ฟันซี่แรกของลูกขึ้นช้า อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเป็นกังวล แต่โดยทั่วไปแล้ว ฟันซี่แรกของลูกน้อยจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และจะขึ้นต่อเนื่องไปจนอายุ 3 ขวบ แต่สำหรับเด็กบางคนก็อาจเริ่มมีฟันขึ้นเร็วหรือช้ากว่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในเด็กหลายคน โดยการที่ฟันซี่แรกขึ้นช้านั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของเด็กแต่อย่างใด แต่เรื่องของกรรมพันธุ์ก็อาจจะมีส่วนที่ทำให้ ฟันซี่แรกของลูกขึ้นช้า ด้วยเหมือนกัน
วิธีทําให้ฟันขึ้นเร็ว อาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกฟันขึ้น
ดอกเตอร์ David Geller กุมารแพทย์ จาก แมสซาชูเซต ให้ความเห็นไว้ว่า โดยทั่วไปแล้ว ฟันซี่แรกของเด็กจะเริ่มขึ้นตอนอายุประมาณ 6 เดือน อย่างเร็วที่สุดที่เคยเห็นคือ 4 เดือน และอย่างช้าที่สุดคือ 17 เดือน แต่การที่เด็กฟันขึ้นช้านั้นไม่ได้หมายความว่าพัฒนาการทางร่างกายโดยรวมของเด็กจะช้าตามไปด้วย
- มีอาการตัวรุม ๆ เหมือนเป็นไข้
แต่หากเวลาผ่านไป 18 เดือนแล้ว ฟันของลูกน้อยยังไม่ขึ้น คุณควรพาลูกไปตรวจหาสาเหตุที่แน่นอนจะดีที่สุด
“ลูกชอบกัด” วิธีรับมือและแก้ปัญหา
อาการ “กัด” ของเด็กวัย 1-2 ปี นี้ เป็นพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณเจอบ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นในช่วงที่ดูดนมแม่ หรือกัดไหล่ กัดบ่าขณะแม่อุ้ม บางรายไปกัดเด็กอื่น ทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความกังวลกับพฤติกรรมนี้ แม้ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ดูธรรมดาของเด็กก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถให้การช่วยเหลือลูกได้เมื่อลูกแสดงกิริยาที่ไม่น่ารักเช่นนี้ จะมีวิธีอะไรบ้างไปดูกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : สัญญาณที่บอกว่าฟันลูกกำลังจะขึ้น ฟันซี่แรก วิธีดูแลรักษาฟันซี่แรก
วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care
สาเหตุของการกัด
- ด้านร่างกาย : จากการศึกษาวิจัยพบว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กชอบกัด มาจากด้านร่างกาย คือ ฟันเริ่มขึ้น หรือหิว
- ด้านจิตใจ : เด็กมีความคับข้องใจ ไม่พอใจ หรือระบายความเครียด เนื่องจากขาดทักษะที่ดีในการสื่อสารเป็นคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ มีการเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็น แสดงความเป็นอิสระ เป็นทักษะพัฒนาการด้านสังคมอย่างหนึ่งของเด็ก
วิธีรับมือและแก้ปัญหา
1. หาสาเหตุของการกัด
- ถ้าการกัดมาจากลูกชอบสำรวจ อยากรู้อยากเห็น หรือฟันเริ่มขึ้น คุณแม่ควรให้ลูกกัดผ้า หรือยาง
- ถ้าลูกกัดเพราะเบื่อหรือหิว ต้องดูแลให้กินและนอนอย่างเพียงพอ
- ถ้ากัดเพราะลูกแย่งของกันต้องหาของให้พอเล่นหรือพอใช้ หรือสอนให้ลูกได้รู้จักแบ่งปันของกัน
- ถ้าลูกกัดคนอื่นเพราะมีความตั้งใจ แม่ต้องพยายามให้เวลาแก่ลูก โดยการเล่น อ่านหนังสือนิทาน หรือกอดลูก
- ถ้าลูกเครียดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ คุณแม่ต้องหากิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด
2. เมื่อลูกกัดคนอื่น
- ต้องสอนให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่ควรทำ
- มองตาลูกและออกคำสั่งด้วยเสียงหนักแน่นว่า “ไม่กัดนะลูก” เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
- เมื่อลูกกัดคุณแม่อย่าร้อง เพราะลูกอาจรู้สึกสนุกสนานที่เห็นคุณแม่ร้อง
- อย่าหัวเราะกับการกระทำของลูกเป็นอันขาด
- อย่าพูดตะคอกใส่ลูก แต่ควรพูดว่า “หนูกัดคุณแม่นะ”
- พยายามทำตัวให้หลุดจากการกัดของลูกอย่างนุ่มนวลที่สุด
3. ใช้วิธีการขอเวลานอกกับลูก
- หาสถานที่สงบและให้ลูกนั่งเก้าอี้ตามลำพัง แต่อยู่ในมุมที่สามารถมองเห็นลูกได้
- ถ้าลูกอายุ 2 ปี ใช้เวลานอกเพียง 30 วินาที ถึง 1 นาที ก็พอ
- แนะนำว่าทันทีที่ลูกกัด คุณแม่ควรพูดว่า “ห้ามกัดนะลูก ลูกจะต้องขอเวลานอกบนเก้าอี้ตัวนี้จนกว่าจะหมดเวลา แล้วค่อยมาเล่นต่อ”
- ถ้าลูกพยายามเรียกร้องความสนใจคุณแม่ควรวางเฉย จนกว่าเวลานอกจะหมด
- ถ้าลูกจับขาหรือดึงเสื้อ อย่าใจอ่อน หันหน้าหนีลูกแล้วผละไปทำงานอย่างอื่น เช่น ล้างจาน หรือจัดลิ้นซัก
- ถ้าลูกกัดคนอื่นที่โรงเรียน ควรดูว่าครูใช้เวลาการขอเวลานอกถูกไหม
4. สอนการแสดงออกที่ถูกให้ลูก
- คุณแม่ควรสอนให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ถูก
- ถ้าลูกต้องการแสดงความรักให้ใช้การกอดแทนการกัด
- ถ้ากัดเพราะต้องการปกป้องตนเองหรือไม่ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใกล้ ก็ให้ลูกใช้สัญญาณที่แสดงว่าหยุด
- สัญญาณการหยุดโดยการยกมือห้ามหรือใช้การดันไหล่เพื่อนเบา ๆ ถ้าลูกโมโหมากให้บอกคุณแม่ หรือบอกครู
5. ชมเชยลูก
- เมื่อสอนลูกแล้ว และลูกเริ่มมีพฤติกรรมการกัดอาจน้อยลงหรือไม่มีอีกเลย พ่อแม่ก็ควรจะชมลูกบ้าง
- ไม่สอนและดุเพียงอย่างเดียว
- การที่พ่อแม่ชื่นชมลูก เขาจะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และความภูมิใจตรงนี้จะเป็นการละลายพฤติกรรมนี้ได้
- คุณแม่ควรใจเย็น ช่วยเหลือลูก และให้กำลังใจลูก
ซึ่งการรับมือกับปัญหาลูกชอบกัด สามารถช่วยเหลือ แก้ไขให้ถูกทางตามคำแนะนำด้านบนก็จะสามารถช่วยให้พฤติกรรมการกัดลดลงและหายไปในที่สุด
โรคทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูกมีอะไรบ้าง
โรคทางพันธุกรรมคือโรคที่มีสาเหตุหลักจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากแม่หรือพ่อไปสู่ลูก หากพันธุกรรมของพ่อแม่มีความผิดปกติอยู่ก็อาจส่งผลให้เกิดขึ้นกับลูกได้นั่นเอง เป็นสิ่งสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งก็มีหลายโรคเหมือนกัน ลองมาทำความรู้จักโรคต่าง ๆ ไปพร้อมกันได้เลย
โรคทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก อาการ และการดูแล
- ธาลัสซีเมีย : เป็นความผิดปกติของสารสีแดงในเม็ดเลือด อาการจะเกิดขึ้นมีลักษณะโลหิตจาง ถือเป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งซึ่งมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ แตกสลายเร็วกว่าเดิม มีความซีดเหลืองเรื้อรัง ต้องรับมาทั้งสองฝ่าย การดูแลให้พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ รับวัคซีนให้ครบ
- ซิสติกไฟโบรซิส : จัดเป็นโรครุนแรงเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่สร้างเอนไซม์ในการย่อยอาหาร สร้างบางส่วนของต่อมน้ำลาย ทางเดินอาหารและเหงื่อ เกิดโรคแทรกซ้อนได้โดย ร่างกายมีสภาพขาดสารอาหาร อวัยวะระบบหายใจอักเสบ ไม่มีแรง วิธีดูแล พยายามปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนป่วยให้ดีขึ้น
- คนเผือก : เกิดจากยีนด้อยในพันธุกรรมสร้างเอนไซม์สำคัญตัวหนึ่งไม่ได้ส่งผลให้ร่างกายแสดงออกมาเป็นลักษณะเผือก ผิวขาว ผมขาว ตาขาว ม่านตาสีเทาโปร่งแสง รูม่านตาสะท้อนเป็นสีแดง ติดเชื้อง่ายกว่าคนปกติ วิธีดูแลให้ห่างไกลจากแสงแดดเพราะจะทำให้ตกกระและเกิดโรคแทรกซ้อน
- ดักแด้ : เป็นกลุ่มโรคผิวหนังอาจพบไม่บ่อย อาการผิวหนังแห้ง บอบบางรุนแรง แผลพุพอง แบ่งความรุนแรงได้หลายระดับมักถ่ายทอดทางพันธุกรรมยีนเด่นและยีนด้อย พบบ่อยในยีนเด่น ต้องได้รับการดูแลมากกว่าปกติ ปกป้องผิวหนังเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อหรือเกิดบาดแผล
- ท้าวแสนปม : เกิดความผิดปกติทางกระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน ผิวหนัง แบ่งได้ 2 ประเภท ถือว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยไม่น้อย สิ่งสังเกตชัดคือมีการปูดตามผิวหนังทุกสัดส่วนของร่างกาย ปกติก็ดูแลรักษาตามอาการ เน้นทานอาหารมีประโยชน์
- ลูคิเมีย : มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากความผิดปกติของไขกระดูก มีการสร้างเม็ดเลือดขาวมากในไขกระดูกแล้วไปเบียดบังการสร้างเม็ดเลือดแดง มีอาการโลหิตจาง ติดเชื้อง่าย มีไข้สูง เป็นบ่อยกว่าคนปกติ ซีด เหนื่อยง่าย อาจหน้าหรือเท้าบวม เลือดออกง่ายกว่าคนปกติ ต้องไปพบแพทย์เพื่อจะได้ให้วิธีการรักษาอย่างถูกต้องรวมถึงทานอาหารให้ครบถ้วนตามเหมาะสม
นี่เป็นส่วนหนึ่งของโรคทางพันธุกรรมที่ติดต่อจากพ่อแม่สู่ลูก เป็นโรคที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดกับลูกของตนเองแต่มันคงห้ามได้ยากและกำหนดไม่ได้
วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยเบื่ออาหาร
ตอนที่ลูกอายุได้ 6 เดือน ก็ถึงเวลาที่คุณแม่จะเริ่มป้อนอาหารเสริมที่นอกเหนือจากการให้ลูกทานนมแม่อย่างเดียว เมนูอาหารสำหรับลูกเล็กส่วนใหญ่ก็จะเป็น ข้าวบดไข่แดง ข้าวบดปลา ข้าวบดกล้วย ข้าวบดตับ โตขึ้นมาอีกนิดก็เริ่มให้ทานข้าวสวยกับแกงจืดเต้าหู้หมูสับ เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะทำเมนูอะไรให้ก็ดูลูกจะสนุกกับการทานอาหารมาก คุณแม่เห็นแล้วยิ้มหน้าบานด้วยความภูมิใจว่าลูกทานอร่อย และก็ทานหมดทุกครั้ง แต่หลังจากลูกอายุได้ 1 ขวบขึ้นไป ก็เริ่มรู้บ้างแล้วว่านี่คือผักอะไร มีรสชาติ มีกลิ่นเป็นแบบไหน เริ่มที่จะต่อรองไม่ทานต้นหอม ไม่ชอบหมูสับ แต่จะเอาแค่กุ้ง แกงจืดเต้าหู้ต้องไม่ใส่สาหร่าย อืม เห็นแบบนี้ชักจะไม่ชอบใจคุณแม่แล้วซิ เพราะคุณแม่หนะก็อยากให้ลูกได้ทานอิ่ม กินอร่อย ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ แต่ลูกตัวดีไม่ยอมให้ความร่วมมือ พอนานเข้าก็เกิดอาการเบื่ออาหาร เพราะทานแต่เมนูซ้ำ ๆ แบบนี้ทำไงดีละ ?
- พยายามจัดอาหารที่มีคุณค่า และให้พลังงานสูง : ตักอาหารในปริมาณที่ลูกจะสามารถรับประทานได้หมด ถ้าลูกไม่อิ่มค่อยตักเติมให้อีกครั้ง การตักอาหารให้ลูกมาก ๆ จนเต็มชาม จะทำให้ลูกท้อในการรับประทานข้าวให้หมดชาม
- จัดอาหารที่เหมาะสมกับวัยของลูก : รวมทั้งเรื่องรสชาติด้วย เช่น ถ้าลูกไม่ชอบทานผัดผัก คุณแม่ลองเปลี่ยนมาทำเป็นผักชุบแป้งทอด เช่น แครอท ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ชุบแป้งทอดแล้วให้ลูกจิ้มทานกับซอสมะเขือเทศ เชื่อว่าด้วยเมนู และรสชาติที่แปลกใหม่ เด็ก ๆ จะต้องยอมทานอย่างแน่นอน
- ปล่อยให้ลูกได้หัดรับประทานอาหารเอง : จะหกเลอะเทอะบ้างก็ไม่เป็นไร เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ในการหัดใช้มือ จนในที่สุดลูกก็จะตักข้าวรับประทานได้เอง และจะยิ่งทำให้เขาสนุกมากขึ้นกับการทานข้าวในแต่ละมื้อ
- กำหนดเวลาในการข้าวแต่ละมื้อ : ไม่เกิน 30-45 นาที และไม่ควรจ้ำจี้จ้ำไช หรือบังคับลูก ถ้าลูกไม่ทานต่อก็ให้เก็บอาหารในมื้อนั้นซะ แต่อาจจะเพิ่มนม 1 แก้วเล็ก ๆ ให้ลูก
- ให้คำชม : เมื่อลูกรับประทานอาหารเมนูใหม่ ๆ ได้ เช่น มื้อกลางวันลูกสามารถทานผัดมักกะโรนีไก่ใส่หอมใหญ่ มะเขือเทศได้ ถึงแม้จะทานไปได้แค่ครึ่งจานก็ตาม การให้กำลังใจ และกล่าวชื่นชมว่า “เก่งมาก ที่หนูทานผัดมักกะโรนี คุณแม่ตั้งใจทำให้หนู” นอกจากลูกจะรู้สึกดีกับอาหารที่คุณแม่ทำให้แล้ว ลูกยังได้เรียนรู้อาหารเมนูใหม่ รวมทั้งรสชาติใหม่ด้วย
หลังจากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับฟันซี่แรกของลูกไปแล้ว เมื่อฟันของลูกขึ้นอย่าลืม ดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงอาการติดเชื้อ หรือฟันเก ฟันผุ ที่อาจเกิดขึ้นในเด็กทารกด้วยนะ
บทความที่น่าสนใจ
ดูแลฟันลูกทำยังไง? ผู้ปกครองควรจะดูแลสุขภาพฟันเจ้าตัวน้อยอย่างไรบ้าง?
ฟันลูกเก เกิดจากอะไร ฟันน้ำนมเกส่งผลต่อฟันแท้มากแค่ไหน ?
แชร์ให้ลูกดู ! น้องณิรินสอนวิธีแปรงฟันอย่างไรให้ถูกวิธี น่ารักมาก
ที่มา : babycenter, colgate
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!