ทำไงดี!? เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งความผิดปกติของระบบโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง ถัดจากภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะเกล็ดเลือดต่ำนี้จะมีพยาธิกำเนิดหลายชนิด จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่างกันออกไป ทางสูติแพทย์จึงจำเป็นต้องตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลพยาธิเหล่านี้ เพราะมันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของแม่ และลูกน้อยในครรภ์ได้

 

เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร

ในคุณแม่ตั้งครรภ์โดยปกติจะมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำเล็กน้อย ผลมาจาก Hemodilutional effect ร่วมกับการเพิ่มขึ้นของ platelet consumption ในเนื้อเยื่อ และการเพิ่มขึ้นของ Thromboxane A2 จึงทำให้เกิด platelet aggregation มากขึ้นตามมาด้วย ซึ่งการที่เกล็ดเลือดลดต่ำลง โดยปกติจะไม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพหรืออาการใด ๆ และไม่ได้ส่งผลต่อทารกในครรภ์ และค่าของเกล็ดเลือดในแต่ละไตรมาสก็ต่างกันด้วย และในไตรมาสที่สามจะลดลงต่ำที่สุด

 

 

เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงไหม ?

เกล็ดเลือด คือ ส่วนหนึ่งของเลือด คอยทำหน้าที่ไม่ให้เลือดออกได้ง่าย แต่ถ้าหากคุณแม่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเลือดออกไม่หยุด และอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณแม่ต้องผ่าคลอดโดยมีสาเหตุ ดังนี้

 

1. โรค ITP หรือ Immune thrombocytopenia

เป็นโรคที่ภูมิต้านทานของร่างกายคุณแม่ทำลายเกล็ดเลือดในร่างกายตัวเอง ซึ่งมาจากการติดเชื้อไวรัสในวัยเด็ก โดยปกติแล้วโรคนี้จะแสดงออกและตรวจเจอก่อนการตั้งครรภ์ แต่ก็มีกรณีที่ตรวจเจอทีหลังด้วยเช่นกัน แต่หากคุณแม่เป็นโรคนี้แล้วละก็ มีโอกาสที่ลูกของคุณแม่จะมีเกล็ดเลือดต่ำไปด้วยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยอาการที่คุณแม่สามารถสังเกตตัวเองได้ก่อนก็คือ

  • มีร่องรอยฟกช้ำได้ง่ายตามร่างกายในบริเวณต่าง ๆ
  • เหมือนมีผื่นบริเวณขา ซึ่งจริง ๆ เป็นเลือดออกใต้ผิวหนัง
  • มีเลือดออกปนในปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • มีเลือดออกตามเหงือกหรือมีเลือดกำเดาไหล
  • กว่าเลือดจะหยุดในแต่ละครั้งใช้เวลานานกว่าคนอื่น
  • ประจำเดือนออกมามากในแต่ละครั้ง

 

2. ครรภ์เป็นพิษ

เนื่องจากความดันเลือดสูง และมีโปรตีนปัสสาวะ คุณแม่ที่มีอาการของครรภ์เป็นพิษนั้นสามารถทำให้ภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้นะคะ แต่หลังจากที่คลอดลูกแล้ว ภาวะเกล็ดเลือดต่ำของคุณแม่ก็จะกลับมาเป็นปกติค่ะ โดยอาการครรภ์เป็นพิษเกิดจากความผิดปกติของการฝังตัวของรก ซึ่งปกติรกจะฝังบริเวณเยื่อบุผนังมดลูก แต่สำหรับคุณแม่ที่ครรภ์เป็นพิษรกจะฝังตัวได้ไม่แน่น จึงทำให้รกบางส่วนขาดออกซิเจน ขาดเลือดไปเลี้ยงในรก จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม อาการครรภ์เป็นพิษ ดูแลตัวเองอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

5-8 เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ จะมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำในช่วงไตรมาสที่สาม และยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ว่าทำไมถึงเกิดขึ้น แต่สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นพลาสมาในเลือดจะเพิ่มขึ้นเกือบ 50% จึงอาจจะมาจากสาเหตุนี้ก็เป็นได้ค่ะ โดยปริมาณเกล็ดเลือดจะเพิ่มขึ้นเป็นปกติหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้วค่ะ

นอกจากนี้ภาวะเกล็ดเลือดต่ำยังมีสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ผลจากการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาเจือจางเลือด
  • การติดเชื้อที่ไต
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากไป
  • มะเร็งบางชนิด

 

เมื่อมีอาการเกล็ดเลือดต่ำ ดูแลตัวเองอย่างไร

1. ใช้ยาอย่างระมัดระวัง

ผู้ที่มีอาการเกล็ดเลือดต่ำ สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดก็คือเรื่องของการใช้ยา โดยเฉพาะยาที่หาซื้อเองจากร้านขายยาทั่วไป ให้หลีกเลี่ยงยาที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น ยาไอบูโพรเฟน ยาแอสไพริน หรือยาต้านอักเสบต่าง ๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

2. ระมัดระวังการติดเชื้อ

สำหรับคนที่มีอาการเกล็ดเลือดต่ำ อย่าลืมสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองอยู่เสมอด้วยการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะคนที่เคยผ่าตัดม้ามออกไปแล้ว เพราะมีความเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อ ถ้าหากมีไข้ร่วมด้วย หรือมีอาการเหมือนติดเชื้อ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยอาการเกล็ดเลือดต่ำ ต้องอุดมไปด้วยไฟเบอร์ เนื่องจากช่วยป้องกันอาการท้องผูก หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินซี วิตามินบี 12 โฟเลต ธาตุเหล็ก เป็นต้น เพราะสารอาหารเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างการผลิตเกล็ดเลือดให้แก่ร่างกายได้ค่ะ ที่สำคัญควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวันด้วยค่ะ นอกจากนี้ ต้องเลี่ยงอาหารที่ทำให้ปริมาณเกล็ดเลือดต่ำด้วย เช่น นมวัว น้ำแครนเบอร์รี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารรสเผ็ด

 

 

การวินิจฉัยเกล็ดเลือดต่ำ

  • ซักประวัติผู้ป่วย เช่น การใช้ยา อาหารที่ทาน ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ รวมไปจนถึงประวัติภาวะเกล็ดเลือดต่ำของคนในครอบครัว
  • ตรวจร่างกาย เพื่อเช็กอาการเลือดออก ไม่ว่าจะเป็นรอยช้ำ จุดแดงใต้ผิวหนัง และตรวจหน้าท้องว่ามีอาการของม้ามโตขึ้นหรือเปล่า
  • ตรวจเลือด เป็นการตรวจเพื่อนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด คนที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จะมีจำนวนของเกล็ดเลือดต่ำกว่า 150,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร
  • การตรวจไขกระดูก เนื่องจากไขกระดูกถือเป็นอวัยวะที่ช่วยสร้างเกล็ดเลือด ดังนั้น การตรวจไขกระดูกจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยหาสาเหตุได้ว่าทำไมเกล็ดเลือดถึงต่ำ ทำไมไขกระดูกถึงผลิตเลือดได้ไม่เพียงพอ โดยตรวจได้ 2 วิธี คือ การเจาะไขกระดูกแล้วนำไปส่องกล้องกับการตัดชิ้นเนื้อบางส่วน ซึ่งจะทำหลังจากการเจาะไขกระดูกแล้ว
  • การตรวจอื่น ๆ เช่น ตรวจการแข็งตัวของเลือด หรือบางครั้งแพทย์อาจจะอัลตราซาวนด์ เพื่อดูว่าม้ามมีการขยายตัวหรือไม่

 

สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จำเป็นต้องดูแลรักษาสุขภาพกายเป็นพิเศษ ทั้งทางกายและทางใจ พยายามออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอและต้องออกให้เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทานอาหารเพื่อป้องกันเชื้อโรค รับการฉีดวัคซีนตามกำหนด นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และจัดการความเครียดของตัวเองด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อลูกน้อยในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลอันตรายต่อแม่และลูกในครรภ์สูง

โรคโลหิตจาง ในคนท้อง หากแม่ท้องขาดธาตุเหล็กเสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

5 เมนู อาหารเพิ่มเม็ดเลือดแดงคนท้อง คนท้องเลือดจางควรกินอะไร ?

ที่มา : bellybelly, MED CMU, pobpad