เด็กวัย2เดือน จะสามารถสื่อสารได้แล้วหรอ เด็กวัย2เดือน จะมีพัฒนาการที่ปกติหรือไม่ วันนี้เรามาดูการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยกันค่ะ
การเจริญเติบโตของเด็ก 2 เดือน
เด็ก2เดือน
เด็กวัย 2 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นจากเดือนแรกประมาณ 0.7-0.9 กิโลกรัม และมีลำตัวที่ยาวขึ้นประมาณ 2.5-3.8 เซนติเมตร
- ทารกเพศชาย มีน้ำหนักเฉลี่ย5.6 กิโลกรัม และมีความยาวตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 58 เซนติเมตร
- ทารกเพศหญิง มีน้ำหนักเฉลี่ย 5.1 กิโลกรัม และมีความยาวตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 57 เซนติเมตร
พัฒนาการด้านการมองเห็น
สีภาพที่ลูกมองเห็นยังเป็นขาวดำอยู่ ลูกจะเริ่มแยกแยะความห่วงของวัตถุได้ แต่ประสาทหูและตายังไม่สัมพันธ์กัน ในวัยนี้จะสนใจสิ่งที่เห็นมากกว่าสิ่งที่ได้ยิน ภาวะตาเหล่นิดหน่อยในช่วงเดือนแรกจะหายไป ตาควรอยู่ตรงกลาง ไม่ควรมีอาการตาสั่น เพราะถ้ายังสั่นนั่นแปลว่า อาจจะมีพยาธิสภาพเกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากลูกตากับระบบประสาท
- เริ่มมองหน้าคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น
- สายตาเริ่มทำงานอย่างเต็มที่
การกระตุ้นการมองเห็น
โมบาย
- คุณพ่อคุณแม่ควรแขวนของเล่น 3 มิติ เช่น โมบาย นกกระดาษ แขวนในจุดที่ลูกมองเห็นได้บ่อย ๆ สามารถใช้มือหยิบถึงเพื่อช่วยพัฒนาสายตาได้เร็วขึ้น
- เปลี่ยนตำแหน่งที่นอนของลูก เพื่อให้ลูกได้มองเห็นสภาพแวดล้อมใหม่ๆ
- คุณพ่อคุณแม่ควรหาของเล่นให้ลูกจับ เริ่มตั้งแต่วัยนี้
เด็ก 2 จำพ่อแม่ได้แล้ว
เด็ก 2 เดือนจะสามารถจำพ่อแม่แล้วคุ้นเคยอ้อมกอดของพ่อแม่ หากใครที่ไม่ใช่พ่อแม่มาอุ้มก็อาจจะทำให้ร้องไห้ หรืองอแงได้ เนื่องจากในวัยนี้ลูกจะแกว่งแขนขาเมื่อตื่นเต้น และมีความสุขกับการดูดนิ้วหัวแม่มือ
พัฒนาการด้านการสื่อสาร
ในช่วงลูกน้อย 2 เดือน ส่วนใหญ่แล้วจะร้องไห้เป็นหลัก อาจจะส่งเสียงอ้อ แอ้ ฟังไม่รู้เรื่อง แต่จะเริ่มหันมอง สนใจฟังเสียงรอบตัว และจดจำเสียงนั้นเมื่อได้ยิน
การกระตุ้นการสื่อสาร
- คุณพ่อคุณแม่ควรคุยกับลูกมากขึ้น เพราะลูกเริ่มจำริมฝีปากและหัดพูดไปด้วย
- ลูกจะชอบฟังเสียงคุณแม่มากที่สุด เมื่อลูกได้ยินเสียงก็จะหันหา หรือส่งเสียงตอบทันที
พัฒนาการด้านร่างกาย
พัฒนาการด้านร่างกาย
- ในวัยนี้ จะเริ่มเรียนรู้และหัดใช้นิ้วมือสัมผัส หยิบจับของรอบตัวมากขึ้น เริ่มยืดแขนยืดขา และลูกอาจจะตกใจเมื่อเห็นอวัยวะแขนขาของตัวเองขยับไปมา
การกระตุ้นด้านร่างกาย
- หาของเล่นที่มีความนุ่ม และปลอดภัยให้ลูกเล่น
ท่าอุ้มกระตุ้นกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของลูก
- อุ้มตะแคง จะช่วยให้ลูกพลิกตัวตะแคง พลิกคว่ำหงายได้เร็วขึ้น และยังช่วยให้ลูกไม่นอนผวา
- อุ้มนั่งหันออก มือประคองช่วงขา ส่วนมืออีกข้างประคองตรงช่วงกกหูโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ ใช้ฝ่ามือกดเบา ๆ บริเวณหน้าอก
- อุ้มประคองศีรษะ เหมือนท่าให้นม ให้แขนของคุณแม่พาดอยู่ด้านหลังของลูก โดยฝ่ามืออยู่ตรงบริเวณก้นและต้นขา ข้อศอกงอรับศีรษะ ลำตัว แขนขาของลูกอยู่ในแนวเดียวกัน ท่านี้หากคุณแม่อุ้มลูกซบไหล่ซ้ายของแม่ ลูกจะได้ยินเสียงหัวใจแม่เต้น ให้ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย เหมือนตอนอยู่ในท้องเลยค่ะ
การให้นมเด็ก 2 เดือน
ในวัยนี้จะแสดงอาการหิวอย่างชัดเจน เป็นช่วงที่ลูกกำลังกำหนดเวลาการนมด้วยตัวเอง คุณแม่ก็เพียงแค่ป้อนนมตามที่ลูกน้อยให้สัญญาณ ในช่วงเดือนที่ 2 ลูกจะยังตื่นกลางดึกเพื่อให้คุณแม่ตื่นมาป้อนนมอยู่ แต่จะเริ่มปรับตัวด้วยการนอนที่ยาว เป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง คุณแม่จะสามารถพักผ่อนได้นานขึ้น
การนอนเริ่มมีระบบ
การนอนของลูกมีระบบมากขึ้น โดยเริ่มนอนกลางวันนานกว่าเดิม ลูกจะงีบหลับหลังจากกินนมผ่านไปประมาณ 30 นาทีขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ช่วยการนอนของลูกได้ โดยการจัดที่นอนสบาย ๆ และสร้างบรรยากาศการนอน ในวัยนี้จะเริ่มใช้เวลานอนประมาณ 9-18 ชั่วโมงต่อวัน
ท่าทางของลูกน้อยบอกอะไรบ้าง
ส่งเสียงร้อง
- มองแล้วยิ้ม : เมื่อทารกกินนมอิ่มแล้ว ก็จะคายปากออกมา บางครั้งอาจจะเงยหน้ามองแม่แล้วส่งยิ้มให้ เป็นการบอกว่ากินอิ่มแล้ว
- หันหน้าหนี : ไม่ยอมมองหน้าหรือสบตาคุณพ่อคุณแม่ อาจเพราะคุณพ่อคุณแม่สัมผัสลูกน้อยเกินไป ทำให้ลูกเล่นมือเล่นเท้าตัวเองมากกว่า คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้ลูกหันมามองหน้า แต่ควรเพิ่มเวลาที่ใช้ร่วมกับลูกให้มากขึ้น และรอให้ลูกหันมาหาคุณพ่อคุณแม่เอง
- หาว : บางทีการหาวอาจจะไม่ได้บอกว่าลูกง่วงเสมอไป อาจจะเป็นเพราะ เสียง แสง หรือการสบตากับคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นตัวกระตุ้นมากเกินไป เลยทำให้ลูกอึดอัด และอยากพักช่วง ลูกอาจจะมีอาการหาว สะอึก หันหน้าหนี เมื่อรู้สึกเหนื่อย การอุ้มพาดบ่าจะสามารถช่วยผ่อนคลายได้
- ส่งเสียงร้อง : หากลูกส่งเสียงแบบไม่พอใจ อาจเพราะลูกรู้สึกไม่สบายตัว และอยากให้คุณพ่อคุณแม่อุ้ม
- ขยี้หูขยี้ตา : บ่งบอกว่าลูกเหนื่อย ง่วง หรือคัน
- ยืดแขน : ลูกยืดแขนพร้อมกางขา บ่งบอกว่า ลูกกำลังอารมณ์ดี หากคุณแม่มีงานบ้านให้ทำรีบทำช่วงเวลานี้จะเหมาะที่สุดค่ะ และจะทำให้ลูกรู้สึกสนุกร่วมไปด้วย
theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
ที่มา : babybbb , babymild
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 1 เดือน พัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 61 การเสริมพัฒนาการในครรภ์ เริ่มต้นที่ 27 สัปดาห์
วิธีเล่นแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!