ทำไมให้นมแม่มันยากขนาดนี้! แม่แชร์ ปัญหาให้นมลูก ที่เจอบ่อยที่สุดพร้อมวิธีแก้

ให้นมแม่ ดูเหมือนแค่เอาลูกเข้าเต้าจะมองเป็นเรื่องง่าย แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่คนเป็นแม่มือใหม่จะสัมผัสต่อไปนี้มันไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดนะคะ มารู้กันว่า ปัญหาให้นมลูก ที่จะเกิดขึ้นกับคุณแม่นั้นมีอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาเรื่องการให้นมลูก เรื่องที่คุณแม่ลูกอ่อนหลายคนจะต้องเจอ ไม่ใช่เรื่องยากขนาดแก้ไม่ได้นะคะ อย่าเพิ่งท้อก่อนลูก 6 เดือน มาค่อย ๆ แก้กันไปค่ะ

ปัญหาให้นมลูก ที่เจอบ่อยที่สุดพร้อมวิธีแก้

#เจ็บหัวนม ปวดเต้านมอักเสบ

อาการเจ็บหัวนมที่เกิดขึ้นได้ตอนลูกดูดนม เป็นเพราะว่าคุณแม่อาจจะเอาลูกเข้าเต้าไม่ถูกท่าหรือลูกดูดนมไม่ถูกวิธี หรือเกิดจากการใช้เครื่องปั๊มนมไม่ถูกวิธี

แก้ยังไงดี

  • สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เริ่มต้นให้น้ำนมลูก ถ้าเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องในการ เอาลูกเข้าเต้า (เอาลูกเข้าเต้า) ให้นมที่ถูกท่าแต่แรก ก็จะทำให้หมดปัญหาเรื่องเจ็บหัวนมเวลาลูกดูด หรือการขยับปากลูกเพื่อให้ลูกอมงับลานนม ก็จะช่วยให้เจ็บหัวนมน้อย แถมยังช่วยถูกกระตุ้นให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นอีกด้วยนะคะ
  • ในกรณีที่ลูกอาจจะดูดนมไม่เก่งหรือดูดไม่บ่อย ทำให้น้ำนมออกไม่หมด และเกิดการจับตัวเป็นก้อน คั่งค้างอยู่ภายในเต้านมควรทำการปั๊มนมออกมาทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะนมคัด และช่วยให้น้ำนมไม่คั่งค้างอยู่ภายในเต้า
  • เมื่อเกิดอาการเจ็บเต้านมให้ลูกช่วยดูดข้างที่เจ็บ โดยจัดท่าให้นมเพื่อให้ลูกช่วยดูดระบายน้ำนมออกจากเต้าได้ดีขึ้น
  • ใช้ผ้าอุ่นประคบเต้านมที่ปวดประมาณ 5 นาที
  • ในกรณีที่ปวดมาก สามารถกินยาบรรเทาอาการปวดด้วยพาราเซตามอลได้

#ท่อน้ำนมอุดตัน

ท่อน้ำนมอุดตัน เป็นอาการที่น้ำนมมากระจุกตัวอุดตันอยู่ในท่อส่งน้ำนม ทำให้น้ำนมไม่สามารถระบายออกได้เต็มที่ สิ่งแรกที่จะสังเกตเห็นได้คือ เป็นจุดขาวเล็ก ๆ ที่ปลายหัวนม สามารถใช้เล็บสะกิดออกเมื่อผิวบริเวณนั้นนุ่มขึ้นหลังจากให้นม กับสัมผัสเจอก้อนไตในเต้านม จะรู้สึกแข็ง ผิวบริเวณรอบ ๆ อาจแดง และปวดระบมเค้าได้ หากรู้สึกว่ามีไข้ร่วมด้วยการอุดตันนี้อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของอาการเต้านมอักเสบ

แก้ไขยังไงดี

  • เพื่อป้องกันไม่ให้เต้านมอุดตันจนเกิดอาการเต้านมอักเสบที่รุนแรงขึ้น ควรให้ลูกได้กินนมจากเต้าบ่อย ๆ เพื่อระบายน้ำนมส่วนเกินออก พยายามอย่าทิ้งช่วงการให้นมนานเกินไป
  • ต้องแน่ใจว่าลูกดูดนมถูกวิธี
  • ในกรณีที่แม่มีน้ำนมเยอะ ให้ใช้เครื่องปั๊มนมเพื่อระบายน้ำนมออกให้หมดหลังจากให้ลูกกินนมแล้ว
  • นวดเต้านม เบา ๆ และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบร้อนหรือประคบเย็นภายหลังการนวดเพื่อช่วยลดบวม
  • พยายามพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่เครียดนะคะ
  • หากรู้สึกปวดรุนแรง มีไข้ ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการ

เรื่องปัญหาให้นมยังไม่หมด มาสยบกันค่ะ อ่านหน้าถัดไป >>

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#คัดเต้านม

สำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมลูก หากเกิดอาการคัดเต้านมถือเป็นเรื่องปกตินะคะ หลังจากคลอดลูก 2-3 วัน คุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะเต้านมอาจจะเต็ม แน่น อาจขยายใหญ่ไปถึงรักแร้ และอาจมีไข้เล็กน้อย ซึ่งทำให้เกิดการหลั่งน้ำนมออกมาได้เอง อาการนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บแต่ไม่เป็นอันตราย

แก้ยังไงดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ใช้มือบีบน้ำนมส่วนหนึ่งออกหรือปั๊มก่อนที่จะให้ลูกกินนม
  • ให้ลูกเข้าเต้าเพื่อกินนมแม่จะช่วยผ่อนคลายอาการคัดได้มากขึ้น
  • ใช้วิธีนวดเพื่อบรรเทาอาการคัดเต้านมได้ด้วยตัวเอง
  • ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบหรืออาบน้ำเพื่อช่วยให้ความเจ็บปวดลดลง

#น้ำนมมาเยอะเกินไป ไหลซึมไม่หยุด

การผลิตน้ำนมในช่วงเริ่มต้น จัดเป็นกลไกการหลั่งน้ำนม ที่ทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมปริมาณมากเพื่อให้ลูกสามารถกินนมได้เยอะ ๆ และจะเริ่มคงที่เมื่อลูกดูดนมได้ดีขึ้น ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไหลเยอะจนล้น จะสังเกตได้ว่าเมื่อลูกดูดนมข้างหนึ่งแล้ว น้ำนมนมอีกข้างก็ไหลออกมาเอง ซึ่งเป็นกลไกที่ถูกกระตุ้นตอนที่ลูกเริ่มดูดนมแม่ครั้งแรก หรือแม้แต่บางครั้งแค่เพียงได้ยินเสียงร้องไห้ของลูกก็ทำให้เต้านมหลั่งน้ำนมออกมาได้ รวมถึงถ้าลูกยังดูดนมไม่ถูกวิธี ร่างกายแม่ก็จะควบคุมน้ำนมไม่ได้ ก็ยังคงทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แก้ยังไงดี

  • น้ำนมไหลเยอะเพียงแค่ให้ลูกได้กินนมแม่ ยิ่งใหลูกได้ดูดนมบ่อยน้ำนมก็จะไหลซึมออกน้อยเท่านั้น
  • ใช้แผ่นซับน้ำนมไว้ด้านในของเสื้อชั้นใน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมไหลซึมออกมา
  • น้ำนมจะไหลซึมน้อยลงหลังให้ลูกกินนมแม่ผ่านไป 7-10 สัปดาห์ แต่หากลูกไม่ได้ดูดหรือไม่ได้มีการปั๊มน้ำนมออกฮอร์โมนจะลดต่ำลงเรื่อย ๆ การสร้างน้ำนมของร่างกายจะลดน้อยลงดังนั้นแม่ให้นมจึงควรให้ลูกได้ดูดกระตุ้นเพื่อนำน้ำนมออกทุก 2-3 ชม. นะคะ
  • ถ้าร่างกายยังผลิตน้ำนมมากเกินไปหลังจากที่พฤติกรรมการกินนมของลูกคงที่แล้ว ให้ปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกกินภายหลังได้ แต่ควรระวังอย่าปั๊มนมเก็บไว้มากเกินไปเพราะจะทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นเพื่อให้พอกับความต้องการที่มากขึ้น

ปัญหาน้ำนมมาน้อย หรือคุณแม่ที่น้ำนมพุ่งจนลูกสำลัก แก้ยังไงดี อ่านต่อหน้าถัดไปนะคะ >>

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#น้ำนมมาน้อยเกิน

สาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่มาน้อย อาจเกิดได้หลายปัจจัยนะคะ เช่น ความสมบูรณ์ของสภาพร่างกายแม่ การรับประทานอาหาร ฯลฯ และอาจเกิดจากคุณแม่ยังเอาลูกเข้าเต้าไม่ถูกท่าทำให้ลูกดูดนมได้ไม่ถูกวิธี ร่างกายจึงผลิตน้ำนมน้อย

แก้ยังไงดี

  • นำลูกเข้าเต้าดูดนมให้ถูกวิธี ดูดให้บ่อย ๆ และดูดให้เกลี้ยงเต้า เนื่องจากร่างกายแม่ให้นมนั้นจะมีการผลิตน้ำนมอยู่ตลอดเวลา การให้ลูกได้ดูดนมจะทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมใหม่มาแทนที่นั่นเอง
  • ถ้าไม่ได้เอาลูกเข้าเต้า ก็ต้องบีบหรือปั๊มนมออกให้เกลี้ยงเต้าทุก 3 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสมอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ หรือเสริมด้วยสมุนไพรเพิ่มน้ำนม
  • หาอะไรทำที่ผ่อนคลาย อย่าไปเครียดนะคะ

#น้ำนมพุ่งทำลูกสำลัก

คุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะ น้ำนมพุ่ง จนทำให้ลูกกลืนไม่ทัน สังเกตว่าพอลูกถอนปากตอนดูดนม จะมีน้ำนมพุ่งแรงจนอาจกระเด็นใส่หน้าลูก โดยเต้านมอีกข้างก็อาจจะมีน้ำนมพุ่งออกมาด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากผลข้างเคียงของการผลิตน้ำนมมากเกินไป หรือเป็นการไหลพุ่งเองไม่เกี่ยวกับสาเหตุอื่น ส่งผลให้ลูกมีอาการสำลักและเบือนหน้าหนีไม่ยอมดูดนมแม่อีก

แก้ยังไงดี

  • ให้บีบน้ำนมส่วนเกินออกก่อนที่จะให้ลูกกินนมจะช่วยแก้ปัญหาน้ำนมพุ่งได้
  • ให้ลูกดูดนมเพียงเต้าเดียวจนอิ่มก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ สลับมาให้ดูดอีกข้าง ร่างกายก็จะสร้างน้ำนมน้อยลง
  • หรือลองให้ลูกดูดนม แล้วใช้ผ้าซับน้ำนมส่วนแรกที่ไหลพุ่ง เมื่อน้ำนมไหลช้าลงเล็กน้อยแล้ว จึงให้ลูกดูดอีกครั้ง
  • ใช้ท่าตะแคงตอนให้นม เมื่อมีน้ำนมออกเยอะ ลูกก็จะคายปากออกมาเล็กน้อย ทำให้น้ำนมไหลออกข้างมุมปาก ไม่พุ่งใส่ลูกและจะช่วยลดการสำลักลงได้

อ้างอิงข้อมูลจาก : www.women.sanook.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

คัมภีร์นมแม่ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรื่องนมๆที่แม่ควรรู้

เน้นย้ำชัดๆ นมแม่สำคัญ แชร์ได้แชร์เลย 20+ เรื่องจริงสำหรับแม่ที่ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต้องรู้!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R