เด็กทารกวัยขวบปีแรก นับเป็นวัยที่สมองและร่างกาย มีอัตราการเจริญเติบโตมากที่สุด อาหารและโภชนาการจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จริงอยู่ที่ในช่วงระยะเริ่มต้น นมแม่ถือเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดของทารก เพราะเป็นอาหารที่มีโภชนาการที่สูงมากพอต่อการเจริญเติบโต แต่เมื่อโตขึ้น นมแม่เพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนั้นการที่คุณพ่อคุณแม่รู้ ตารางอาหารทารก หรือ ตารางอาหารเด็กเล็ก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน
เพราะการเจริญเติบโตของทารก จำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหาร และพลังงานจากแหล่งอาหารอื่น ๆ ด้วย theAsianparent ขอแนะนำให้รู้จักกับตารางอาหารทารก หรือ ตารางอาหารเด็กเล็ก เพื่อให้แม่ ๆ ได้ทำให้ลูกน้อยรับประทานกันค่ะ
หากแม่ชอบกินอาหารซ้ำ ๆ ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงแพ้อาหาร
ในช่วงที่คุณแม่กำลังให้นมลูก แพทย์แนะนำให้กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นอาหารที่หลากหลาย และไม่จำเป็นต้องงดอาหารใด ๆ เพราะการกินอาหารแบบเดิมซ้ำ ๆ อาจทำให้ลูกแพ้อาหารชนิดนั้นไปด้วยยกเว้นอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น ของหมัก/ดอง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกตาราง อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก ในแต่ละช่วงวัย พร้อมวิธีทำ
ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ลูกควรได้รับ
ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและกิจกรรมของลูกน้อย สามารถแยกได้ดังนี้
- อายุ 0-6 เดือน น้ำหนัก 5-6 กิโลกรัม กินนมอย่างเดียวก็เพียงพอ เพราะไม่ได้ทำกิจกรรมอื่น นอกจากการนอน กินนมแม่ ยิ้ม ร้องไห้ หรือขับถ่าย
- อายุ 6-12 เดือน น้ำหนัก 8-10 กิโลกรัม ควรได้รับพลังงาน 800-1,000 กิโลแคลอรี/วัน
ตารางอาหารทารก และตารางอาหารเด็กเล็ก
ตารางอาหารทารกและเด็กเล็ก สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด – 5 ปี โดยแบ่งออกเป็นแต่ละช่วงวัย คุณแม่รู้ไหมว่าลูกน้อยในแต่ละวัยควรได้รับอาหารแบบไหน และควรให้อาหารเสริมให้ลูกกินเมื่อไหร่ อย่างไร ข้อควรระวังในการให้อาหารลูก รวมถึงการดูแลลูกเมื่อลูกป่วย พ่อแม่ควรให้ลูกทานอาหารอย่างไร เรามาดูเคล็ดลับอาหารของลูกน้อยแต่ละวัยกันดีกว่าค่ะ
|
อายุเด็ก |
อาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัย |
แรกเกิด – 6 เดือน |
ให้นมแม่เพียงอย่างเดียว สำหรับในช่วง 2 เดือนแรก สามารถให้นมได้ 8-10 มื้อ ตามที่คุณแม่ต้องการ หลังจากนั้นควรให้นมห่างออกไปในช่วงกลางคืน |
6 – 8 เดือน |
ให้อาหารตามวัยที่บดละเอียด หรือเป็นอาหารแบบกึ่งเหลว และควรพยายามป้อนด้วยช้อนเพื่อฝึกเด็กให้รู้จักการกลืนค่ะ |
9 – 12 เดือน |
ในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารบดหยาบมากขึ้น และพยายามลดนมมื้อดึกลงนะคะ |
1 – 2 ปี |
ฝึกให้เด็กได้ลองถือถ้วยหัดดื่ม พยายามหยิบของกินและตักอาหารด้วยตัวเอง และควรให้เด็กได้หัดเคี้ยวอาหารชิ้นเล็ก ๆ แต่ต้องไม่แข็งนะคะอาจเริ่มจากผักต้มก็ได้ และควรงดให้นมลูกจากขวด |
3 – 5 ปี |
พยายามฝึกให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการรับประทานอาหารร่วมกัน ให้ลูกน้อยได้ลองใช้ช้อนกลางตักอาหารกับพ่อแม่หรือคนอื่น ๆ และอย่าลืมจัดเตรียมภาชนะและอาหารสำหรับลูกน้อยด้วยนะคะ |
วิธีเลือกอาหารเสริมให้เหมาะสมกับเด็ก
- เด็กเล็กพ่อแม่ควรให้ลูกได้กินอาหารที่มีรสธรรมชาติก่อน ไม่ควรปรุงแต่งรสชาติมากเกินไป โดยในการปรุงอาหารแต่ละครั้ง แนะนำว่าห้ามเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือของปรุงรสในนมและอาหารเด็กเป็นอันเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกน้อยติดรสหวาน และเบื่ออาหารได้ในที่สุดค่ะ
- ควรให้นมและอาหารลูกน้อยเป็นเวลา สำหรับอาหารว่างสำหรับเด็กนั้น แนะนำว่าควรมีโปรตีนเป็นหลักค่ะ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแต่แป้งและน้ำตาลให้มากที่สุด ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กได้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมนะคะ
- หากลูกน้อยกินอาหารน้อย หรือไม่สามารถกินครบ 5 หมู่ได้ หรือมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าเกณฑ์ พ่อแม่อาจต้องให้ลูกได้กินวิตามินรวมเสริม พร้อม ๆ กับจูงใจให้เด็กกินได้กินอาหารให้ครบถ้วนอีกด้วย และพ่อแม่ต้องใจแข็งอย่าให้ลูกได้กินขนมจุบจิบ และน้ำหวานระหว่างมื้อ ลูกน้อยจะได้กินข้าวได้เยอะ ๆ ค่ะ แต่ถ้าลูกยังไม่ยอมกินข้าวและมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปอาจต้องปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านก็ได้ค่ะ
อาหารสำหรับเด็กป่วย พ่อแม่ควรทำอย่างไร
เวลาที่ลูกน้อยป่วย มักจะไม่ชอบกินอาหารและเกิดอาการเบื่ออาหาร ไหนจะร่างกายอ่อนแอด้วย เมื่อเด็กป่วย โดยเฉพาะเป็นโรคอุจจาระร่วง หรือออกหัด เด็กจะเบื่ออาหาร ลำไส้ดูดซึมอาหารน้อยกว่าปกติ การป่วยแต่ละครั้งจะทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก และถ้าป่วยปีละหลายครั้ง จะทำให้เด็กเป็นโรคขาดสารอาหารและตัวเล็กกว่าวัย ดังนั้น การให้ลูกได้กินอาหารระหว่างที่ลูกป่วยหรือช่วงพักฟื้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ
- ในระยะที่เจ็บป่วย เด็กควรได้รับนมแม่บ่อยขึ้นและอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก โดยควรเพิ่มทีละน้อยและบ่อย ๆ ในแต่ละวัน
- หากเด็กมีอาการเจ็บป่วย และเบื่ออาหารนานเกิน 2-3 วัน ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาลูกน้อยจะได้ไม่เจ็บป่วยร้ายแรงมากขึ้นกว่าเดิมค่ะ
- หลังการเจ็บป่วยในระยะพักฟื้น เด็กต้องการอาหารเพิ่มขึ้น 1 มื้อ ทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกน้อยได้ทานในปริมาณที่เหมาะสมตามวัย เพื่อที่ลูกน้อยจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน เนื่องจากในอาหารแต่ละชนิดอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกได้ดี ส่วนใหญ่จะให้ลูกทานไข่เป็นอาหารเสริมกัน ไม่ใช่ว่าคุณแม่จะดูแลเฉพาะลูกน้อยอย่างเดียว ต้องดูแลตัวเองด้วย เพราะคุณแม่ที่ให้นมยังต้องการสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายด้วยเช่นกัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
5 เรื่องเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหาร ที่แม่ต้องรู้ก่อน ฝึกลูกให้กินข้าวเอง
ลูกแพ้ไข่ รู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้ไข่ ลูกแพ้อาหาร ผื่นขึ้น วิธีสังเกตว่าลูกแพ้อาหาร อาการทารกแพ้อาหาร
ขนมที่พ่อแม่ไม่ควรให้ลูกกิน ของว่างที่ไม่ดีต่อสุขภาพลูก เคล็ดลับการเลือกขนมและของว่างสำหรับลูกน้อย
ที่มา : factsforlifethai.cf.mahidol.ac.th
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!