ทราบหรือไม่คะว่า จริง ๆ แล้วร่างกายของคุณแม่เริ่มผลิตน้ำนมแม่ตั้งแต่ลูกยังไม่เกิดเลยละค่ะ
ทันทีที่ร่างกายคุณแม่รับรู้ว่า คุณแม่กำลังอยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะเริ่มผลิตน้ำนม ด้วยการผลิตเซลล์น้ำนมหลายล้านเซลล์ โดยที่เราเรียกเจ้าเซลล์นี้ว่า “อัลวีโอไล”
และเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราลืมตาขึ้นดูโลก และเริ่มดูดนม เซลล์นี้ก็จะเคลื่อนที่ผ่านท่อน้ำนม และไหลออกมาบริเวณหัวนมของคุณแม่นั่นเอง
ในช่วงครึ่งทางของการตั้งครรภ์ หน้าอกของคุณแม่ ก็จะเริ่มผลิต “น้ำนมเหลือง” หรือที่เราคุ้นหูกันดีว่า ” คอลอสตัม” ที่มีความข้นและสีออกเหลือง ก่อนที่จะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นขาวและเหลวมากขึ้น คุณแม่ไม่ต้องแปลกใจนะคะว่า ทำไมเจ้าน้ำนมเหลืองถึงผลิตออกมาได้น้อย เรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติมาก ๆ เลยละค่ะ เรียกได้ว่าเป็นน้ำนมแรกเริ่มที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับลูกเลย เล็กน้อยแต่แจ๋ว สมชื่อเลยละค่ะ
[youtube
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมาช้าของน้ำนม อาจเกิดจาก
- คุณแม่ท้องแรกอาจจะมีน้ำนมช้ากว่าท้องหลัง
- คุณแม่ที่มีระยะเบ่งคลอดที่ยาวนาน หรือมีภาวะเครียดระหว่างการคลอดจะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้าด้วย
- คุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดจะมีน้ำนมมาช้ากว่าคุณแม่ที่คลอดปกติ
- หัวนมแบนหรือหัวนมบอด
- คุณแม่ที่อ้วนหรือมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน
- การที่มีเศษของรกค้างอยู่ในมดลูก
- การกระตุ้นให้ลูกดูดนมหรือปั๊มนมห่างเกินไป ก็จะส่งผลให้น้ำนมมาช้าได้
แต่ปัจจัยที่ส่งผลทำให้น้ำนมมาช้าก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เพียงแต่คุณแม่อาจต้องหาวิธีการกระตุ้นน้ำนม หรือเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการให้ลูกช่วยกระตุ้นจากการดูดนมหรือปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ชั่วโมง ก็จะทำให้น้ำนมแม่มาเร็วขึ้นและเพียงพอได้แล้วละค่ะ
ที่มา: Pregnancy Video
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
หัวนมบอดหรือหัวนมบุ๋ม และวิธีแก้ไข
แม่เครียดทำให้น้ำนมไม่ไหล จริงหรือ?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!