Q&A 7 คำถามแม่ท้อง ที่หมอสูติอยากบอก

สำหรับคุณแม่ท้องแรกอาจมีคำถามมากมายที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด นี่คือ คำถามแม่ท้อง ที่มักถามคุณหมอบ่อยๆ เราได้รวบรวมมาไว้ให้คุณแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7 คำถามแม่ท้อง ที่หมอสูติอยากบอก

ไขข้อข้องใจคุณแม่ท้อง คำถามต่อคำถาม โดย Jane Mason อดีตคุณหมอผดุงครภ์และเจ้าของบริษัท Natural Birthing ได้ตอบคำถามยอดฮิตของคุณแม่ท้องทั้งหลายผ่าน นิตยสารคอสโมโพลิแทน UK จะมีคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบหรือเปล่าติดตามได้เลยค่ะ

1. Q: เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่ควรทำคืออะไร

A: ควรจำให้ได้ว่าประจำเดือนของคุณมาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ และลองเข้าโปรแกรมคำนวณอายุครรภ์ออนไลน์ คุณจะทราบในเบื้องต้นว่า ตอนนี้คุณมีอายุครรภ์กี่สัปดาห์แล้ว จากนั้น ควรรีบไปฝากครรภ์ภายใน 8-12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ค่ะ

บทความแนะนำ กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

2. Q: ควรเลือกโรงพยาบาลอย่างไร

A: ระยะทางจากบ้านไปถึงโรงพยาบาลเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจค่ะ แนะนำให้ลิสต์รายชื่อโรงพยาบาลที่คุณสามารถเดินทางสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนหรือชั่วโมงเร่งด่วน จากนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการเลือกโรงพยาบาลคือ สอบถามจากเพื่อนหรือครอบครัวที่มีประสบการณ์ใช้บริการโรงพยาบาลนั้นๆ ว่า การให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นอย่างไร

บทความแนะนำ 10 รายชื่อหมอสูติ-นรีแพทย์ยอดนิยม

3. Q: การอัลตร้าซาวนด์เพศทารกมีความแม่นยำแค่ไหน

A: ทารกในครรภ์จำเป็นต้องอยู่ในท่าที่เหมาะสมที่จะทำให้เห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจน เมื่อทำการอัลตร้าซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ ถ้าไม่มีอะไรมาบดบังมักสามารถบอกเพศได้อย่างแม่นยำ 100% แต่ความยากอยู่ตรงที่ทารกไม่อยู่ในท่าที่จะให้เราเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจนนั่นเอง

บทความแนะนำ 5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าจะได้ลูกชาย

4. Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำเดิน

A: คุณแม่บอกคนบอกว่ารู้สึกว่าถุงน้ำคร่ำแตกโพละอยู่ข้างใน และจากนั้นก็มีน้ำไหลพรั่งพรูออกมาจากช่องคลอด หรืออาจแค่มีน้ำไหลออกมาโดยไม่รู้ตัวมาก่อน บ้างก็รู้สึกเปียกจนต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและเช็ดพื้นก็มีค่ะ

ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ลูกกลับหัวลงสู่อุ้งเชิงกราน และกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณอาจฉี่เล็ดออกมาโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น วิธีที่จะแยกความแตกต่างระหว่างปัสสาวะ กับน้ำเดิน คือ น้ำคร่ำจะเป็นน้ำใสๆ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เมื่อมั่นใจแล้วว่าถุงน้ำคร่ำแตกให้ตั้งสติก่อนเป็นอันดับแรก ให้ใส่ผ้าอนามัยแล้วไปโรงพยาบาลได้เลยค่ะ เพราะน้ำเดินเป็นสัญญาณว่าคุณแม่เข้าสู่ระยะคลอดแล้ว ผ่านไปสักพักคุณแม่จะเริ่มเจ็บท้อง และจะต้องคลอดภายใน 24 ชั่วโมงอย่างแน่นอน

บทความแนะนำ น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

อ่าน คำถามแม่ท้อง ข้อ 5-7 คลิกหน้าถัดไป

5. Q: คุณแม่ที่อึเล็ดออกมาตอนเบ่งคลอดมีบ่อยแค่ไหน

A: พบไม่บ่อยค่ะ เพราะร่างกายคนเราจะเคลียร์ตัวเองตามธรรมชาติเพื่อเตรียมตัวสู่การคลอดอยู่แล้ว คุณแม่จะรู้สึกว่าเองว่าอยากเข้าน้ำก่อนที่จะเข้าห้องคลอด แต่หากคุณแม่อุจจาระเล็ดออกมาก็ไม่ต้องเป็นกังวลค่ะ คุณหมอจะกำจัดหลักฐานอย่างรวดเร็ว โดยที่คุณแม่อาจไม่รู้ตัวเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ ไขข้อข้องใจ 6 เรื่องที่แม่ท้องกังวลเกี่ยวกับการคลอด

6. Q: ระยะเวลาในการคลอดโดยเฉลี่ยนานแค่ไหน

ระยะเวลาในการคลอดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ท่าทารกในการคลอด ความแรงในการบีบตัวของมดลูก รวมถึงความสงบและผ่อนคลายของตัวคุณแม่เอง ทั้งนี้ระยะเวลาในการคลอดจะนับตั้งแต่ที่คุณแม่เริ่มเจ็บท้อง ซึ่งระยะเวลาในการเจ็บท้องของคุณแม่แต่ละคนเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ค่ะ โดยปกติเมื่อปากมดลูกบางลงและเปิด 4 เซนติเมตร จนถึงช่วงเบ่งคลอดจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 8 ชั่วโมง แต่อาจช้าหรือเร็วกว่านี้ก็ได้ โดยการคลอดจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงในคุณแม่ท้องแรกค่ะ

บทความแนะนำ วีดีโอเตรียมคลอด และการคลอดระยะต่าง ๆ

7. เซ็กส์หลังคลอดจะรู้สึกไม่เหมือนเดิมหรือเปล่า

ตอบได้ว่าไม่เหมือนเดิมค่ะ แต่ไม่ใช่ว่ามันจะแย่ลงเสมอไปหรอกนะคะ เพียงแค่รู้สึกแตกต่างเท่านั้น คุณอาจรู้สึกว่าช่องคลอดหลวมกว่าเดิมเล็กน้อย หากคุณบริหารช่องคลอดเป็นประจำ มันก็จะกลับมากระชับได้เหมือนเดิม

นอกจากนี้ คุณอาจพบว่าช่องคลอดแห้ง เนื่องจากฮอร์โมน โดยเฉพาะเมื่อคุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณอาจต้องใช้สารหล่อลื่นเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะพาคุณจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง แต่อย่างไรก็ดี ไม่ได้มีแต่ข่าวร้ายหรอกนะคะ คุณอาจพบว่าช่องคลอดของคุณไวต่อความรู้สึกมากขึ้นซึ่งจะทำให้คุณสนุกกับการถึงจุดสุดยอดมากกว่าแต่ก่อนเสียอีกค่ะ

ที่มา www.cosmopolitan.co.uk/

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฝากท้องแบบไหนดี? ฝากธรรมดา vs พิเศษ

ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องไม่ควรมองข้าม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา