พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 2 เดือน ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความเข้าใจอย่างไร พ่อแม่ควรเสริมพัฒนาการหรือทักษะอะไรได้บ้าง อาการน่าเป็นห่วงของเด็กวัยนี้คืออะไร เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ และข้อควรรู้ของเด็กวัยนี้จะมีอะไรบ้าง มาเริ่มกันเลย!
พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของเด็กวัย 5 ขวบ 2 เดือน
ลูกน้อยของคุณมีความมั่นใจในการเคลื่อนไหวของตัวเองมากขึ้น เพราะเขาจะไม่สะดุดล้มบ่อยๆ เหมือนเมื่อก่อนแล้ว เนื่องจากลูกของคุณสามารถควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น สามารถรับรู้ความสามารถของตัวเอง และข้อจำกัดของตัวเองได้ดีกว่าเดิม ทำให้ลดอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บการการเล่นค่ะ นอกจากนี้ เด็กยังมีพัฒนาการในเรื่องเหล่านี้ ได้แก่
- สามารถเดินขึ้น-ลงบันไดได้ด้วยตัวเอง
- สามารถเดินไปข้างหน้าและถอยหลังได้คล่องแคล่ว
- สามารถกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางได้อย่างมั่นใจ
- สามารถที่จะกดปุ่มต่างๆ ได้ และยังรูดซิปเองได้
- ทำกิจกรรมด้วยมือข้างเดียวได้
- เรียนรู้วิธีการจับดินสอด้วยนิ้วมือสองนิ้วร่วมกับนิ้วโป้ง
- หยิบจับอุปกรณ์หรือสิ่งของต่างๆ ได้ง่าย
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- พยายามหาเวลาให้ลูก อาจจะพาลูกออกไปเล่นข้างนอกบ้านบ้าง เพื่อให้ลูกได้วิ่งเล่นเสริมสร้างพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ และร่างกายค่ะ
- ให้ลูกได้เล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ในวัยไล่เลี่ยกัน โดยที่พ่อแม่คอยดูแลอยู่ห่างๆ ปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการเล่น
- หากเป็นไปได้ควรหากิจกรรมเสริมให้กับลูก หรือจะเป็นคลาสเรียนออกกำลังกาย เช่น เรียนว่ายน้ำ หรือเรียนเต้น เนื่องจากกิจกรรมพวกนี้จะช่วยฝึกความยืดหยุ่นให้กับเด็กค่ะ
- กระตุ้นให้ลูกช่วยเตรียมอาหารเช้า โดยอาจให้ลูกเตรียมนมและซีเรียลไปวางไว้ที่โต๊ะอาหาร หากลูกทำนมหกหรือกินเลอะบ้าง คุณแม่ก็ไม่ต้องดุด่าลูกนะคะ เพียงบอกให้ลูกทำความสะอาดและเก็บกวาดเท่านั้นค่ะ
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกไม่สามารถแปรงฟันหรือล้างมือด้วยตัวเอง
- ไม่สามารถต่อบล็อกได้สูงเกินกว่า 8 ชั้น
พัฒนาการทางด้านความรู้และความเข้าใจของเด็กวัย 5 ขวบ 2 เดือน
หนูน้อยจะเริ่มรับรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมถึงหน้าที่ของตัวเอง อีกทั้งยังรู้จักว่าเงินคืออะไร สามารถบอกความแตกต่างระหว่างเหรียญกับธนบัตรได้ อย่างไรก็ตาม เด็กวัยนี้ยังคงต้องการการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยังคงต้องพัฒนาทักษะต่างๆ ต่อไป ทำให้บ่อยครั้งที่เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น อยากลองทำสิ่งต่างๆ และยังชอบสำรวจอีกด้วย ส่วนการเล่นบทบาทสมมุติ พวกเขาจะเล่นได้นานขึ้นถึง 15 นาทีอีกด้วย ไม่เพียงแค่นั้น เด็กๆ ยังมีพัฒนาการในด้านเหล่านี้ ได้แก่
- รู้ว่าจุดตรงไหนคือจุดเริ่มต้น ช่วงกลาง หรือช่วงท้ายของเรื่อง
- รู้ตัวเองหรือตัวอักษร ถึงแม้ว่าจะไม่มีการเรียงลำดับก็ตาม
- สามารถจดจ่ออยู่กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งนานกว่า 15 นาที
- สามารถวางแผนที่จะทำกิจกรรมต่อไปได้
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- ให้คุณพ่อคุณแม่เล่นบทบาทสมมติกับลูก หรืออ่านหนังสือพร้อมกับลูก โดยให้ลูกฝึกเดาเนื้อเรื่องและคอยถามในตอนจบเพื่อเป็นการฝึกความจำของเด็ก
- พาลูกไปเที่ยวหรือไปซื้อของบ้าง โดยพ่อแม่อาจจะลิสต์รายการ เพื่อที่เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามแบบพ่อแม่ค่ะ
- ให้ลูกฝึกเขียน ฝึกวาดภาพ โดยพ่อแม่อาจส่งเสริมให้ลูกวาดวัตถุที่มีขนาดแตกต่างกัน และเมื่อลูกวาดรูปสำเร็จก็ควรกล่าวชมลูกสำหรับความพยายามค่ะ
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกน้อยไม่ค่อยสนใจ
- ลูกไม่มีการเล่นบทบาทสมมติ หรือการเล่าเรื่องตามจินตนาการ
พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็กวัย 5 ขวบ 2 เดือน
หนูน้อยกำลังอยู่ในช่วงวัยที่น่ารัก และเป็นช่วงวัยที่ต้องการเพื่อนเล่น อยากให้พ่อแม่มีความสุข ทำให้พวกเขาชอบร้องเรียกให้พ่อแม่อยู่บ่อยๆ คุณแม่อาจเข้าไปแจมเล่นกับลูกบ้างช่วงเวลาสั้นๆ ก็ยังดี เพื่อเป็นการแสดงความรักที่มีต่อตัวลูกค่ะ เด็กวัยนี้ยังสามารถแสดงความรักต่อผู้อื่นได้ และสามารถเข้ากับคนอื่นได้ง่ายมากจนบางครั้งก็เล่นจนลืมพ่อแม่ไปเลยก็มีค่ะ นอกจากนี้ เด็กยังทำสิ่งเหล่านี้ได้
- สนุกกับการเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่ม สามารถเข้ากับคนอื่นได้ดี
- รักการจะเล่นอะไรที่เกี่ยวกับบ้าน
- รักการเล่นตัวต่อ
- ชอบว่ายน้ำ ปีนป่าย แบะการกระโดด
- ต้องการเอาใจเพื่อนจนบางครั้งอาจนำเอาพฤติกรรมแปลกๆ มาใช้ได้
- ชอบที่ทุกคนสนใจ
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
ถามลูกว่าลูกรู้สึกอย่างไร ให้ลูกเล่าเรื่อง หรือแสดงความรู้สึกตัวเองออกมาให้มากที่สุด เวลาที่ลูกมีอารมณ์โกรธหรือโมโห เพื่อเป็นการเรียนรู้การจัดการกับอารมณ์ที่รุนแรงของเด็ก
- พาลูกเล่นเกมที่มีการสร้างกฎกติกา สอนลูกถึงวิธีจัดการกับอารมณ์เมื่อเกิดอาการไม่พอใจหรือเกิดความพ่ายแพ้ แทนการที่จะขว้างปาข้าวของเวลาที่โมโห
- ให้ลูกมีส่วนร่วมกับกิจกรรมภายนบ้าน เพื่อเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก หรือการเล่นเป็นสิ่งต่างๆ โดยไม่ใช่แค่เจ้าหญิงเจ้าชาย แต่อาจเป็นหม้อ หรือกระทะ โดยให้ลูกใช้ความคิดและจินตนาการอย่างอิสระให้ได้มากที่สุดค่ะ
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกไม่สบตาหรือโต้ตอบกับคนอื่น
- ลูกมักจะมีอารมณ์เศร้าและไม่มีความสุข
- ลูกไม่ยอมแสดงออกทางอารมณ์
พัฒนาการทางด้านภาษาและการสื่อสารของเด็กวัย 5 ขวบ 2 เดือน
เด็กน้อยของคุณกลายเป็นนักพูดซะแล้ว แถมยังพูดได้ชัดขึ้นด้วย ตอนนี้น้องจะสามารถพูดได้เป็นประโยคยาวๆ สามารถคุยกับพ่อแม่ได้นาน ไม่ค่อยพูดดิดๆ ขัดๆ แต่ถ้าลูกยังมีอาการพูดติดอ่างอยู่บ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิดไปนะคะ เพราะนี่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางภาษาของเด็กค่ะ อีกทั้งน้องยังทำสิ่งเหล่านี้ได้อีก
- บอกเล่าเรื่องราวพร้อมประโยคที่สมบูรณ์ได้
- รู้จักตัวอักษรต่าๆ
- สามารถเล่าเรื่องราวและเรื่องตลกได้
- สามารถทำตามคำแนะนำหลายๆ ขั้นตอนได้
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- ควรหาเวลาในการนิทานก่อนนอนให้ลูกบ้าง โดยคุณอาจจะเลือกหนังสือที่มีความแตกต่างกันในแต่ละคืน และอย่าลืมถามคำถามเพื่อให้ลูกแสดงความคิดเห็นลูกด้วย
- ให้ลูกได้พูดสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น โดยใช้คำที่สื่อความหมาย
- หากลูกรู้สึกหงุดหงิด พูดจาติดอ่างไม่คล่อง ทำให้ลูกเกิดความหงุดหงิด ดังนั้น คุณแม่ต้องคอยให้กำลังใจลูก และคอยกระตุ้นให้ลูกคิดก่อนแล้วค่อยพูดออกมา จะได้ช่วยให้ลูกพูดได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกไม่สามารถอธิบายกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
- ไม่สามารถบอกชื่อ-นามสกุลของตัวเองได้
- ลูกไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้
พัฒนาการทางด้านสุขภาพและโภชนาการของเด็กวัย 5 ขวบ 2 เดือน
เด็กอายุ 5 ปี 2 เดือน จะมีน้ำหนักประมาณ 17 – 20.3 กก. และมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 106- 112.2 ซม. และมีความต้องการพลังงานอยู่ที่ 1200 – 1600 แคลอรี่ อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่น้องทำให้แต่ละวันด้วยค่ะ
เด็กวัยนี้เป็นเด็กวัยกำลังกินกำลังโต คุณแม่อย่าลืมเสริมของว่างระหว่างมื้อให้กับลูกน้อยด้วยนะคะ โดยสารอาหารที่เด็กควรจะได้รับในแต่ละวัน มีดังนี้
ประเภทของอาหาร | ปริมาณอาหารที่แนะนำ |
โปรตีน |
|
ผลไม้ |
|
ผัก |
|
ธัญพืช |
|
นม |
|
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- พยายามให้ลูกทานของหวานให้ได้น้อยที่สุด เพราะของหวานจะกระทบต่อสุขภาพของเด็กได้
- ทำอาหารง่ายๆ ที่ให้ลูกสามารถใช้ช้อนส่อมตักหรือจิ้มกินได้
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกมีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์หรือน้ำหนักลดเกินไป
- มีผื่นหรือเป็นก้อนขึ้นตามร่างกาย
- มีไข้สูงเกินกว่า 39 องศาเซลเซียส
วัคซีนที่จำเป็นของเด็กวัย 5 ขวบ 2 เดือน
- วัคซีนที่จำเป็น
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV)
- วัคซีนเสริม
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap หรือ DTaP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV)
- วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ (HAV)
- วัคซีนโรคอีสุกอีใส (VZV) หรือวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน-อีสุกอีใส (MMRV)
- วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)
- วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ก่อนการสัมผัสโรค
ที่มา: sg.theasianparent
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกเข้าโรงเรียน ใช้เอกสารอะไรบ้าง ไม่มีเอกสารพ่อ หรือแม่ ควรทำอย่างไรดี
ทักษะที่ลูกควรมีในวัยอนุบาล มีอะไรบ้าง พ่อแม่ช่วยเสริมทักษะให้ลูกได้อย่างไร?
เกมคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กเล็ก พร้อมวิธีการเล่นอย่างง่าย ใครๆ ก็สอนลูกได้!