X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงไตรมาสสุดท้าย

บทความ 5 นาที
พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงไตรมาสสุดท้าย

น้ำหนักของลูกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อวัยวะที่พัฒนาจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เจ้าหนูเตรียมตัวที่จะออกมาจากท้องของคุณแม่แล้ว

คุณพ่อคุณแม่มาถึงช่วงสุดท้ายก่อนที่ลูกจะคลอดออกมาแล้วนะคะ อีกไม่กี่อึดใจก็จะได้เห็นหน้าลูกน้อยที่แสดงกายกรรมอยู่ในท้องมาตลอด 40 สัปดาห์ อีกไม่นานเกินรอแล้วละค่ะ

สัปดาห์ที่ 28 : ลืมตาได้แล้ว

ในสัปดาห์นี้เปลือกตาลูกจะเปิดได้แล้ว รวมถึงขนตาที่กำลังจะสร้างขึ้นมา รอยยับบางๆ ตามผิวหนังชั้นนอกก็จะปรากฎให้เห็นบ้างแล้ว ณ ตอนนี้ลูกจะยาวประมาณ 10 นิ้ว หรือ 250 มิลลิเมตร หนัก 1000 กรัม หรือประมาณ 1 กิโลกรัมแล้วละค่ะ

หากคุณแม่คลอดลูกก่อนกำหนดในอาทิตย์นี้ ลูกจะมีเปอร์เซนต์รอดชีวิตถึง 90% โดยปราศจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางกาย ทางประสาท

29

สัปดาห์ที่ 29 : กระดูกพัฒนาเสร็จสิ้น

Advertisement

ในสัปดาห์นี้กระดูกทั่วทั้งร่างกายของลูกจะพัฒนาขั้นสุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังเป็นกระดูกที่มีความนิ่มและยืดหยุ่นได้ ไม่เหมือนกับกระดูกผู้ใหญ่อย่างเราค่ะ

สัปดาห์ที่ 30 : ดวงตาเปิดได้กว้างขึ้น          

เซลล์เม็ดเลือดแดงจะถูกสร้างขึ้นในไขกระดูก ผมลูกเริ่มยาวและเห็นได้ชัดขึ้น ดวงตาเปิดกว้างขึ้นเต็มที่ ตอนนี้ลูกจะมีตัวที่ยาวถึง 10 นิ้วครึ่ง และหนักประมาณ 1,300 กรัมค่ะ

สัปดาห์ที่ 31 : ระบบประสาทพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ระบบประสาทส่วนกลางพัฒนาจนถึงขั้นที่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายลูกได้ เพื่อปกป้องร่างกายไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป เมื่อเจอกับอุณหภูมิภายนอกน้ำคร่ำ

สัปดาห์ที่ 32 : ลูกเริ่มฝึกการหายใจ

แม้ว่าปอดจะยังพัฒนาไม่เสร็จสมบูรณ์ดี แต่ลูกก็เริ่มที่จะฝึกการหายใจแล้วในสัปดาห์นี้ ร่างกายของลูกจะเริ่มดูดซึมแร่ธาตุ วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น ธาตุเหล็กและแคลเซียมจากผนังลำไส้ ขนบริเวณผิวหนังส่วนต่างๆ จะเริ่มขึ้นมาปกคลุมร่างกายเพื่อปกป้องผิวที่บอบบางจากสิ่งต่างๆ ตอนนี้ลูกจะยาว 11 นิ้ว หรือประมาณ 280 มิลลิเมตร หนัก 1,700 กรัม หรือประมาณ 1.7 กิโลกรัมค่ะ

33

สัปดาห์ที่ 33 : ดวงตาจะมีปฏิกิริยาต่อแสง

รูม่านตาของลูกจะมีปฏิกิริยาเมื่อแสงเข้ามากระทบ เช่นขยายตัวออก และหดเข้ามา เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น เพื่อปกป้องดวงตาของเราค่ะ

สัปดาห์ที่ 34 : เล็บยาวขึ้น

เล็บมือจะยาวเต็มที่จนถึงปลายนิ้ว ไขที่อยู่ตามตัวลูกจะขาวขึ้นและหนาขึ้น ช่วยให้คุณแม่คลอดลูกได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ ตอนนี้ลูกยาวถึง 12 นิ้วแล้ว หรือประมาณ 300 มิลลิเมตรแล้วนะคะ

สัปดาห์ที่ 35 : น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วมาก

ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ลูกจะน้ำหนักขึ้นได้เร็วมาก แขนขาจะมีไขมันเข้ามาเติมเต็มให้ดูมีเนื้อมีหนังมากขึ้นค่ะ

สัปดาห์ที่ 36 : ถุงน้ำคร่ำดูเหมือนจะเล็กลงหรือจริงๆ แล้วลูกตัวโตขึ้นเยอะ

พื้นที่แสดงกายกรรมผาดโผนในถุงน้ำคร่ำของลูกจะน้อยลง เนื่องจากน้ำหนักของลูกที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ไม่ต้องตกใจถ้าลูกจะมีการออกแรงที่เยอะกว่าปกติ นั่นเพราะเขาอยากจะออกมาพบหน้าคุณพ่อคุณแม่แล้วละค่ะ

หากคุณแม่มีการนับจำนวนที่ลูกดิ้นมาตลอด ให้สังเกตว่าหากลูกดิ้นน้อยลง ให้รีบไปพบคุณหมอที่ฝากครรภ์หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดค่ะ

สัปดาห์ที่ 37 : คุณแม่สามารถคลอดตอนไหนก็ได้

อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเริ่มที่จะทำงานได้ด้วยตัวเอง และลูกจะมีการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอด อย่างหัวของลูกจะลงไปอยู่ที่กระดูกเชิงกรานของคุณแม่แล้วนะคะตอนนี้ แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น ให้รีบปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์เพื่อวางแผนการคลอดและแผนสำรองไว้ด้วยค่ะ

สัปดาห์ที่ 38 : มีการพัฒนาของเซลล์ถุงลมในปอด

สมองของลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 400 กรัม และหลังจากที่คลอดแล้ว สมองจะเจริญเติบโตต่อเนื่องต่อไปอีกเรื่อยๆ เล็บเท้ายาวจนสุดปลายนิ้วแล้วละค่ะ รวมไปถึงมีการพัฒนาของเซลลุถุงลมในปอด และจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 8 ปีเลยค่ะ

สัปดาห์ที่ 39 : รกมีสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้

เด็กผู้ชายจะยังอยู่ในขั้นตอนที่อัณฑะกำลังลงไปในถุงอัณฑะ สารภูมิต้านทานจะถูกสร้างขึ้นในรก เพื่อจัดการกับเชื้อโรคภายนอกหลังจากที่คลอดไปแล้ว คุณแม่ที่ให้นมลูกเองก็จะมีสารภูมิต้านทานนี้ก็จะมีอยู่ในน้ำนมของคุณแม่เช่นเดียวกันค่ะ

40

สัปดาห์ที่ 40 : วันสำคัญที่สุดในชีวิตของผู้หญิงที่กลายเป็นแม่อย่างสมบูรณ์

วันนี้ลูกจะมีลำตัวที่ยาว 18-20 นิ้ว หรือประมาณ 450-500 มิลลิเมตรค่ะ หนักโดยประมาณคือ 2,900 กรัม หรือเกือบ 3 กิโล เป็นน้ำหนักมาตรฐาน แต่หากลูกคุณแม่มีน้ำหนักที่น้อยหรือมากกว่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่แข็งแรงนะคะ

เมื่อมาถึงสัปดาห์ที่ 40 นี้ คุณแม่สามารถคลอดได้ทุกเมื่อแล้วนะคะ ดังนั้นเตรียมตัวจัดกระเป๋าเตรียมพร้อมไว้ให้ดีๆ เผื่อแผนการเดินทางไว้ด้วย เผื่อปวดท้องคลอดเวลาที่รถบนท้องถนนติดขัด แต่ถ้าเลย 40 สัปดาห์ไปแล้วยังไม่มีวี่แววที่ลูกจะคลอด ให้ปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์เพื่อเร่งคลอดหรือเปลี่ยนเป็นการฝากคลอดแทนนะคะ

ยินดีด้วยนะคะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เทวดานางฟ้าตัวน้อยๆ ได้จุติลงมาปั่นป่วนชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ให้มีสีสันอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อนแล้วนะคะ ถนอมช่วงเวลาแบบนี้ไว้ให้ดีค่ะ แม้ว่าเรื่องอดหลับอดนอนจะเป็นเรื่องปกติมาก แต่มันดำเนินต่อไปไม่นานเลยนะคะ

ต่อไปนี้คุณพ่อคุณแม่จะได้แสดงฝีมือการเลี้ยงลูกแบบจริงจังแล้วล่ะค่ะ

ที่มา mayoclinic

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงไตรมาสแรก

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงไตรมาสที่ 2

parenttown

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงไตรมาสสุดท้าย
แชร์ :
  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว