คลิปดังจากจีนเมื่อ หญิงใจโหดขับรถทับขาเด็ก
อีกหนึ่งความสลดใจ เมื่อสำนักข่าวจีนได้เผยแพร่คลิปวิดีโอ หญิงใจโหดขับรถทับขาเด็ก ซึ่งกลายเป็น คลิปดัง ในเวลาต่อมา ภาพการกระทำของหญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งพยายามจะทำร้ายเด็กที่นอนอยู่บนพื้น ด้วยการขับรถมอเตอร์ไซค์ทับขา ขณะที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเจ้าของคลิปวิดีโอด้วยเช่นกันว่า ควรจะช่วยเหลือเด็กก่อน แทนการบันทึกภาพเหตุการณ์
คลิปดัง หญิงใจโหดขับรถทับขาเด็ก
โดย คลิปดัง นี้มีความยาวทั้งสิ้น 40 วินาที เป็นคลิปที่ผู้เห็นเหตุการณ์ แอบถ่ายการกระทำของหญิงสาวชาวจีนคนหนึ่ง ที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ และพยายามที่จะไล่ทับขาเด็กคนหนึ่งที่นอนอยู่บนพื้น
จากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น จะเห็นได้ว่า มีเด็กผู้หญิงอีกคนหนึ่ง พยายามที่จะดึง และลากเพื่อนที่นอนอยู่ไปให้ไกลจากมอเตอร์ไซค์ของหญิงใจโหดรายนี้ ซึ่งภายหลังจากที่คลิปนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีผู้คนมากมายเข้ามาประณามถึงการกระทำของเธอ และขอร้องให้ตำรวจลงโทษเธอแบบที่เธอพยายามทำกับเด็กบ้าง และที่น่าสลดไปกว่านั้น ผู้หญิงคนนี้ไม่ได้มาคนเดียว หากแต่ยังมีเด็กน้อยนั่งอยู่หน้ารถของเธออีกด้วย
อย่างไรก็ดี ไม่ได้รับการรายงานว่าเด็กในคลิปเป็นอย่างไรบ้าง พวกเราทุกคนก็ได้แต่ภาวนาและหวังว่า หนูน้อยวัยเพียง 5 ขวบรายนี้ จะปลอดภัย
คลิปดังจากจีน หญิงใจโหดขับรถทับขาเด็ก
แม้ว่าตำรวจจะยังไม่สามารถสรุปเหตุการณ์นี้ได้ว่า หญิงคนดังกล่าวขับรถทับขาเด็กหรือไม่ และเด็กคนดังกล่าวบาดเจ็บอะไรหรือเปล่า แต่เหตุการณ์เช่นนี้ ก็อาจจะเป็นเรื่องราวที่ทำให้เด็กที่ประสบเหตุคนดังกล่าว ฝังใจได้ไปจนโต
เพจสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย จึงได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องฝังใจจากวัยเยาว์ ไขคำตอบเอาไว้ว่า สมองของเรา มีโครงสร้างที่เรียกว่า อะมิกดาล่า (Amygdala) และฮิปโปแคมปัส (Hippocampus)
Amygdala เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ส่วน Hippocampus เกี่ยวข้องกับความจำ ทั้งสองส่วนนี้ทำงานสัมพันธ์กัน
Amygdala กระตุ้นให้ Hippocampus บันทึก (encode) และเก็บรวบรวม (consolidate) ความจำได้ดีขึ้น ความทรงจำที่มีอารมณ์ร่วมมากๆ จึงถูกเก็บไว้ได้อย่าง แจ่มชัด และ เนิ่นนาน
ตัวอย่างเช่น ความกลัว ซึ่งเป็นอารมณ์สำคัญต่อการมีชีวิตรอดของสิ่งมีชีวิต หากเราจำได้ว่าอะไรอันตราย เราก็จะถอยห่างจากสิ่งนั้น ในการทดลอง ลิงที่ถูกตัด Amygdala ออกไป แม้ว่าจะเคยโดนงูกัดมาแล้ว ก็ยังเข้าไปจับงูอีก
เพราะสมองส่วนอารมณ์ทำงานประสานกับสมองส่วนความจำนี่เอง ที่ทำให้เรารู้จักหลบเลี่ยงอันตราย แต่สมองก็ไม่สามารถที่จะ เลือกบันทึก เฉพาะสิ่งที่น่าจำ หรือ สิ่งที่เราอยากจำได้ จึงมีหลาย ๆ เหตุการณ์ ที่ไม่รางเลือน แม้ว่าเราไม่เคยพยายามจำ ทั้งๆ ที่เวลาก็ผ่านไปนานมากแล้ว ตั้งแต่เราเป็นเด็ก ที่ทำได้แค่เพียงร้องไห้ จนกระทั่งเราเป็นผู้ใหญ่ ที่เข้าใจอะไรๆ มากขึ้น
1. ระมัดระวังคำพูด และการกระทำต่อคนสำคัญ
คนที่เรารัก คนที่รักเรา รวมถึง คนสำคัญอย่าง เด็ก ๆ ผู้เป็น “อนาคต” เช่น
- ครู เมื่อเห็นว่านักเรียนทำคะแนนได้ไม่ดี แทนที่จะพูดดูถูกเขาต่อหน้าเพื่อน ๆ ก็ควรหาสาเหตุ และหาวิธีที่จะทำให้เขาเรียนรู้เรื่อง
- พ่อแม่ เมื่อหงุดหงิดโมโหลูก แทนที่จะ ขู่ลูกว่าจะไม่รัก / หลอกว่าจริง ๆ แล้วไม่ใช่ลูกแท้ๆ / พูดเสียดสี ประชดประชัน / พูดเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น ก็จัดการกับอารมณ์ของตัวพ่อแม่เองให้ได้ก่อน
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ หยดน้ำตา แต่ อยู่ที่ “ความรู้สึกว่าตัวเองดีพอและมีคุณค่า” (self esteem) ที่ถูกบั่นทอน ซึ่งมีส่วนกำหนด “ชีวิต” ของคนคนนั้น
2. ฝึกที่จะอยู่กับปัจจุบัน อย่างเป็นมิตรกับตัวเอง
ในเหตุการณ์ที่ทำให้เราเจ็บปวด “ความรู้สึก” ที่เกิดขึ้นมักบิดเบือน “ความคิด” ในขณะนั้น ทำให้เรามองสิ่งต่างๆแย่กว่าที่เป็นจริง รวมทั้ง “มุมมองที่มีต่อตัวเอง” เช่น เรามันแย่ ไม่มีใครต้องการ ขนาดพ่อแม่ยังทำแบบนี้ และเราก็เชื่ออย่างนั้นมาโดยตลอดโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน
ความทรงจำ คือ การเลือกจำสิ่งที่เกิดขึ้นในวิธีของเรา บางอย่าง มันก็ไม่ใช่ ‘ความจริง’ คงไม่มีใครสามารถลบล้างความทรงจำได้ ไม่ว่าในแง่เรื่องราวหรือความรู้สึก เราคงต้องฝึกที่จะ “ก้าวออกมา” จากตรงนั้น เพื่อที่จะมองสิ่งต่างๆ ด้วยสายตาที่ “เข้าใจ” มากขึ้นได้
ฝึกให้อภัย เพื่อให้อดีตมีผลกับเราน้อยลง น้อยลง และ เป็นมิตรกับตัวเอง คนที่อยู่ในปัจจุบัน ให้มากขึ้น มากขึ้น
ที่มา : Shanghaiist
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
11 ข้อที่บอกได้ว่าลูกนิสัยแย่มาจากอะไร…รู้ป่ะ
เรื่องฝังใจในวัยเยาว์ ทำร้ายลูกได้ตั้งแต่เล็กจนโต
ทำไมเราถึงจำเรื่องราวในวัยเด็กไม่ได้ โดยเฉพาะ 3 – 4 ปีแรกของชีวิต!?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!