ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องหมดกังวล ง่าย ๆ หายได้ด้วยตัวเอง

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับอาการปวดอุ้งเชิงกรานตอนท้อง คือ อาการปวดที่อยู่บริเวณอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณท้องน้อย เพราะภายในบริเวณนี้มีอวัยวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลายอย่างทั้งกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ มดลูก รังไข่ รวมไปจนถึงกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ อีกด้วย โดยอาการส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพยาธิสภาพที่อวัยวะใดก็ตาม สามารถทำให้มีอาการ ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ ได้ทั้งหมดเลยค่ะ

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร?

อาการปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติของการตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางกรณีที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์

สาเหตุที่พบได้บ่อย:

  • การขยายตัวของมดลูก: ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ มดลูกจะเริ่มขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดหน่วงๆ หรือตึงบริเวณอุ้งเชิงกรานได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้ข้อต่อและเส้นเอ็นบริเวณอุ้งเชิงกรานคลายตัว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดได้
  • อาการปวดเอ็นยึด: เส้นเอ็นที่พยุงมดลูกจะยืดออกและตึงขึ้นเมื่อมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดแปลบๆ หรือปวดหน่วงบริเวณท้องน้อยหรือขาหนีบ มักเป็นในช่วงไตรมาสที่สอง
  • แรงกดทับ: เมื่อครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้น จะกดทับอวัยวะต่างๆ ในอุ้งเชิงกราน เช่น กระเพาะปัสสาวะ ทำให้รู้สึกไม่สบายหรือปวดได้
  • ท้องผูก: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกและปวดท้องน้อยได้

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม ?

ปวดอุ้งเชิงกราน  มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไปจนถึงช่วงหลังคลอด โดยอาการปวดกระดูกเชิงกรานมักไม่ได้เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในท้อง แต่อาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่บ้างในบางครั้งหากมีอาการปวดอย่างรุนแรงเกิดขึ้น ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามอาการปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์

 

อาการปวดอุ้งเชิงกรานที่ไม่เป็นอันตราย

  • ปวดหน่วงๆ ตึงๆ บริเวณท้องน้อย
  • ปวดแปลบๆ ที่ขาหนีบ (อาการปวดเอ็นยึด)
  • อาการปวดไม่รุนแรงและค่อยๆ ดีขึ้น
  • ไม่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด คลื่นไส้ อาเจียน

อาการปวดอุ้งเชิงกรานที่อาจเป็นอันตรายและควรไปพบแพทย์ทันที

  • ปวดท้องน้อยรุนแรง: ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือปวดตลอดเวลา
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด: เลือดออกมาก เลือดสด หรือมีลิ่มเลือด
  • ปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งอย่างรุนแรง: อาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • มีอาการอื่นร่วมด้วย:
    • ไข้ หนาวสั่น
    • ปัสสาวะแสบขัด หรือปัสสาวะบ่อย
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • หน้ามืด วิงเวียน
    • มดลูกแข็งตัวเป็นพักๆ ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ (อาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด)
    • น้ำเดิน

บทความที่เกี่ยวข้อง : อุ้งเชิงกรานแคบ กระดูกอุ้งเชิงกรานแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อะไรทำให้แม่ท้องปวดเชิงกรานมากขึ้น

  • การเดินนาน ๆ
  • การเดินเร็ว ๆ
  • การขึ้นลงรถ หรือเตียง
  • การพลิกตัวบนที่นอน
  • การนอนราบ
  • การนั่งยอง ๆ
  • การขึ้น-ลงบันได
  • การยืนขาเดียว (เช่น เวลาแต่งตัว ใส่กางเกง)
  • การเปลี่ยนท่าทางจากนั่งเป็นยืน
  • การวิ่ง และกระโดด

 

ทำอย่างไรให้หายปวดเชิงกราน

  • ใช้ไอซ์แพ็กประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 20 นาทีทุก 2-3 ชั่วโมง ควรห่อไอซ์แพ็กก่อน เพื่อไม่ให้น้ำแข็งสัมผัสผิวหนังโดยตรง
  • ยืนตัวตรง นั่งหลังตรง
  • ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์
  • นั่งรถเข็นแทนการเดินไกล ๆ
  • จัดท่าทางที่ช่วยลดอาการปวดเชิงกราน จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทำอย่างไรไม่ให้ปวดเชิงกรานมากขึ้น

  • เวลาเดินให้เดินก้าวสั้น ๆ และเดินเพียงใกล้ ๆ
  • หลีกเลี่ยงงานบ้านที่ต้องใช้แรงเยอะ
  • แบ่งงานใหญ่ ๆ ให้เป็นกิจกรรมย่อย ๆ
  • ทำไปพักไป อย่าหักโหม
  • เวลาพลิกตัวบนที่นอนควรรวบเข่าให้ชิดกัน
  • นอนตะแคงข้างโดยใช้หมอนหนุนขาไว้
  • นอนพักให้ถูกท่า
  • เมื่อท้องโตแล้วให้ใช้หมอนช่วยเสริม

 

ใครมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดกระดูกเชิงกรานบ้าง

จากการสำรวจพบว่า 1 ใน 5 ของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ มักจะมีอาการปวดกระดูกเชิงกราน (PGP) แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน จึงส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์แค่เพียงบางคนเท่านั้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอาจเชื่อมโยงกับปัญหาหลายประการ เช่น ความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นกับกระดูกเชิงกราน หรือข้อต่ออุ้งเชิงกรานมีการเคลื่อนไหวไม่สม่ำเสมอ รวมถึงตำแหน่งของทารกในครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปวดอุ้งเชิงกราน ขณะตั้งครรภ์ เจ็บท้องน้อย ปวดจี๊ด จะเป็นอันตรายหรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อไหร่ควรรับการรักษาสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์?

การได้รับการวินิจฉัยเร็วจะสามารถช่วยรักษาอาการปวดให้เหลือน้อยลงได้ โดยเฉพาะการรักษาเมื่อขยับข้อต่อไม่ได้ เพราะได้รับผลกระทบที่รุนแรง หากคุณแม่รู้สึกปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน ควรแจ้งให้คุณหมอทราบโดยตรง เพราะปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะไม่หายขาด จนกระทั่งคลอด และการรักษาจะช่วยบรรเทาอาการได้ค่ะ

 

 

การรักษาอาการปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์

เมื่อเกิดอาการปวดอุ้งเชิงกรานในระหว่างที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ สามารถทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวดได้เลยค่ะ เพื่อเป็นการปรับปรุงการทำงานกล้ามเนื้อ แถมยังช่วยให้ข้อต่ออุ้งเชิงกรานอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องอีกด้วย

  • ทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยให้ข้อต่อของกระดูกเชิงกราน สะโพก และกระดูกสันหลัง กลับมาเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
  • พยายามออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หน้าท้อง หลัง และกล้ามเนื้อสะโพกอยู่เสมอ
  • ออกกำลังกายในน้ำเพื่อให้อาการปวดบรรเทาลง
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยไม่ว่าจะเป็นไม้ค้ำ หรือเข็มขัดพยุงกระดูกเชิงกรานก็ทำให้คุณแม่ปวดน้อยลง
  • การบรรเทาอาการปวดด้วยการใช้ยารักษา

 

วิธีรับมือกับอาการปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์

ส่วนใหญ่นักกายภาพบำบัดมักจะแนะนำให้ใช้เข็มขัดพยุงกระดูกเชิงกรานเป็นตัวช่วยด้วย เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด หรือไม่ก็ใช้ไม้ค้ำ เพื่อช่วยให้คุณแม่เดินได้สะดวก แต่สำหรับคุณหมอบางท่านก็อาจจะมีคำแนะนำเสริมอีก ได้แก่

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น
  • พยายามสวมรองเท้าแบน และมีการรองรับแรงกระแทกได้ดี
  • ให้คุณแม่หนีบหัวเข่าเข้าด้วยกัน ขณะเข้าและออกจากรถค่ะ
  • นอนท่าที่สบาย โดยมีหมอนรองระหว่างขาด้วยค่ะ โดยเฉพาะท่านอนตะแคง
  • ให้หาวิธีพลิกตัวตอนอยู่บนเตียงด้วยวิธีต่าง ๆ กัน เช่น ให้ใช้เข่าทั้ง 2 ข้าง และกระเถิบก้นเพื่อเคลื่อนที่
  • ก้าวขึ้นบันไดทีละก้าว หรือจะใช้วิธีถอยหลังขึ้นบันไดแทนก็ได้ค่ะ
  • ห้ามยืนบนขาข้างเดียวในขณะแต่งตัว
  • พยายามเลี่ยงการอุ้มทารกไว้บนสะโพกข้างเดียว
  • ให้เลี่ยงการนั่งไขว้ขา
  • ไม่ยกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป

 

ปวดอุ้งเชิงกรานคลอดธรรมชาติได้ไหม ?

คุณแม่ที่มีอาการปวดอุ้งเชิงกรานในระหว่างตั้งครรภ์ สามารถคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติได้ แต่อาจจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับแผนการคลอดบุตรกับคุณพ่อหรือคุณหมอไว้ก่อนค่ะ และที่สำคัญก็เพื่อลดอาการปวดของคุณแม่ลงด้วยนั่นเอง หากปล่อยทิ้งไว้นานตอนคลอดจะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดมาก ๆ เลยค่ะ

 

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์บางราย ความเจ็บปวดนี้บางครั้งมันยังสามารถปวดไปจนถึงต้นขา และทำให้ได้ยินเสียงคลิก หรือรู้สึกขัด ๆ บ้างในบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยคุณแม่สามารถสังเกตอาการได้อย่างชัดเจนเวลาเดินขึ้นบันได หรือขณะพลิกตัวอยู่บนเตียง หากมีอาการปวดมากเกินไปจนรู้สึกใช้ชีวิตยากขึ้น คุณแม่ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันทีนะคะ เพราะอาการนี้จะไม่หายไป จนกว่าจะคลอดลูกเลยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ภาวะคลอดยาก cpd คือ อะไร อุ้งเชิงกรานแม่แคบ ลูกหัวโต ต้องผ่าคลอดเท่านั้น

การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์สำคัญอย่างไร

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 81 คนท้อง กับ ท่าบริหารอุ้งเชิงกราน

ที่มา : mali, agnoshealth

บทความโดย

Weerati