เพราะในช่วง 1-2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ทารกจะมีการเจริญเติบโตเร็วมาก คือ นับตั้งแต่อสุจิผสมกับไข่ ตัวอ่อนจะมีการแบ่งเซลล์ สร้างอวัยวะ สร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว การขาดสารอาหารบางอย่างในช่วงนี้จะทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตผิดปกติ ดังนั้นการที่คุณเตรียมตัวให้พร้อมเสมอก็จะช่วยให้ลูกน้อยได้เติบโตขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง และลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งได้อีกด้วย
ควรเริ่มรับประทานอาหารบำรุงสุขภาพเมื่อไหร่ดี?
โดยปกติแล้วช่วง 1 ไตรมาสก่อนตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะบำรุงร่างกายเพื่อพร้อมรับชีวิตใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่เราเข้าใจว่าทุกคนย่อมมีสรีระก่อนตั้งครรภ์ที่ต่างกัน แนน่นอนว่าเรื่องน้ำหนักตัวนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยปริมาณของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในระดับที่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์ คือ
น้ำหนักตัวเริ่มต้น (ก่อนตั้งครรภ์) น้ำหนักที่เพิ่มได้
มีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วน 7-10 กก.
มีน้ำหนักตัวปกติ 12-15 กก.
มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ 15-18 กก.
โดยในช่วง 3 เดือนแรกอาจมีน้ำหนักขึ้นเพียงเล็กน้อย คือ ประมาณ 1 กิโลกรัม แต่ก็อย่าวางใจค่ะ เมื่อขึ้นเดือนที่ 4 น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จึงต้องระวังเรื่องน้ำหนักเกินไว้ด้วย
อาหารบำรุงสุขภาพก่อนตั้งครรภ์นั้นสำคัญอย่างไร?
การรับประทานอาหารเพื่อบำรุงสุขภาพนั้น ดีต่อสุขภาพองค์รวมของคนที่กำลังเตรียมตัวเป็นคุณแม่ โดยแบ่งแยกออกมาได้เป็นส่วนดีต่อแทบทุกระบบในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อและ ปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ที่ดีขึ้นด้วย แน่นอนที่สุดคือเพิ่มโอกาสในการต้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยมีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนเรื่องของการเสริมโภชนาการผู้ที่เตรียมตัวเป็นคุณแม่ ทั้งในเรื่องของการลดโอกาสการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ในทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ลดลงมากถึง 50% ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวแรกเกิดตามเกณฑ์ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังเมื่อโตขึ้น รวมถึงสร้างภาวะแวดล้อมในมดลูกให้สมบูรณ์เหมาะสำหรับทารกที่จะเจริญเติบโตได้อย่างสบาย
และแน่นอนว่าสำหรับผู้ที่จะเตรียมตัวตั้งครรภ์นั้น สารอาหารที่จำเป็นย่อมต่างจากคนทั่วไป ส่วนอะไรจะจำเป็นต่อคุณแม่คนใหม่บ้างนั้น ติดตามต่อตอนหน้าได้เลยค่ะ
โภชนาการช่วงแรกของชีวิต…เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง (ตอน 1)
โภชนาการช่วงแรกของชีวิต…เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง (ตอน 2)
References
1McCowan, L.M.E., et al (2010). Clinical Prediction in Early Pregnancy of Infants Small for Gestational Age by Customised Birthweight Centiles: Findings from a Healthy Nulliparous Cohort: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology, 117 (13), 1599-1607
2 Godfrey, K.M., Gluckman, P.D., Hanson, M.A. (2010). Developmental origins of metabolic disease: life course and intergenerational perspectives. Trends Endocrinol Metab. 21(4), 199-205
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!