ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก มีไข้ ทำอย่างไรทารกแรกเกิดจะหายหวัด?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเป็นหวัด ควรทำอย่างไรดี ยิ่งเด็กเพิ่งเกิด เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนยิ่งเป็นกังวลมาก หากลูกน้อยมีไข้ขึ้น มีน้ำมูก ร้องไห้จนหาสาเหตุไม่ได้ ก็ยิ่งน่ากังวลเข้าไปใหญ่ เราจะทราบได้อย่างไร ว่าลูกเป็นหวัด และเราจะสามารถบรรเทาอาการหวัดเบื้องต้นให้ลูกน้อยได้อย่างไรบ้าง วันนี้ theAsianparent Thailand จะมาเล่าให้ฟัง

 

อาการหวัด คืออะไร

หวัด คือ โรคทางสุขภาพชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทางจมูก คอ กล่องเสียง หรือไซนัส แต่โดยส่วนใหญ่ อาการหวัดจะไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงมากนัก หากลูกน้อยเราเป็นหวัด เพียงแค่ไม่กี่วัน เด็กก็สามารถหายจากหวัดได้แล้วค่ะ แต่ทั้งนี้ เราจะต้องดูแลลูกให้ดี และให้ลูก ๆ นอนพักผ่อนด้วยจึงจะหายนะคะ

 

ลูกน้อยเป็นหวัด ทารกเป็นหวัด พ่อแม่จะมีวิธีสังเกตอย่างไร

ยิ่งลูกเป็นหวัดตอนที่ยังอายุน้อย หรืออยู่ในวัยทารกแรกเกิด ก็ยิ่งสร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่เป็นอย่างมาก เด็ก ๆ ยังพูดไม่ได้ ไม่สามารถบอกเราได้ว่าเจ็บป่วยตรงไหน หรือต้องการอะไร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลและสังเกตลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ความจริงแล้ว วิธีสังเกตอาการหวัดในเด็กนั้นทำได้ง่าย ๆ ขั้นแรก ให้ดูว่าลูกมีน้ำมูกไหล หรือคัดจมูกอยู่หรือเปล่า ซึ่งหากเด็กเป็นหวัด น้ำมูกของเด็กจะมีสีเหลือง สีเทา หรือสีเขียวปนอยู่ ทั้งนี้ ทารกแรกเกิดบางคน ก็อาจมีไข้อ่อน ๆ ได้ รวมทั้งเด็ก ๆ อาจมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • ลูกมีอาการไอบ่อย ๆ ไอไม่หาย
  • ลูกน้อยรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกไม่สบายตัว
  • ลูกน้อยมีอาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ เป็นอาการหวัดเพียงเบื้องต้น ไม่ใช่อาการที่น่ากังวลใจอะไร แต่ถ้าหากเด็กมีอาการต่อไปนี้ คุณแม่ควรพาน้องเข้าพบคุณหมอ เพราะเด็กอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ภายหลัง

  • ลูกเป็นหวัด ดูเซื่องซึม ไม่ร่าเริงเหมือนอย่างเคย
  • ลูกไม่ยอมดูดน้ำ ไม่ยอมกินนมแม่
  • เด็กมีน้ำมูกเกรอะกรังมากกว่า 1 สัปดาห์ และไม่มีทีท่าว่าอาการจะดีขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด ลูกมีน้ำมูก แต่ไม่มีไข้ ควรทำอย่างไร?

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจัยที่ทำให้ลูกเป็นหวัดมีน้ำมูก

ทั้งนี้ มีปัจจัยมากมาย ที่ทำให้ลูกน้อยเป็นหวัดได้ง่าย คุณแม่ต้องคอยระมัดระวังสิ่งเหล่านี้ให้ดี

  • สภาพอากาศที่ร้อนเกินไป เย็นเกินไป หรือร้อนชื้นเกินไป สามารถทำให้เด็กมีไข้อ่อน ๆ หรือเป็นหวัดได้ง่าย
  • หากเด็กอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีผู้ป่วยเยอะ ก็อาจทำให้เด็กป่วยตามได้
  • หากเด็กอยู่ในครอบครัวที่มีญาติป่วยเรื้อรัง เด็กก็สามารถติดโรคหรือหวัดด้วยได้
  • หากเด็กอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสารก่อภูมิแพ้อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ หรือการเลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน เช่น สุนัข แมว หรือการได้รับมลพิษทางอากาศ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ เป็นต้น

 

เช็ดตัวลดไข้ให้ลูกน้อยด้วยน้ำมะนาว

หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยของเรามีหวัด เราสามารถลดไข้ให้ลูกน้อย ด้วยวิธีต่อไปนี้ได้ค่ะ

  • เลือกมะนาวมา 1 ลูก จากนั้นให้นำมะนาวไปกดใต้น้ำที่เตรียมไว้เช็ดตัวลูกประมาณ 20-30 วินาที
  • หั่นมะนาวและบีบน้ำมะนาวใต้น้ำที่เตรียมไว้
  • ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดย้อนตามรูขุมขนเข้าไปหาหัวใจลูก เพื่อให้รูขุมขนเปิด และเพื่อให้ร่างกายเด็กระบายความร้อนได้ดี
  • ใช้ผ้าอีก 2 ผืนชุบน้ำอุ่น และพันรอบ ๆ เท้าเด็กถึงหัวเข่า จากนั้นทิ้งไว้ 10 นาที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีล้างจมูกด้วยน้ำเกลือและลูกยาง

อีกหนึ่งสิ่งที่คุณแม่ทำได้ คือ การล้างจมูกลูกน้อยในระหว่างที่ลูกไม่สบายหรือเป็นหวัด ซึ่งวิธีทำก็มีง่าย ๆ ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกเป็นหวัด สามารถบรรเทาอาการไอของลูกด้วยนม

นอกจากนี้แล้ว เรายังบรรเทาอาการไอของลูกได้ด้วยนมค่ะ หากลูกน้อยยังไม่หย่านม แนะนำว่าให้นำลูกเข้าเต้าดูดนม หรือไม่ก็ลองให้ลูกดื่มน้ำอุ่น ๆ ทนได้หากเด็กโตพอที่จะดื่มน้ำได้แล้ว ในระหว่างนี้ ควรให้เด็กนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนะคะ รวมทั้งคุณแม่ต้องคอยสังเกตสีของปัสสาวะของลูกด้วย ควรให้ลูกดื่มน้ำจนสีปัสสาวะเจือจางเหมือนน้ำเปล่า และถ้าลูกเบื่ออาหาร ก็ให้เขาลองกินน้ำหวาน น้ำผลไม้ หรือน้ำข้าวต้มดูได้ ปกติแล้วหากคุณแม่ทำตามวิธีเหล่านี้ อาการหวัดลูก ๆ จะหายไปหลัง 7 วัน แต่หากอาการเด็กยังไม่ดีขึ้น คุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบพทย์โดยด่วนค่ะ

 

ระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากไข้หวัด

ในระหว่างนี้ เป็นไปได้ที่เด็กจะเกิดอาการแทรกซ้อน หากอาการหวัดของเด็กรุนแรงขึ้น ซึ่งโรคแทรกซ้อนเหล่านั้น ได้แก่

 

1. โรคไซนัสอักเสบ

อาการไซนัสอักเสบ เป็นอาการที่เกิดจากไข้หวัด เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีเยื่อจมูกบวม คัดจมูก รวมทั้งอาจมีหนองหรือน้ำมูกอยู่ในโพรงไซนัสด้วย จนเกิดเป็นไซนัสอักเสบ ซึ่งอาการที่เห็นได้ชัด คือ ปวดโพรงจมูก และหายใจมีกลิ่น

 

2. โรคหูอักเสบ

เมื่อเด็กทารกไอหนัก จะทำให้เกิดโรคหูอักเสบ ซึ่งมาจากการที่เยื่อบุที่หูและคอบวมจนตีบตัน จนร่างกายไม่อาจระบายแรงดันอากาศในช่องหูชั้นกลางได้ ทั้งนี้ เด็กอาจติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลางด้วย จนทำให้เกิดภาวะหูอักเสบจนนำไปสู่อาการหูน้ำหนวกได้ในที่สุด

 

3. โรคหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ

คุณแม่ควรระวังเรื่องปอดอักเสบในทารกด้วย เพราะเชื้อโรคมักจะเดินทางผ่านหลอดลมลงมาที่บริเวณร่างกายส่วนล่างแล้วเข้ามาที่ปอด จนทำให้หลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบได้ วิธีสังเกต คือ เด็กจะมีอาการไอมากขึ้น ไข้ขึ้น และหอบเหนื่อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็นหวัดลงกระเพาะ ไวรัสลงกระเพาะ ระบาด ทารก-เด็กเล็ก ต้องระวังป่วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. โรคหอบหืด

เป็นโรคที่เกิดจากทางเดินหายใจที่บวม ตีบแคบลง ซึ่งจะไปถูกกระตุ้นให้มีปฏิกิริยาภูมิแพ้หรือสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย เมื่อหายใจจะมีเสียงดัง “วี้ด” หอบ มีอาการแน่นหน้าอก ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในตอนกลางคืน ขณะออกกำลัง หรือขณะเป็นหวัดหาก ซึ่งภ้าลูกเป็นโรคหอบหืดอยู่แล้ว อาจทำให้หายใจไม่สะดวกหรือหอบเหนื่อยมากยิ่งขึ้น หากเป็นหนักมาก ๆ จะต้องรีบทำการรักษาด่วน

 

5. โรคชักจากไข้สูง

ส่วนใหญ่ อาการนี้มักจะเกิดกับเด็กที่อายุ 6 ขวบ ซึ่งคุณแม่ควรลดไข้ลูกด้วยการเช็ดตัวหรือให้เด็กรับประทานยาลดไข้ตามแพทย์สั่ง อย่าปล่อยให้เด็กไข้สูงนานเกินเด็ดขาด

 

6. โรคเฮอร์แปงไจนา

เป็นโรคที่ติดต่อจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย  สารคัดหลั่ง และอุจจาระ ของคนที่มีเชื้อ เมื่อสัมผัสแล้วนำมือเข้าปาก แล้วเผลอรับประทานเข้าไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้จะเป็นมากในเด็กที่อายุน้อยกว่า  10  ปี อาการของโรคเฮอร์แปงไจนาจะเริ่มต้นด้วยอาการไข้ สูงได้ถึง 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดตามตัว บางรายอาจมีอาเจียนร่วมด้วย ต่อมาจะรู้สึกเจ็บบริเวณเพดานปากและคอนำมาก่อน ตามด้วยจุดแดง ๆ บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ตุ่มแดงที่ทอนซิล หรือบริเวณในลำคอ จำนวนประมาณ 5 – 10 ตุ่ม หลังจากนั้นอาการไข้จะค่อย ๆ ลดลงภายใน 2 – 4 วัน แต่แผลในปากอาจอยู่ถึงประมาณ 1 สัปดาห์

 

จะป้องกันอาการไข้หวัดสำหรับลูกน้อยได้อย่างไร

เนื่องจากเด็กแรกเกิดยังมีภูมิค่อนข้างต่ำ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ในปัจจุบัน เด็ก ๆ ต้องเจอทั้งอากาศและสารพิษต่าง ๆ รอบตัว ฉะนั้นก็ไม่แปลก หากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายเด็กได้ง่าย คุณแม่ควรให้ลูกอยู่ห่างจากคนที่เป็นไข้ หรือเสี่ยงต่อการเป็นไข้ และอย่าลืมให้ลูกดูดนมจากเต้าบ่อย ๆ เพื่อช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันนะคะ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นดูแลตนเองด้วย โดยการล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อยู่เสมอ แต่ไม่แนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์เจล เพราะลูกอาจแพ้แอลกอฮอล์ได้ค่ะ

 

ลูกเป็นหวัด เป็นเรื่องที่น่าห่วง คุณพ่อคุณแม่จึงควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ พยายามหลีกเลี่ยงลูกไม่ให้เข้าใกล้สถานที่ที่แออัด หรือมีอากาศร้อนเกินไป หากลูกเกิดเป็นหวัดแล้วก็ต้องคอยเช็ดตัวและล้างจมูกให้ลูกด้วยนะคะ ไม่เช่นนั้นก็อาจทำให้เด็กเกิดอาการหวัดรุนแรง หรืออาจมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไขข้อสงสัย! เลือก ยาแก้หวัดเด็ก อย่างไรให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย?

ลูกเป็นหวัด ทำอย่างไรให้หายป่วยเร็ว แม่สงสารจับใจ ทารกเป็นหวัดกี่วันหาย

ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม สระผมได้หรือเปล่า ลูกป่วยไม่สบายควรดูแลอย่างไร?

ที่มา : Babycenter, Dlibrary, Doctor.or.th, Bangkok Hospital, Pobpad, Phyathai, Phyathai