นิทานสำหรับลูกในท้อง อ่านแล้วทำให้ลูกในท้องสมองดี
มีข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า สมองของทารกเมื่อครบอายุครรภ์ 20 สัปดาห์นั้นจะเริ่มมีการพัฒนาการ สามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ การเริ่มพูดกับลูก เล่านิทานให้ลูกฟัง จะช่วยทำให้ลูกในครรภ์มีพัฒนาการด้านสมองและด้านความคิดมากขึ้น หนังสือหรือ นิทานสำหรับลูกในท้อง ที่พ่อแม่จะเลือกอ่านให้เบบี๋ในท้องฟัง ควรมีเนื้อหาที่ไม่หนักแน่น และใช้คำพูดเล่าเรื่องด้วยนำเสียงที่อ่อนโยน
การอ่านหนังสือและคุยกับลูกตั้งแต่ในครรภ์จะมีส่วนช่วยกระตุ้นด้านประสาทสัมผัสของลูกน้อย และสร้างวงจรในสมองของลูกได้ดี โดย พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าวว่า “ประโยชน์ของการอ่านหนังสือกับสมองของลูกนั้น สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างวงจรต่าง ๆ ในสมองของลูกตั้งแต่เริ่มต้นได้ดี” ทั้งการได้ยินเสียงจากพ่อแม่ ความรู้สึกภายในที่มีต่อพ่อแม่ และได้รับความรักจากการลูบสัมผัสผ่านหน้าท้อง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกในท้องคุ้นเคยกับพ่อแม่ได้ตั้งแต่ยังไม่คลอด
“ประโยชน์จากการการอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง เด็กจะมีความจำเกี่ยวกับคำ แม้ว่าเด็กจะไม่ได้ยิน แต่เด็กจะคุ้นชินกับคำ และประโยคที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง ยิ่งถ้าพ่อแม่มีการต่อยอดหลังลูกคลอดออกมา เด็กก็จะยิ่งมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น และเรียนรู้ได้เร็วขึ้น” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำแบบนี้ซ้ำ ๆ สอนลูกก่อนถึง 3 ขวบเท่าไหร่ ลูกจะมีชุดคำเป็นหมื่น ๆ ในสมอง ซึ่งจะมีผลต่อสติปัญญาของเด็กอย่างมาก
หนังสือนิทานประเภทไหนเหมาะสำหรับอ่านให้เบบี๋ในท้องฟัง
คุณแม่ซื้อเตรียมไว้เลยอ่านให้ลูกในท้องฟังวันนี้เก็บไว้ใช้ได้จนหลังคลอด เป็นหนังสือประเภทไหนก็ได้ นิทานชาดกที่มีคติสอนใจ หรือจะเป็นนิทานในเทพนิยาย ที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายและไม่เครียด
ตัวอย่างนิทานที่เหมาะสำหรับอ่านให้ลูกในท้องฟัง คลิก!
ทั้งนี้นอกจากการอ่านหนังสือ คุณพ่อคุณแม่อ่านจะเปลี่ยนมาเป็นการพูดคุยกับลูกพร้อมลูบท้องเบา ๆ ความอ่อนโยน ละเมียดละไมจากสัมผัส และน้ำเสียงอันอ่อนโยนที่เปี่ยมด้วยความรัก จะเป็นการสร้างภาวะอารมณ์ทางบวกให้กับลูก ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นสมองทั้งอารมณ์และความคิดได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ผ่านกิจกรรมที่ซับซ้อน อันจะเป็นฐานของการสร้างความฉลาดทางอารมณ์และสติปัญญาได้ตั้งแต่แรกเกิด
รู้อย่างนี้แล้ว พ่อแม่อย่ารอช้านะคะ หาหนังสือนิทานมาอ่านให้ลูกในท้องฟังกันค่ะ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรระวังคือ หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์ระหว่างตั้งครรภ์หรือเปิดให้ลูกดูเป็นประจำก่อนวัย 6 ขวบ เพื่อให้สมองของลูกพัฒนาไปตามธรรมชาติ ไม่ถูกกระตุ้นด้วยภาพและเสียงมากเกินไป อันจะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กสมาธิสั้นได้นะคะ
หากเห็นว่าบทความนี้น่าสนใจ ร่วมแชร์และแบ่งปันประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ ไปให้ถึงคุณแม่อ่านอื่น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ ๆ กันนะคะ
วิธีเล่นกับลูกในท้อง ยิ่งเล่น ลูกยิ่งฉลาดตั้งแต่อยู่ในครรภ์นะจ๊ะ
มีข้อสังเกตว่า ทารกที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เมื่อคลอดออกมาแล้วจะเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี ฉลาด หัวไว เรามาดูกันว่า วิธีเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการแบบง่ายๆ มีอะไรบ้าง
วิธีเล่นกับลูกในท้อง
1. คุยกับลูกในท้อง
ทราบหรือไม่ว่า ทารกสามารถได้ยินเสียงได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งระบบการได้ยินของลูก จะเริ่มพัฒนาเมื่ออายุครรภ์ได้ 24 – 26 สัปดาห์ขึ้นไป โดยลูกน้อยจะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจ และเสียงของคุณแม่ และเริ่มจดจำเสียงของคุณแม่ได้ เพราะฉะนั้น การคุยกับลูกตั้งแต่ที่เค้ายังอยู่ในท้องจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย
หากตั้งชื่อลูกไว้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเริ่มเรียกชื่อลูก หรือหากยังไม่ได้ตั้งชื่อ ก็อาจจะเรียกเค้าว่า เจ้าตัวเล็ก หรือเบบี๋ก็ได้ พูดกับลูกว่าคุณกำลังทำอะไร อยากโชว์อะไรให้ลูกรู้ก็พูดได้เลยค่ะ และเมื่อลูกเกิดมา ลูกก็จะจำเสียงของคุณแม่ได้ และรู้สึกถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่น ที่เกิดจากการพูดคุย อีกทั้งยังจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการการได้ยิน และช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูกได้อีกด้วย แต่อย่าไปเล่า หรือพูดเรื่องเครียดๆอย่างเช่น ไม่มีเงิน หรือถูกหวยกินให้ลูกฟังนะค่ะ เดี๋ยวลูกจะพลอยเครียดตามไปด้วย
2. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ตั้งแต่เค้ายังอยู่ในท้อง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกในท้อง คุณแม่อาจจะอ่านหนังสือนิทาน พร้อมทำท่า หรือใช้นิ้วทำท่าปูไต่ หรือใช้นิ้วทำท่าคนเดินบนหน้าท้องเพื่อเล่นกับลูก โดยอาจจะอ่านออกเสียงให้ลูกได้ยิน เพื่อที่เค้าจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆไปในตัว
3. เปิดเพลงฟัง ฮัมเพลงไปกับลูก
ลองเปิดเพลงเบาๆ แล้วร้องเพลง หรือฮัมเพลงคลอไปกับเสียงเพลง หรือคุณแม่อาจจะนั่งลงพร้อมใส่หูฟังที่ท้อง และเปิดเพลงให้ลูกฟัง ซึ่งเพลงที่เปิดนั้นไม่ใช่แค่เพียงเพลงกล่อมเด็ก หรือเพลงคลาสสิคเท่านั้น แต่คุณแม่สามารถเปิดเพลงปกติที่คุณแม่ชอบฟัง เพื่อให้ลูกได้ฟังไปด้วยก็ได้นะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเพลงป๊อป เพลงลูกทุ่ง หรือเพลงสากลก็ได้ และคุณแม่ก็อาจจะรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นตามจังหวะเพลงอย่างสนุกสนาน แถมยังช่วยคลายเครียดให้กับแม่ท้องได้อีกด้วย
4. เล่นกับลูกด้วยการลูบท้อง
ในช่วงใกล้คลอดนั้น แม่ท้องมักจะชอบลูบคลำท้องเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการลูบท้องนั้น จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของทารกในครรภ์ ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในเวลาที่คุณพ่อ หรือคุณแม่ ลูบหรือสัมผัสทารกในครรภ์ผ่านทางหน้าท้องนั้น ผิวของทารกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก และบางครั้งแม่ท้องอาจจะรู้สึกได้ว่า ลูกน้อยเคลื่อนไหวโต้ตอบ หรือลูกมีการขยับตัวไปตามมือที่ลูบท้อง หรืออาจจะรู้สึกว่าลูกเตะขาเพื่อโต้ตอบ เหมือนลูกกำลังเล่นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่
นอกจากนั้นแล้ว การลูบหน้าท้อง ยังเป็นการส่งผ่านความรู้สึกไปยังลูกในท้อง ซึ่งวิธีการลูบท้องนั้น อาจจะลูบเป็นวงกลม จากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบน บริเวณไหนก่อนก็ได้นะค่ะ ที่สำคัญ อย่าลืมใช้หัวใจและความรู้สึกส่งผ่านมือตอนที่ลูบไปด้วยนะค่ะ
5. เล่นจ๊ะเอ๋กับลูกโดยใช้ไฟฉาย
นี่คือเกมที่อาจจะสนุกที่สุด ที่คุณแม่สามารถเล่นกับลูกในท้องได้! โดยคุณแม่อาจจะใช้ไฟฉาย ส่องไฟลงไปบริเวณหน้าท้อง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็น โดยการเล่นแบบนี้จะยิ่งได้ผลดีเมื่อลูกเริ่มดิ้นในท้อง แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเล็งให้แสงเข้าตรงกับลูกตาของลูก เพียงแค่ส่องให้ลูกรู้ว่ามีแสงส่องเข้ามาก็พอแล้ว
เวลาที่เล่นจ๊ะเอ๋กับลูกโดยใช้ไฟฉาย หลายครั้งลูกจะเคลื่อนไหวตามแสงไฟ หากลูกน้อยมีการตอบสนอง เช่น เตะ หรือดิ้น นั่นก็หมายความว่าเค้าสามารถรับรู้ได้ และเกิดการตอบสนองนั่นเองค่ะ
สำหรับไฟฉายนั้น ควรเป็นแบบ 2 ท่อน หรือ 3 ท่อน หลอดธรรมดา ห้ามใช้แบบหลอดแรงสูงเด็ดขาด เพราะแสงที่จ้าเกินไป แทนที่จะเป็นผลดี แต่กลับจะทำให้เกิดอันตรายต่อจอประสาทตาของทารกได้
วิธีเล่นกับลูกในท้องดังที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากจะช่วยในเรื่องพัฒนาการต่างๆของทารกตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์แล้ว ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกในท้องได้อีกด้วยนะค่ะ
อ้างอิงข้อมูล : www.manager.co.th
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
แม่ท้องอ่านหนังสือเสริมความฉลาดทารกตั้งแต่ในครรภ์
ความสำคัญของการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!