TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปัญหาผิวทารกที่พบบ่อย และวิธีรักษา

บทความ 5 นาที
ปัญหาผิวทารกที่พบบ่อย และวิธีรักษา

คุณแม่คงเคยได้ยินคำเปรียบเปรยที่ว่า ผิวใสเหมือนก้นเด็กใช่ไหม แต่ถ้าคุณพบว่าในความเป็นจริงแล้วผิวของลูกน้อยอาจไม่ได้เรียบเนียนอย่างที่คิด แล้วผิวแบบไหนที่เรียกว่าปกติ? แบบไหนต้องไปพบแพทย์? เรามีคำตอบ

ไขบนหนังศีรษะ

ไขบนหนังศีรษะลูก

ลักษณะ: เกิดจากการทำงานผิดปกติของต่อมผลิตไขมัน ผลิตออกมามากเกินไป ทำให้ดูเหมือนลูกน้อยมีรังแคขึ้นมา สามารรถเกิดตามหู คอ รักแร้ หรือจะที่ก้นลูกก็ได้ ไม่ได้ร้ายแรง แค่ปล่อยมันไป เมื่อต่อมไขมันของลูกน้อยกลับมาทำงานตามปกติแล้ว อาการนี้ก็จะหายไปได้เอง

รักษาอย่างไร: หากคุณแม่เป็นกังวลเพียงแค่นำนมแม่สักสองสามหยดลูบบนหนังศีรษะ จนกว่าสะเก็ดจะหลุดลอกออก แล้วปัดออกด้วยแปรงขนอ่อน แค่นี้ก็หายกังวลแล้ว

Milia

ลักษณะ: เป็นซีสต์เล็กๆ ตื้นๆ ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร สีออกเหลืองๆ ขาวๆ อยู่เป็นกลุ่มหลายๆ เม็ดหรือเม็ดเดี่ยวๆ พบเห็นได้บ่อยที่ หน้าผาก แก้ม และจมูกของเด็กทารก คล้ายสิวแต่ไม่ใช่สิว ไม่โตขึ้น ไม่เล็กลง ไม่เจ็บไม่ปวด ไม่อักเสบบวมแดง

คุณอาจรู้สึกอยากจะเค้นหรือสะกิดมันออก แต่การทำเช่นนั้นอาจเกิดการระคายเคืองหรือติดเชื้อได้

รักษาอย่างไร: ควรจะหายไปได้เอง ภายในไม่กี่สัปดาห์ ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา อย่างไรก็ตาม ควรล้างหน้าให้ลูกทุกวันด้วยน้ำอุ่น และสบู่สูตรอ่อนโยน แล้วค่อยๆ เช็ดผิวให้แห้งอย่างเบามือ หลีกเลี่ยงโลชั่น หรือออยล์ในบริเวณที่เป็น

ผิวทารก

ภาวะตัวเหลือง

ลักษณะ: มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง จาก มีปริมาณสาร บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งมีสีเหลือง ในเลือดสูงเกินปกติมาก สารบิลิรูบินในเลือด เมื่อผ่านเข้าไปในตับทารก ซึ่งยังไม่แข็งแรงพอที่จะกำจัดสารบิลิรูบินในเลือด จึงสามารถพบอาการตัวเหลืองได้บ่อยในทารกแรกเกิด

จะสังเคราะห์ให้บิลิรูบินชนิดไม่ละลายน้ำนี้ เปลี่ยนเป็นบิลิรูบินที่ละลายน้ำ(Conjugated bilirubin) และตับขับสารนี้ออกจากร่างกายโดยปนมากับน้ำดี (Bile) ที่ขับออกทางท่อน้ำดี และผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ และถูกขับออกโดยปนมากับอุจจาระ สีเหลืองของอุจจาระจึงเป็นสีที่ได้จาก บิลิรูบิน

รักษาอย่างไร: รักษาด้วยการส่องไฟ และการให้ดูดนมบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับสารบิลิรูบินออกมากับอุจจาระ

บทความแนะนำ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน

ผดร้อน

ลักษณะ: มีผื่นลักษณะเป็นตุ่มแดงๆ ขึ้นทั่วหลัง และลำคอ มีอาการคันมาก พบได้บ่อยในเด็กทารกเพราะการพัฒนาของต่อมเหงื่อและผิวหนังยังไม่สมบูรณ์ อากาศร้อนทำให้มีเหงื่อมาก เหงื่อส่วนหนึ่งเกิดการหมักหมมเป็นตะกอนอุดตันต่อมเหงื่อ กลายเป็นผื่นคันหลากหลายรูปแบบ

การป้องกันก็คือให้ลูกอยู่ในที่เย็น หลีกเลี่ยงอากาศร้อนชื้น อาบน้ำอย่างน้อยเช้า-เย็น ประคบผื่นด้วยผ้าเย็น สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ดูแลบริเวณข้อพับหรือมีการเสียดสีของผิวหนังให้แห้งเสมอ โดยปกติผดร้อนจะหายไปเองในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

รักษาอย่างไร: ให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี พยายามอยู่ในที่เย็น หลังอาบน้ำ ปล่อยให้ลูกตัวแห้งไปเอง ไม่ต้องใช้ผ้าเช็ดตัว หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือโลชั่น บริเวณที่เป็นผดร้อน

บทความแนะนำ ลูกเป็นผดร้อน ทำอย่างไรดี

Pustular melanosis

ลักษณะ: เป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองในชั้นผิวตื้นๆ ส่วนใหญ่พบเมื่อแรกเกิด และจะแตกออกภายใน 24 -48 ชั่วโมง และหายไปโดยจะเหลือจุดสีเข้มไว้ และจะค่อยๆ จางลงไปภายในเวลา 3 เดือน พบมากบริเวณคาง หลังคอ หน้าผาก หลัง

รักษาอย่างไร: เป็นภาวะที่ไม่มีอันตราย และหายได้เอง ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา

ติดตามอ่านปัญหาผิวทารกที่พบบ่อยอื่นๆ ได้ในหน้าถัดไป

ผื่น Erythema toxicum

ลักษณะ: เป็นผื่นที่ไม่นูน มีสีแดง มีตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหัวแบบหนองอยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นในเด็กทารก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 10 วัน พบที่ อก หลัง หน้า ส่วนต้นของแขนขา จะไม่พบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า

รักษาอย่างไร: จะยุบหายไปเองภายใน 5 วัน และจะหายไปหมดภายใน 2 สัปดาห์ ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา ไม่อันตราย สามารถหายได้เอง

เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก

ลักษณะ: โดยทั่วไปจะเกิดในทารกอายุช่วง 2 สัปดาห์แรก มักเริ่มจากจุดแดงขนาดเล็ก อาจมี บ้างที่มีลักษณะสีแดงชัดเจนแต่กำเนิด เมื่ออายุ 8 สัปดาห์แรก ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จะนูนโตอออกมา มีสีแดงสด โดยก้อนเนื้องอกชนิดนี้จะมีขนาดโตมากขึ้นภายใน 6-9 เดือนแรกหลังคลอด

รักษาอย่างไร: ก้อนจะค่อยๆ ยุบลงได้เอง ภายหลังอายุ 1 ปี ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่หากพบบริเวณใบหน้า รอบดวงตา ใบหู หรือปรากฏมากกว่า 5 แห่ง ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อผ่าตัดหรือทำเลเซอร์

จุดเลือดออก Petechiae

ลักษณะ: เป็นจุดเลือดออกขนาดเล็กในชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุ ไม่มีอาการคัน พบได้ที่ใบหน้า แขน ท้อง อก ก้น และเท้า สาเหตุเนื่องจากมีความผิดปกติของผนังหลอดเลือด หรือความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด เลือดจึงรั่วซึมเข้าสู่ผิวหนัง เกิดจากการร้องไห้มากเกินไป อาเจียนรุนแรง ไอยาวนาน ผิวไหม้แดด

รักษาอย่างไร: สามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่หากคุณไม่มั่นใจว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ควรพาลูกไปพบแพทย์

สิวในทารก

สิวในทารก

ลักษณะ: เป็นเม็ดขาวๆ ฐานแดงๆ เหมือนสิว ตามแก้ม คาง หน้าผาก เปลือกตา คอ อก หลัง ศีรษะ ซึ่งมีคำอธิบายว่าอาจเป็นจากการที่ยังมีผลของฮอร์โมนอิสโตรเจนจากแม่มาทำให้ลูกมีสิวทารกนี้ขึ้น แต่ก็มักจะหายไปเองในเวลาไม่นาน

รักษาอย่างไร: ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นด้วยน้ำเปล่าวันละ 2-3 ครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ โลชั่น และไม่บีบสิว

บทความแนะนำ สิวในทารกแรกเกิดใช่โรคผิวหนังหรือเปล่า?

ผื่นผ้าอ้อม

ลักษณะ: เป็นผื่นแดงบริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ และก้น ซึ่งอาจเกิดจากการสวมผ้าอ้อมเปื้อนนานเกินไป การถูหรือเสียดสีกับผ้าอ้อม ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา แพ้ผ้าอ้อม

รักษาอย่างไร: เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ อย่าปล่อยให้อับชื้น ใช้ครีมทาป้องกันผื่นผ้าอ้อม ใช้เบบี้ไวพ์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และถ้าเป็นไปได้ ให้ลูกอยู่โดยไม่ใส่ผ้าอ้อมบ้าง

บทความแนะนำ ผื่นผ้าอ้อม ปัญหาโลกแตกที่แม่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญ

ผื่นผิวหนังอักเสบ Eczema

ลักษณะ: มักเริ่มมีอาการประมาณอายุ 2 เดือนไปแล้วจนถึงอายุ 2 ปี โดยมีอาการผื่นคันเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง เริ่มจากแดง คัน ต้องเกามาก เป็นเม็ด ตุ่มใส เยิ้ม มีน้ำเหลืองซึม ต่อมาเป็นสเก็ด ผิวหนังบริเวณนั้นหนาขึ้น อาการจะทุเลาแล้วกลับมาเป็นใหม่ เรื้อรัง

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มักขึ้นบริเวณแก้ม หน้าผาก ต่อมาผื่นลามไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะข้อมือด้านนอกของแขน และมีอาการคันมาก ทำให้เด็กตื่นเวลากลางคืนบ่อย

รักษาอย่างไร: แม้จะยังไม่มีวิธีการรักษา แต่สามารถควบคุมได้โดยใช้ยาแก้อักเสบ อาบน้ำอุ่นในอ่างแทนการใช้ฝักบัว และพยายามรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง

บทความแนะนำ “ให้หนูตายเถอะ” คำวิงวอนของเด็กน้อยผู้บอบช้ำจากโรคผื่นแพ้คัน eczema

เมื่อไหร่ที่ควรกังวล?

แม้ว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่กล่าวมาจะเป็นอาการปกติที่มักพบในทารก แต่คุณแม่ก็ควรจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่ามันจะส่งสัญญาณอันตรายใดๆ ดังต่อไปนี้หรือไม่

  • อาการระคายเคือง (ปลอบเท่าไหร่ก็ไม่หยุดร้องไห้หรือกรีดร้อง)
  • มีอาการง่วงซึม
  • หนาวสุดขั้ว
  • มีไข้
  • เลือดออกจากบริเวณที่มีอาการ
  • เป็นหนอง
  • ดูเหมือนว่าจะมีการแพร่กระจายหรือเลวร้ายลง

หากลูกของคุณมีอาการดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอโดยด่วนค่ะ

ข้อมูลอ้างอิงจาก

https://sg.theasianparent.com/, https://medicarezine.com/, https://visitdrsant.blogspot.com, https://haamor.com/th/, https://www.healthcarethai.com/

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ยาแก้ผื่นคันสำหรับทารก

แก้ให้ถูกจุด!!!ทำอย่างไรเมื่อทารกก้นเปื่อย

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผิวลูกเป็นรอย ได้ที่นี่!

ผิวลูกเป็นรอย ผิวลูกเป็นรอยผื่นจะดูแลยังไงดีคะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ปัญหาผิวทารกที่พบบ่อย และวิธีรักษา
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

powered by
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว