X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะ ปากมดลูก หลวม คืออะไร ส่งผลกระทบอะไรต่อลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า ?

บทความ 5 นาที
ภาวะ ปากมดลูก หลวม คืออะไร ส่งผลกระทบอะไรต่อลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า ?

คุณแม่หลายท่านที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ในช่วงของไตรมาสที่ 2 บางท่านอาจกำลังประสบปัญหา หรือมีความกังวลว่า เรามีอาการ ปากมดลูก หลวม หรือเปล่า? อาการปากมดลูกหลวมเป็นอย่างไร อันตรายไหม ในวันนี้ เราจะพาคุณแม่ไปทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ!

 

อาการของภาวะ ปากมดลูก หลวม

ในตลอดระยะเวลา  9 เดือน ที่คุณแม่ต้องอุ้มท้อง แม้ว่าบางครั้ง คุณแม่ก็อาจรู้สึกเหมือน เป็นเวลานานเป็นปี ๆ หากต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งล้วนไม่มีใครอยากเจอ แต่ปัญหาบางอย่าง ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ หนึ่งในนั้นคือ ภาวะ ปากมดลูก หลวมนั่นเองค่ะ คุณแม่หลายคนอาจจะสงสัย ว่าอาการนี้เป็นอย่างไร เรามาลองศึกษาไปพร้อมกันเลย!

ภาวะปากมดลูกหลวม เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อปากมดลูกอ่อนแรง และมีผลทำให้ปากมดลูกเปิด โดยอาการนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ แต่ไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปนะคะ เพราะว่าอาการเหล่านี้พบได้ไม่บ่อยนักเท่าไร แต่สิ่งที่ควรระวังก็คือ ภาวะนี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ จนมีผลทำให้สามารถเกิดอาการแท้งบุตร หรือ คลอดก่อนกำหนดได้

 

ปากมดลูก หลวม

Advertisement

 

โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะดังกล่าว จะไม่มีอาการใด ๆ บ่งชี้อย่างชัดเจน อาการบางอย่างอาจคล้ายกับอาการของคนท้องทั่วไป เช่น อาการปวดหลัง หรือมีของเหลวหลั่งออกมาจากช่องคลอด แต่ลักษณะ สัญญาณต่อไปนี้ที่เราจะมาพูดถึงกัน สามารถเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่า ปากมดลูกของคุณแม่อาจจะมีปัญหาหรือเปล่า ซึ่งควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ทันที นั่นก็คือ

  • รู้สึกได้ถึงแรงกดช่วงเชิงกราน ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บ หรือแค่มีความรู้สึกแค่เหมือนถูกกดทับก็ตาม
  • รู้สึกผิดปกติ ที่บริเวณช่องคลอด เจ็บ อึดอัด แน่นท้อง หรืออาการต่าง ๆ
  • มีการหลั่งของเหลวผิดปกติจากช่องคลอด อันนี้อาจจะสังเกตได้ยาก แต่แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์ทุกครั้งที่มีการเข้าพบแพทย์นะคะ เพราะว่าถ้าหากมีความผิดปกติ จะได้รักษาได้ทันท่วงทีค่ะ
  • มีรอยผิดปกติ ไม่ใช่รอยที่เห็นทั่วไป หรือรู้สึกผิดสังเกต ลองสำรวจตัวเองดูนะคะ
  • ตะคริวในช่องท้อง ปวดท้องมาก เป็นตะคริว

หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรไปพบแพทย์ทันทีนะคะ เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาที่พบ ได้อย่างทันท่วงที

บทความที่เกี่ยวข้อง : มดลูกบีบตัวบ่อย คืออาการเจ็บท้องคลอดหรือไม่ เป็นอันตรายต่อทารกไหม

 

สาเหตุของภาวะปากมดลูกหลวม

ต้องเกริ่นก่อนว่า ปากมดลูก นั่นก็คือ เนื้อเยื่อรูปโดนัท ที่อยู่ปลายด้านล่างของมดลูก โดยในระหว่างตั้งครรภ์ ปากมดลูกจะปิด และจะเริ่มขยายออก เมื่อใกล้เวลาคลอด ถ้าปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด ก็อาจทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือถึงขั้นแท้งบุตรได้ แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของภาวะปากมดลูกหลวม จะไม่แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยบางอย่าง ที่อาจเพิ่มความเสี่ยง ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ได้แก่

  • ปากมดลูกผิดปกติ จากการรักษา หรือการคลอดลูกครั้งก่อนหน้า
  • ความผิดปกติของมดลูกแต่กำเนิด จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ
  • ขั้นตอนการขูดมดลูก โดยหลังการแท้งบุตร อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อปากมดลูกได้

ปากมดลูก หลวม

 

วิธีป้องกัน ดูแลตัวเอง จากภาวะ ปากมดลูก หลวม

หากคุณแม่มีความเสี่ยง ที่จะประสบกับภาวะดังกล่าว เช่น เคยแท้งบุตร คุณแม่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะภาวะดังกล่าว อาจไม่มีอาการบ่งชี้ในระยะแรก แต่เมื่อตรวจพบ ก็อาจสามารถดำเนินการ เพื่อป้องกันการสูญเสียได้ล่วงหน้า

โดยวิธีการป้องกัน ที่จะช่วยไม่ให้ผู้หญิงที่มีภาวะปากมดลูกหลวมแท้งบุตร นั่นก็คือ การเย็บปากมดลูก ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่สามารถทำได้เฉพาะในกรณีที่ปากมดลูกเปิดไม่เกิน  4 เซนติเมตรเท่านั้น ในกรณีที่ไม่สามารถเย็บปากมดลูกได้ คนไข้จำเป็นต้องนอนพักถาวร ซึ่งเป็นท่า ที่จะช่วยลดแรงกดบนปากมดลูกได้มากที่สุด การออกกำลังเพื่อบริหารกล้ามเนื้อเชิงกรานเป็นประจำในช่วงตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกวิธี ก็จะสามารถช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวได้เช่นกันค่ะ

นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะน้ำเชื้อนั้น มีสารพรอสตาแกลนดิน ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อปากมดลูกอ่อนลงอีก แพทย์อาจเลือกใช้อุปกรณ์เหน็บช่องคลอด เพื่อช่วยลดแรงกดที่ปากมดลูก แนะนำให้คุณแม่ลองปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม ว่าคุณแม่จะสามารถใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ได้หรือไม่

 

ปากมดลูก หลวม

 

การรักษาภาวะปากมดลูกหลวม

ในด้านของการรักษาภาวะปากมดลูกหลวมนั้น มีทั้งวิธีการรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด และการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยมีความแตกต่าง ดังนี้ค่ะ

 

  • การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด

การรักษาด้วยวิธีนี้ จะเป็นการจำกัดการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงเพศสัมพันธ์ เพื่อเน้นให้ร่างกายได้รับพลังงานจากการนอนพักเป็นหลัก แต่ในการรักษาวิธีนี้ ยังไม่มีผลลัพธ์ที่ดีและชัดเจนมากพอ สำหรับการรักษาภาวะปากมดลูกหลวม

 

  • การรักษาด้วยการผ่าตัดเย็บผูกปากมดลูกผ่านทางช่องท้อง

การรักษาด้วยการผ่าตัดเย็บผูกปากมดลูกผ่านทางช่องท้อง (Transabdominal cervicoisthmic cerclage) เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ใช้กันอย่างสากล และได้รับการรับรองว่าสามารถรักษาได้จริง ซึ่งการผ่าตัดแบบนี้ เป็นเทคนิคในการเย็บผูกปากมดลูก ผ่านทางการผ่าเปิดหน้าท้องหรือการส่องกล้อง ตามพิจารณาของแพทย์ แต่ในวิธีนี้ จะมีข้อจำกัดอยู่บางข้อ สำหรับบางท่านที่ไม่สามารถทำการเย็บผูกปากมดลูกได้ เช่น ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดปากมดลูกมาก่อน หรือเคยล้มเหลวจากการผ่าตัดเย็บผูกปากมดลูกมาแล้วนั่นเอง โดยการผ่าตัดนี้ ส่วนใหญ่จะรักษาในช่วงอายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ หรือทำในขณะที่ยังไม่เริ่มตั้งครรภ์ก็ได้ วิธีนี้จะสามารถรักษาอาการปากมดลูกหลวมได้ค่ะ

 

โดยสรุปแล้ว แม้ว่าภาวะปากมดลูกหลวมอาจฟังดูน่ากลัว แต่ก็สามารถรักษาได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวยังควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก และควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ ยังมีวิธีการในการรักษาหลายด้าน ทั้งรูปแบบการผ่าตัด และไม่ผ่าตัด การรักษาอาการปากมดลูกหลวมนั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณแม่เกิดภาวะการคลอดก่อนกำหนด ที่อาจส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยได้นั่นเองค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง ต้องระวัง อาการแบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ

วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส

อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

ที่มา : amarinbabyandkids, med.cmu

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ภาวะ ปากมดลูก หลวม คืออะไร ส่งผลกระทบอะไรต่อลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า ?
แชร์ :
  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว