ยาพาราเซตามอล ตั้งแต่ข้างเคียงน้อยอย่างระคายเคืองกระเพาะอาหาร ไปจนถึงผลข้างเคืองที่รุนแรงอย่างเลือดออกในกระเพาะ
โดยกระทรวงสาธารณะสุขได้ออกประกาศ ห้ามไม่ให้ใช้ยาแอสไพรินแก้ปวด ลดไข้ ในเด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี ดังนั้นหากใช้เพื่อลดไข้ให้ลูกแนะนำว่าใช้เป็นตัวยาพาราเซตามอลก็จะปลอดภัยกว่าค่ะ นอกจากนี้ก็ควรเลือกแบบที่ปราศจากแอลกอฮอล์ก็จะดีค่ะ
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่ยามีด้วยกันหลักๆ อยู่ 2 แบบ คือขวดยาแบบสีชา และขวดยาแบบใส ซึ่งขวดแต่ละอย่างก็มีวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการเก็บยาต่างกัน อย่างขวดยาสียา ก็ใช้สำหรับบรรจุยาที่ห้ามโดนแสง เพราะถ้าโดนแสงประสิทธิภาพของยาก็จะลดลงได้ แต่ก็มีข้อต้องระวังตรงที่ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นยาที่อยู่ด้านในขวดได้อย่างชัดเจน เวลาที่จะป้อนให้ลูกก็เลยต้องสังเกตให้ดีว่ายาผิดปกติไหม หรือหยิบยามาป้อนลูกผิดรึเปล่า
แต่ถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์แบบใสก็จะทำให้เราเห็นยาที่บรรจุภายในขวดได้ชัดเจนว่ายามีลักษณะที่ผิดปกติหรือไม่ มีสีหรือความเหนียวข้นของยาแตกต่างไปจากเดิม อีกทั้งยังทำให้เราหยิบยามาป้อนให้ลูกได้อย่างมั่นใจว่าถูกขวดแน่นอน