X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ผนังหน้าท้องไม่ปิด สาเหตุการเกิด gastroschisis ที่ทำให้ลูกต้องทรมานตั้งแต่แรกเกิด

บทความ 5 นาที
ผนังหน้าท้องไม่ปิด สาเหตุการเกิด gastroschisis ที่ทำให้ลูกต้องทรมานตั้งแต่แรกเกิด

หนังหน้าท้องไม่ปิด เกิดจากอะไร มารู้จัก Gastroschisis ภาวะลำไส้อยู่นอกช่องท้องในทารกแรกเกิด

ผนังหน้าท้องไม่ปิด สาเหตุการเกิด gastroschisis

ลูกต้องทรมานตั้งแต่แรกเกิด ผนังหน้าท้องไม่ปิด มาทำความเข้าใจ สาเหตุการเกิด gastroschisis หนังหน้าท้องไม่ปิด เพราะเกิดภาวะลำไส้อยู่นอกช่องท้องในทารกแรกเกิด

คุณแม่ท่านหนึ่งได้โพสต์ภาพ พร้อมเล่าถึงอาการของลูกที่ป่วยเป็น gastroschisis เพื่อเป็นกำลังใจให้แม่ท่านอื่น ๆ โดยโพสต์ว่า

ขออนุญาตนำภาพน้องพาขวัญมาเป็นกำลังใจให้คุณแม่ที่มีลูกกำลังป่วยนะคะ

น้องพาขวัญเป็นโรค gastroschisis หรือผนังหน้าท้องไม่ปิด บวกกับลำไส้อุดตัน ต้องตัดต่อลำไส้ ขนาดลำไส้ใหญ่เท่าขนาดเล็ก ลำไส้เล็กเท่ากับลำไส้ใหญ่ เนื่องด้วยลำไส้แช่ในน้ำคร่ำนาน เลยทำให้ลำไส้น้องบวมและอุดตัน

  • น้องพาขวัญคลอดก่อนกำหนด 35+5 สัปดาห์ ก่อนวันคลอดน้องไม่ดิ้น ต้องผ่าคลอดฉุกเฉิน
  • คลอดออกมาน้องหายใจเองไม่ได้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจมีผิวคล้ำ
  • อยู่ NICU เดือนกว่า ๆ ผ่าตัดไปแล้วทั้งหมด 4 รอบ
  • แทง Central Line เพื่อให้สารอาหารทางเส้นเลือดใหญ่ 7 เส้น
  • สลับกับแทงเส้นเลือดแดงเป็นระยะ (เพราะน้องกินนมไม่ได้) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้สารอาหารทางเส้นเลือด ตั้งแต่วันคลอดจวบจนวันนี้ก็ 6 เดือนแล้วที่น้องยังคงรักษาตัวที่โรงพยาบาล

ขอเป็นกำลังใจให้แม่ๆ ทุกคนที่มีลูกกำลังป่วย เราจะสู้ไปด้วยกันนะคะ

 

สาเหตุการเกิด gastroschisis

คุณแม่ยังเล่าด้วยว่า เคยถามคุณหมอเหมือนกันว่าโรคนี้เกิดจากอะไร คุณหมอก็หาสาเหตุไม่ได้เหมือนกันค่ะ แต่คุณหมอบอกว่าโรคนี้จะเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่อายุน้อยกับคุณแม่ที่น้ำหนักตัวน้อย ซึ่งความจริงแล้ว แม่ก็อายุเยอะแล้ว 37 ปี น้ำหนักตัวของแม่ก็อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ส่วนลำไส้ที่แช่เป็นเวลานานหลายเดือน ทำให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติ กว่าจะกลับมาทำงานได้ปกติต้องใช้เวลาพอสมควร บางคนก็ 6 เดือน บางคนก็ 1 ปี บางคนก็ 2 ปี ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเด็กแต่ละคนค่ะ

ตอนนี้ก็อยู่โรงพยาบาลตลอด เพราะน้องกินนมไม่ได้ต้องให้สารอาหารทางเส้นเลือดดำ แต่น้องก็เริ่มกินนมได้บ้างแล้วด้วยการใช้เครื่องให้นม

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอให้น้องแข็งแรงในเร็ววัน และขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกท่านที่กำลังดูแลลูกน้อย อย่าเพิ่งท้อนะคะ

 

อ่านข้อมูล ภาวะลำไส้อยู่นอกช่องท้องในทารกแรกเกิด จากคุณหมอในหน้าถัดไป

ภาวะลำไส้อยู่นอกช่องท้องในทารกแรกเกิด (Gastroschisis) คืออะไร?

คุณแม่ท่านหนึ่ง ซึ่งไม่เคยฝากครรภ์ คลอดลูกออกมาแล้วพบว่าลูกน้อยวัยแรกเกิดมีลำไส้ออกมากองที่หน้าท้อง ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก คุณหมอให้การวินิจฉัยว่า ลูกมีภาวะลำไส้อยู่นอกช่องท้องในทารกแรกเกิดหรือ Gastroschisis จึงได้ให้คำแนะนำและตอบคำถามของคุณแม่ดังนี้ค่ะ

 

Gastroschisis คืออะไร?

Gastroschisis เป็นภาวะที่มีความพิการแต่กำเนิดของทารกชนิดหนึ่ง โดยทารกจะมีลำไส้อยู่นอกช่องท้องเพราะผนังหน้าท้องใกล้กับสะดือแยกเป็นช่องโหว่ ซึ่งมักจะอยู่ทางด้านขวาของสะดือ ซึ่งจัดเป็นภาวะที่ทารกจะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะนี้โดยทันทีหลังคลอด

ภาวะนี้พบได้ประมาณ 1 ใน 5,000 ถึง 1 ใน 20,000 ของทารกแรกเกิดมีชีพ มักพบในคุณแม่ที่เป็นครรภ์แรกและคุณแม่มีอายุน้อย

 

Gastroschisis เกิดจากอะไร?

ภาวะนี้เกิดจากผนังหน้าท้องไม่แข็งแรงและแตกออกทำให้ลำไส้หลุดออกมานอกช่องท้อง ซึ่งไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่มีรายงานการศึกษาว่า พบมากในทารกที่คุณแม่…

  • ดื่มสุรา
  • สูบบุหรี่
  • มีอายุน้อย
  • ทารกที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด

(ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ ก็ไม่ควรดื่มสุรา สูบบุหรี่ นะคะ)

 

การวินิจฉัย Gastroschisis ทำได้อย่างไร ?

ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยในทารกที่อยู่ในครรภ์ได้ตั้งแต่ก่อนคลอด โดยคุณหมอสามารถทำอัลตร้าซาวด์พบลักษณะลำไส้อยู่นอกช่องท้อง ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยภาวะนี้คุณหมอจะรีบส่งตัวคุณแม่มารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีบุคลากร เช่น ศัลยศาสตร์พร้อมที่จะดูแลทารกที่มีภาวะนี้

หากได้รับการวินิจฉัยเมื่อแรกเกิด จะพบว่าทารกที่มีภาวะนี้จะเกิดมาพร้อมกับมีช่องโหว่ของผนังหน้าท้องและมีอวัยวะภายใน โดยเฉพาะลำไส้ออกมาจากช่องท้องซึ่งลำไส้จะดูบวมเพราะแค่อยู่ในน้ำคร่ำนาน

 

การดูแลรักษาทารกที่มีภาวะ Gastroschisis ทำได้อย่างไร?

ทารกแรกเกิดที่มีภาวะนี้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขความผิดโดยด่วน เพราะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างรุนแรงการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ และการสูญเสียความร้อนจนอุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่าปกติอันจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การผ่าตัดนำลำไส้เข้าไปในช่องท้องจะต้องระวังการติดเชื้อแทรกซ้อนและการเกิดภาวะหายใจผิดปกติของทารก

ดังนั้น หลักในการดูแลผู้ป่วยจึงต้องป้องกันการสูญเสียน้ำและความร้อน โดยให้ความอบอุ่นแก่ทารกให้เพียงพอให้ สารน้ำและเกลือแร่ และให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมการติดเชื้อ พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจแก่ทารก และส่งตัวทารกให้ถึงโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษา เพื่อที่ศัลยแพทย์จะได้ทำการผ่าตัดลำไส้เข้าไปอยู่ในช่องท้องและเย็บปิดผนังหน้าท้องแก่ผู้ป่วย ทั้งนี้ การผ่าตัดอาจกระทำเพียงแค่ครั้งเดียวหรืออาจต้องผ่าตัดหลายครั้ง หากทารกมีลำไส้บวมมากและผนังหน้าท้องเล็กเกินไป เพราะหากใส่ลำไส้กลับเข้าไปหมดจะทำให้เกิดปัญหาการหายใจไม่เพียงพออันเป็นอันตรายได้

 

พยากรณ์โรคของภาวะ Gastroschisis เป็นอย่างไร?

ปัจจุบันการพยากรณ์โรคของภาวะนี้ดีขึ้นมาก เนื่องจากสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์และส่งตัวผู้ป่วยเพื่อเตรียมการคลอดทารกได้เร็วขึ้นทำให้ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยที่สำคัญคือการติดเชื้ออย่างรุนแรง ลดลงมาก

ผู้ป่วยภาวะนี้ปัจจุบันมีอัตราการรอดชีวิตที่สูงหากได้รับการรักษาโดยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้จาก ความผิดปกติที่พบร่วม เช่น

  1. ลำไส้อุดตัน
  2. ทารกคลอดก่อนกำหนด
  3. การติดเชื้อในกระแสเลือดจากการให้อาหารทางหลอดเลือด

ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรักษาเฝ้าระวังตลอดการดูแลผู้ป่วยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกเป็นโรคคาวาซากิ ไข้ไม่ลด ซึม ผื่นขึ้น ตาบวมแดง อาการแบบนี้ใช่เลย

โรต้าไวรัส สาเหตุโรคอุจจาระร่วง วิจัยเผยส่งผลต่อพัฒนาการทารก เสี่ยงไอคิวต่ำ

ลูกตาย เพราะยายป้อนกล้วย หลังเกิดมาได้แค่ 10 วัน ต้องอีกกี่รายถึงจะยอมเชื่อ

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ผนังหน้าท้องไม่ปิด สาเหตุการเกิด gastroschisis ที่ทำให้ลูกต้องทรมานตั้งแต่แรกเกิด
แชร์ :
  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว